ถามแพทย์

  • เจ็บหน้าอกและจุกลิ้นปี่ เป็นกรดไหลย้อน หรือโรคหัวใจ

  •  Anirut Sangkramongkonkit
    สมาชิก

    ผมอายุ 29 ปี ส่วนสูง 178 cm น้ำหนัก 120 kg มีโรคประจำตัวคือ G6PD และ โรคผนังหัวใจห้องล่างซ้ายรั่ว เนื่องจากเมื่อวันก่อนผมได้ทาน ยำมะม่วงปลากรอบ ตอนตี 2 หลังจากตื่นมาในตอนเช้าพบว่ามีอาหารจุกแน่นหน้าอกแต่ ไม่ได้มีอาการแสบร้อนตรงกลางหน้าอก อาการคือหายใจไม่อิ่ม เหนื่อยง่าย แค่เดินขึ้นบันไดไม่กี่ขั้นก็หายใจถี่หอบแล้ว หลังจากวันนั้น ก็มีอาหารจุกแน่นหน้าอกเวลาเดินขึ้นบันไดหรือก้มลงหยิบของ มีอาการไอตอนเช้าไอแบบมีเสมหะเล็กน้อยใสๆ ผมเลยตัดสินใจหาหมอในวันถัดมา หมอสรุปว่าผมเป็น หลอดลมอักเสบ หลังจากหาหมอกลับมากินยาตามที่หมอให้ พบว่า อาหารเหมือนจะดีขึ้นเล็กน้อย ย้ำว่าเล็กน้อยครับ แต่หลังจากกลับมาจากหาหมอ มาสังเกตตัวเองว่าเรอบ่อยขึ้น  นั่งแปบๆ เรอ แล้วก็ตอนเช้ามีน้ำย่อยเปรี้ยวๆ ขยอนออกมาเล็กน้อยระหว่างอาบน้ำ และระหว่างทำงานก็เรอเรื่อยๆ อีกอย่างคือไม่อยากทานอะไรเลยรู้สึกแน่นท้องเหมือนมีลมอยู่ในท้อง สิ่งที่ผมอยากถามคือ กังวลว่าเป็นโรคกรดไหลย้อน หรือโรคหัวใจ กันแน่ 

    ขอบคุณครับ

    ล่าสุดโรงพยาบาลโทรมานัด ผมขอเปลี่ยนหมอเป็นหมอเฉพาะทางเกี่ยวกับโรคปอดเพราะเกียวกับการหายใจจะไปหาในวันเสาร์นี้ครับ

    Anirut Sangkramongkonkit  พญ.นรมน
    สมาชิก

    สวัสดีค่ะคุณAnirut Sangkramongkonkit

    จากอาการดังกล่าวมา อาจเกิดจาก

    -โรคกรดไหลย้อน ทำให้แสบร้อนกลางอก แน่นอก จุกแน่นลิ้นปี่ หายใจไม่สะดวกเรอบ่อยๆ เรอเปรี้ยวร่วมด้วยได้

    -โรคกระเพาะอาหารหรือลำไส้ส่วนต้นอักเสบ อาจทำให้จุกแน่นลิ้นปี่ได้ มักเกิดสัมพันธ์กับอาหารเช่นก่อนหรือหลังอาหาร

    -โรคเกี่ยวกับปอดทำให้หายใจไม่สุด แต่มักมีอาการอื่นเช่นไอเรื้อรังร่วมด้วย

    -โรคเกี่ยวกับหัวใจเช่นหัวใจวายหรือทำงานไม่เท่าคนปกติ มักเหนื่อยเวลาออกแรง ขาบวม นอนราบไม่ได้ หายใจลำบาก

    ในกรณีนี้ที่มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับหัวใจอยู่ด้วย และรู้สึกว่าหายใจเหนื่อย หาจใจไม่อิ่ม ทำอะไรก็เหนื่อยง่ายขึ้น แนะนำพบแพทย์เพื่อปรึกษาก่อนว่าไม่มีภาวะทางหัวใจที่กำเริบขึ้นมา โดยแพทย์อาจฟังปอด ฟังหัวใจเบื้องต้น ส่งเอ็กซเรย์ปอด ร่วมกับติดคลื่นไฟฟ้าหัวใจให้เบื้องต้น หากมีความผิดปกติทางหัวใจก็จะส่งต่อให้แพทย์เฉพาะทางต่อไป หากไม่ใช่โรคหัวใจ ก็อาจจะเกี่ยวกับเรื่องหลอดลมอักเสบหรือกรดไหลย้อนได้

    การดูแลตัวเองเบื้องต้นดื่มน้ำมากๆ รับประทานอาหารอ่อนๆ หลีกเลี่ยงอาหารรสจัดหรืออาหารมื้อใหญ่ กินแล้วนั่งหัวสูงไว้อย่างน้อย 3 ชั่วโมง งดการออกแรงหนักและกลับไปพบแพทย์ตามนัดค่ะ หากเหนื่อย หรือแน่นอกมากขึ้น ควรรีบไป