ถามแพทย์

  • ทำไมผู้ป่วยที่ทานอาหารอ่อนต้องหลีกเลี่ยงอาหารทอดและอาหารมัน

  •  paweena18
    สมาชิก

    มีข้อสงสัยว่าทำไมผู้ป่วยที่ทานอาหารอ่อนต้องหลีกเลี่ยงการทานอาหารทอดและอาหารมันคะ

    สวัสดีค่ะ คุณ paweena18,

                       อาหารอ่อน คือ อาหารที่ผ่านการสับ บด หั่น ปั่น ให้มีชิ้นเล็กๆ และไปปรุงให้มีลักษณะที่อ่อนนิ่ม เพื่อให้เคี้ยวและกลืนได้ง่าย รวมถึงรสชาติไม่จัด เพื่อช่วยลดอาการคลื่นไส้ ท้องเสีย ลดการเกิดแก๊สในกระเพาะและลำไส้ที่อาจเป็นสาเหตุให้เกิดอาการปวดท้อง แน่นท้อง 

                       ตัวอย่างของอาหารอ่อน ได้แก่ ไข่ตุ๋น ไข่คน ไข่ต้ม เต้าหู้ต้มหรือบด นมวัว นมถั่วเหลือง โยเกิร์ต เนื้อปลา หรือเนื้อสัตว์อื่น ๆ ที่หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วนำไปต้มจนสุกและนิ่ม แกงจืดวุ้นเส้น โจ๊ก ข้าวต้ม ซุปมะกะโรนี มันต้ม มันบด ผลไม้ในรูปแบบของผลไม้บดหรือน้ำผลไม้ โดยต้องไม่มีเปลือกของผลไม้นั้นๆ ผักที่นำไปนึ่งหรือต้มจนสุกนิ่มและหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ เป็นต้น

                        สำหรับอาหารทอดและอาหารผัดต่างๆ นั้น มักมีไขมันในปริมาณสูง ซึ่งไขมันนั้นถือว่าย่อยยากกว่าแป้งและโปรตัน ดังนั้น หากอาหารมีปริมาณไขมันมาก ย่อมทำให้ย่อยยาก อาจเกิดแก๊สในทางเดินอาหารได้มาก ทำให้แน่นท้อง ปวดท้อง ไม่สบายตัวได้ค่ะ 

                      อาหารอ่อน เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาสุขภาพที่ไม่สามารถเคี้ยวหรือกลืนอาหารได้ตามปกติ หรือมีโรคต่างๆ อยู่ ที่อาจทำให้ระบบการย่อยอาหารไม่สมบูรณ์ เช่น กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ โรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรังที่มีอาการกำเริบ โรคไข้ติดเชื้อต่างๆ โรคมะเร็งบางชนิด เป็นต้น รวมถึง ผู้ป่วยหลังการผ่าตัดต่างๆ ผู้ที่เข้ารับการถอนฟัน ผ่าฟัน เป็นต้น