-
ปวดหัว ท้องผูก
-
May 25, 2017 at 08:00 AM
ปวดหัวท้องผุกMay 25, 2017 at 09:18 AM
สวัสดีค่ะ คุณ oneyou1563,
ท้องผูกเป็นอาการ แต่ไม่ใช่โรค อาการที่จะเรียกว่าท้องผูก คือ ถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์หรือน้อยกว่าปกติที่เคยเป็น อุจจาระมีลักษณะเป็นก้อนแข็ง เป็นเม็ดเล็ก ๆ รู้สึกถ่ายอุจจาระไม่ออก หรือถ่ายได้ไม่สุด ถ่ายอุจจาระออกได้ยาก ต้องใช้แรงเบ่งมากหรือใช้มือช่วยล้วง
ท้องผูกเกิดได้จากหลายสาเหตุหลายปัจจัย ได้แก่
- เกิดจากลำไส้เคลื่อนลดลง ทั้งนี้เพราะขาดตัวกระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้ จากการที่มีลำอุจจาระเล็ก เช่น จากกินอาหารที่มีกากใยน้อย ดื่มน้ำน้อย
- จากการขาดการเคลื่อนไหวร่างกาย จึงส่งผลให้ลำไส้บีบตัวเคลื่อนตัวช้า
- จากปัญหาทางอารมณ์ เช่นความเครียด ความวิตกกังวล ส่งผลให้ลำไส้ ลดการบีบตัวลง
- การรับประทานยาบางชนิด อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงเป็นอาการท้องผูกขึ้นได้ เช่น ยาลดกรด ยารักษาอาการซึมเศร้า ยารักษาอาการชัก อาหารเสริมกลุ่มแคลเซียมและธาตุเหล็ก ยาระงับปวดชนิดโอปิออยด์ เป็นต้น
- สภาวะบางอย่างที่ก่อให้เกิดการอุดตันภายในลำไส้ใหญ่หรือบริเวณทวารหนักอาจทำให้อุจจาระเคลื่อนตัวออกมาได้ลำบาก เช่น แผลปริขอบทวารหนัก ลำไส้อุดตัน เนื้องอกหรือมะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นต้น
- สภาวะทางร่างกายที่ส่งผลต่อฮอร์โมน โดยปกติฮอร์โมนจะช่วยให้ของเหลวและการทำงานภายในร่างกายเกิดความสมดุล หากฮอร์โมนเสียสมดุล สามารถนำไปสู่อาการท้องผูกได้ เช่น ในภาวะการตั้งครรภ์ ภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำ เป็นต้น
สำหรับอาการปวดศีรษะของคุณ oneyou1563 อาจเป็นผลจากความเครียด จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ท้องผูก ในทางกลับกัน อาจเป็นเพราะท้องผูกเลยทำให้มีอาการปวดศีรษะได้ค่ะ
หากอาการท้องผูกไม่ได้เกิดจากโรคที่เป็นอันตราย การรักษา ในเบื้องต้น ได้แก่ การปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตและรับประทานอาหาร รับประทานอาหารที่มีกากใยสูง เน้นผักและผลไม้สด ธัญพืชต่างๆ ดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อทำให้อุจจาระนิ่มตัว ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ลำไส้มีการเคลื่อนไหว ฝึกการขับถ่ายให้เป็นเวลาในแต่ละวัน ไม่ควรอั้นอุจจาระหรือรีบร้อนในการขับถ่าย
หากการปรับพฤติกรรมในข้างต้นยังไม่ช่วยให้อาการท้องผูกดีขึ้น การรับประทานยาจะช่วยให้การขับถ่ายอุจจาระทำได้ง่ายขึ้น โดยมียาหลายกลุ่มที่ช่วย เช่น เส้นใยหรือไฟเบอร์ ยาระบายกลุ่มกระตุ้น เช่น ดัลโคแลค (Dulcolax) บิสซาโคดิล (Bisacodyl) ยาเซนโนไซด์ (Sennosides) ยาระบายกลุ่มออสโมซิส ที่จะออกฤทธิ์ดูดซึมน้ำกลับเข้าสู่ลำไส้ใหญ่มาก เช่น แลคตูโลส (Lactulose) ยาเหน็บและการสวนอุจจาระ เป็นต้น
หากคุณ oneyou1563 ได้ปรับพฤติกรรมและลองใช้ยาระบายช่วยแล้ว ยังมีอาการท้องผูกเรื้อรัง หรือไม่ถ่ายอุจจาระเกิน 7 วันมีท้องผูกสลับท้องเสีย ถ่ายอุจจาระมีเลือดปน มีอาการปวดท้องร่วมด้วย ควรพบแพทย์ค่ะ
-
ถามแพทย์
-
ปวดหัว ท้องผูก