ฉี่บ่อย รู้จักสาเหตุและวิธีรับมือ

ฉี่บ่อยคือภาวะของการปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ หรือมากกว่า 7 ครั้งใน 1 วัน ซึ่งเป็นอาการที่พบได้ทั่วไป อาจเกิดจากการดื่มน้ำ หรืออาหารที่มีส่วนประกอบของน้ำมาก ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนที่มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ หรือจากสาเหตุอื่น ๆ ที่อาจควรได้รับการดูแล ผู้ที่มีอาการฉี่บ่อยจึงควรสังเกตอาการเพื่อรับมืออาการฉี่บ่อยได้อย่างเหมาะสม

ฉี่บ่อยอาจเป็นอาการปกติของคนบางกลุ่ม เช่น ผู้สูงวัยที่มีอายุ 70 ปีขึ้นไป ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ หรือคนที่มีต่อมลูกหมากโต บางกรณีอาจเป็นผลจากการใช้ยาบางชนิด หรือปัญหาสุขภาพที่ส่งผลต่อสมองและระบบประสาท นอกจากนี้ บางกรณี อาการฉี่บ่อยอาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพบางอย่างได้ เช่น การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ โรคเบาหวาน

Frequent Urination

สาเหตุอาการฉี่บ่อย

ฉี่บ่อยอาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพบางอย่าง โดยสามารถหาสาเหตุได้ด้วยการสังเกตอาการร่วมอื่น ๆ ที่เกิดขึ้น ดังนี้

อาการฉี่บ่อยที่ควรพบแพทย์

หากมีอาการปัสสาวะบ่อยโดยที่ไม่ได้ดื่มน้ำ หรือไม่ได้บริโภคคาเฟอีน และแอลกอฮอล์มากกว่าปกติ หรือปัสสาวะบ่อยจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันและการนอนหลับ อาจควรหาเวลาไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุและรักษาได้อย่างเหมาะสม

นอกจากนี้ อาการอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นร่วมกับอาการปัสสาวะบ่อย อาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพได้ ผู้ที่มีอาการร่วมต่อไปนี้ ควรรีบไปพบแพทย์ 

ทั้งนี้เมื่อไปพบแพทย์แล้ว แพทย์จะตรวจวินิจฉัยอาการปัสสาวะบ่อยด้วยการซักประวัติ ตรวจสุขภาพ ตรวจเลือด และตรวจปัสสาวะของผู้ป่วยไปวินิจฉัยหาเชื้อแบคทีเรีย จำนวนเม็ดเลือดขาว หากมีปริมาณเชื้อโรคและเม็ดเลือดขาวมากผิดปกติก็อาจมีความเสี่ยงที่ผู้ป่วยจะมีการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ

อีกทั้งแพทย์อาจใช้วิธีการส่องกล้องเพื่อดูการทำงานของกระเพาะปัสสาวะ รวมไปถึงการอัลตราซาวด์ เพื่อดูความผิดปกติของกระเพาะปัสสาวะ และอวัยวะต่าง ๆ ที่แพทย์สงสัยว่าอาจเป็นสาเหตุของอาการฉี่บ่อยผิดปกติ

วิธีการรักษาอาการฉี่บ่อย

การรักษาภาวะปัสสาวะบ่อยจะขึ้นอยู่กับสาเหตุ โดยแพทย์จะมุ่งเน้นไปยังสาเหตุหลักที่ส่งผลต่อความผิดปกติในการปัสสาวะเป็นอันดับแรก เช่น หากผู้ป่วยปัสสาวะบ่อยโดยมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ แพทย์จะใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษา เพราะหากสาเหตุเหล่านั้นบรรเทาลงได้จะช่วยให้อาการฉี่บ่อยลดลง

นอกจากนี้ ในบางกรณีแพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยปรับเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิตด้วย เช่น หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำหรือของเหลวต่าง ๆ ก่อนนอน และลดปริมาณการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และคาเฟอีนลง 

ในบางกรณีที่ผู้ป่วยเป็นผู้หญิงโดยเฉพาะผู้หญิงที่เคยคลอดบุตรแบบธรรมชาติ แพทย์อาจแนะนำฝึกขมิบช่องคลอด ด้วยการฝึกขมิบรูเปิดของอวัยวะอุ้งเชิงกราน และขมิบให้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานยกขึ้นและเข้าไปข้างใน หากทำได้เป็นประจำจะช่วยให้อาการฉี่บ่อยลดลง รวมถึงช่วยให้กล้ามเนื้อบริเวณเชิงกรานแข็งแรงขึ้น 

ในผู้ป่วยบางรายอาจใช้ยาเพื่อลดอาการปัสสาวะติดขัด หรือปัญหาในการกลั้นปัสสาวะร่วมด้วย เพื่อให้ผู้ป่วยปัสสาวะได้เป็นปกติมากขึ้น

อาการฉี่บ่อยป้องกันได้ด้วยการควบคุมปริมาณการดื่มน้ำ และหลีกเลี่ยงอาหารหรือเครื่องดื่มที่อาจกระตุ้นให้เกิดอาการปัสสาวะบ่อย โดยเฉพาะในเวลากลางคืนเพราะอาจทำให้ปวดปัสสาวะจนรบกวนการนอนหลับได้ นอกจากนี้ ควรป้องกันอาการท้องผูกซึ่งเป็นปัจจัยให้ปวดปัสาสาวะบ่อย ด้วยการรับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์สูงร่วมด้วย