ถามแพทย์

  • เกิดบาดแผลจากการขนขอบโต๊ะที่เป็นพลาสติก จะเป็นบาดทะยักไหม

  •  bestland147265
    สมาชิก

    เมื่อไปเล่นตู้ต่อยวัดพลังมาแล้วต่อยพลาด ต่อยไปโดนขอบโต๊ะ(พลาสติกหนา)ที่อยู่ด้านข้าง แต่ด้วยเพราะเหวี่ยงหมัดแรงเลยเกิดแผล แผลไม่ลึก ยาวประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร ผมไปล้างน้ำแต่ไม่ได้ฟอกสบู่ กลับบ้านมา ก็เอาพลาสเตอร์แปะเลย แต่พอถึงกลางคืนก็ไปซื้อน้ำเกลือมาล้างแผล วันนี้ก็เอาแอลกอฮอล์ล้างแผลอีกรอบเวลาประมาณ 12.50-13.10น. ยังไม่ได้ไปพบแพทย์เลย แต่อยากรู้ว่าปล่อยไว้แบบนี้จะเป็นไรไหมครับ

    สวัสดีค่ะ คุณ bestland147265,

                          โรคบาดทะยักเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดที่ชื่อ Clostridium tetani โดยพบเชื้อชนิดนี้ในพื้นดิน พื้นผิวที่มีฝุ่นต่างๆ รวมทั้งผิวหนังและอุจจาระคน และยังพบได้ในมูลสัตว์ต่างๆ เช่น หมู ไก่ หมา แมว วัว ควาย เป็นต้น เชื้อบาดทะยักสามารถเข้าสู่ร่างกายและทำให้เกิดโรคได้หลายทาง โาดทะยักสามารถเข้าสู่ร่างกายและทำให้เกิดโรคได้หลายทาง เช่น 

                        - ผ่านทางแผลสด  เช่น แผลจากตะปู หรือเศษไม้ตำ แผลถูกสัตว์กัด แผลถลอก แผลฉีกขาด แผลถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก รวมถึงแผลที่ถูกขอบโต๊ะที่เป็นพลาสติกบาด

                        - แผลจากการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน พบในกลุ่มผู้ใช้ยาเสพติด หรือการสักลาย 

                       - ผ่านทางแผลเรื้อรัง เช่น แผลเบาหวาน 

                       - ผ่านทางสายสะดือในเด็กแรกคลอด เกิดจากมารดาที่ไม่เคยฉีดวัคซีนบาดทะยัก และการใช้อุปกรณ์ที่ไม่สะอาดตัดสายสะดือเด็ก

                       - จากการเป็นโรคหูชั้นกลางอักเสบ

                        มีบางกรณีที่ไม่พบสาเหตุว่า เชื้อเข้าสู่ร่างกายผ่านทางไหน

                        ดังนั้น หากเกิดบาดแผลมีเลือดออกเกิดขึ้น แนะนำควรพิจารณาฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยักค่ะ

                       โดยหากในสมัยเป็นเด็กทารกและเด็กเล็ก ได้รับวัคซีนครบตามกำหนด (ในเด็กเล็กจะเป็นวัคซีนรวมป้องกัน คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก) และหากได้รับวัคซีนป้องกันบาดทะยักเข็มสุดท้ายมาไม่เกิน 10 ปี ไม่ต้องฉีดวัคซีนค่ะ แต่หากเกิน 10 ปีแล้ว ควรฉีดวัคซีนค่ะ

                        สำหรับบาดแผลท หากได้ฟอกทำความสะอาดด้วยสบู่และใส่แอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อแล้ว ก็ถือว่าทำถูกต้องแล้ว หลังจากนั้น ก็ควรเช็ดทำความสะอาดแผลต่อด้วยน้ำเกลือสำหรับล้างแผลทุกวัน และควรหลีกเลี่ยงไม่ให้แผลโดนน้ำจนกว่าแผลจะหายค่ะ