ถามแพทย์

  • ประจำเดือนมา 2 มิ.ย. ฝังยาคุม 6 มิ.ย. ก่อนฝังได้ตรวจหาการตั้งครรภ์แล้วไม่พบ มีอาการท้องน้อยป่อง แน่นท้อง ท้องดิ้น จะท้องไหม

  •  Talll
    สมาชิก
    สวัสดีค่ะคุณหมอคือมี พสพ วันที่28/4ค่ะตอนแรกก้ใส่ถุงยางปกติค่ะแต่แฟนไปดึงออกโดยที่ไม่ได้หลั่งแล้วสอดใส่ไปไม่ถึง2นาทีก็เอาออก แล้วมีอีกวันที่1/5 ใส่ถุงยางปกติค่ะ แล้วถึงเวลารอบเดือนต้องมาวันที่2รอบเดือนก้มาวันที่2/5ค่ะแล้วรอบเดือนหมดมีอาการคลื้นใส้อาเจียนแล้วตรวจฉี่ที่โรงพยาบาลวันที่19/5(ตรวจครั้งที่1)กับวันที่28/5(ตรวจครั้งที่2)ผลก็ปกติแล้วหมอบอกรอรอบเดือนนี้ว่าจะมาใหมรอบเดือนก้มาวันที่2/6แต่มาแค่3วัน หมอนัดมาฝังเข็มคุมกำเนิดวันที่6/6ที่โรงพยาบาลก่อนฝังก้ตรวจฉี่ผลก้ขึ้น1ขีด(ตรวจครั้งที่3)ก้เลยฝังเข็มคุมกำเนิดผ่านไป1อาทิตมีอาการเหมือนคนท้อง(ยังไม่มีพสพตั้งแต่วันที่1/5/ค่ะ)เลยมาหาหมอตรวจฉี่อีกครั้งก้ขึ้นขีดเดียว(ตรวจครั้งที่4วันที่19/6)มีท้องป่องขึ้นตรงท้องน้อยลามขึ้นมาเหนือสดือค่ะเวลานั่งพุงเป็นชั้นๆเลยค่ะหายใจไม่อิ่มแน่นท้องมากๆค่ะแบบนี้มีโอกาศท้องใหมค่ะขอบคุณค่ะ
    Talll  Talll
    สมาชิก
    เพิ่มเติมค่ะ มีอาการท้องดิ้นร่วมด้วยค่ะดิ้นดึ๋งๆ แต่ตรวจการตั้งครรภ์ก้ไม่เจอสักทีค่ะ

    สวัสดีค่ะ คุณ Tuszaa TP,

                       หากประจำเดือนได้มาแล้วในวันที่ 2 พ.ค. โดยมาในช่วงวันที่ที่ควรจะมา ก็แสดงว่าไม่ได้มีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นจากการมีเพศสัมพันธ์ก่อนหน้านั้น นอกจากนี้ หากได้ตรวจหาการตั้งครรภ์แล้ว ไม่พบการตั้งครรภ์ ก็แสดงว่าไม่ได้มีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น

                        และหากในเดือน มิ.ย. นี้ ประจำเดือนได้มาในวันที่ 2 มิ.ย. ก็แสดงว่าไม่ได้มีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นแต่อย่างใด อีกทั้งหากได้ตรวจหาการตั้งครรภ์ก่อนการฝังยาคุมกำเนิดเมื่อวันที่ 6 มิ.ย. แล้วไม่พบการตั้งครรภ์ ก็ย่อมแสดงว่าไม่มีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นค่ะ และเมื่อฝังยาคุมกำเนิดแล้ว ยาฝังก็จะออกฤทธิ์ในการป้องกันการตั้งครรภ์ได้ทันที โดยจะช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ได้มากกว่า 99% หรือมีโอกาสตั้งครรภ์เพียง 0.05% เท่านั้น

                        ดังนั้น อาการท้องน้อยป่อง แน่นท้อง หายใจไม่อิ่ม ท้องดิ้น จึงไม่ใช่อาการของการตั้งครรภ์ และไม่จำเป็นต้องตรวจซ้ำอีก โดยอาการที่เกิดคืออาการของท้องอืด ซึ่งมีสาเหตุมากมากยที่ทำให้เกิด ได้แก่

                     - การทานอาหารที่ทำให้เกิดแก๊สหรือเครื่องดื่มที่มีแก๊ส เช่น น้ำอัดลม ถั่ว เมล็ดธัญพืชต่างๆ มากไป หรือทานอาหารเป็นปริมาณมากเกินไป ทานอาหารที่ย่อยยาก 

                     -  การทานยาบางชนิด เช่น ธาตุเหล็ก แคลเซียม อาการเสริมต่างๆ ยาแก้ปวดบางชนิด เป็นต้น

                      - โรคกระเพาะอาหารอักเสบ โรคกรดไหลย้อน

                       -  มีนิ่วในถุงน้ำดี

                       - ขาดน้ำย่อยอาหารบางชนิด เช่น น้ำย่อยย่อยโปรตีนนม แล้วดื่มนมเข้าไป

                       - ท้องผูก

                       -  เครียด วิตกกังวล

                        ในเบื้องต้น ควรเลือกทานอาหารที่ยอยง่าย รสไม่จัด ไม่มัน ไม่ทานของทอด ไม่ทานเนื้อสัตว์ในปริมาณมากไป เคี้ยวช้าๆ ให้ละเอียด ไม่ทานอาหารครั้งละปริมาณมาก ไม่เคี้ยวหมากฝรั่ง ไม่ดื่มน้ำอัดลม อัดแก๊สต่างๆ หลีกเลี่ยงอาหารประเภทถั่วและธัญพืชต่างๆ รวมถึงชา กาแฟและแอลกอฮอล์ ไม่ปล่อยให้ท้องผูก ลดความเครียดและวิตกกังวล เป็นต้น แต่หากอาการไม่ดีขึ้น ก็ควรไปพบแพทย์ค่ะ