ถามแพทย์

  • ปวดหัวรุนแรงมา 3 วัน ลุกทำงานไม่ได้ เป็นเพราะอะไร นอนไม่ตรงเวลา มีผลไหม

  •  Arthon Kabklang
    สมาชิก
    รู้สึกปวดหัวรุนแรงมา3วันลุกขึ้นทำอะไรก็รู้สึกปวดหัวไปหมดอยากรู้เป็นเพราะอะไร อีกอย่างนอนไม่ตงเวลาด้วยมีผลหรือป่าว

    สวัสดีค่ะ คุณ Arthon Kabklang, 

                       อาการปวดศีรษะ สาเหตุจะแบ่งออกเป็น 

                      1. อาการปวดศีรษะแบบทุติยภูมิ เป็นอาการปวดมาจากโรคหรือความผิดปกติของโครงสร้างบริเวณศีรษะและคอ เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น เป็นไข้ไม่สบายจากสาเหตุต่างๆ เช่น ไข้หวัด ไซนัสอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ มีฟันผุ เหงือกอักเสบ เป็นต้น  หรืออาจปวดจากการมีสายตาสั้น จากโรคต้อหิน หรือมีโรคทางสมองต่างๆ เช่น หลอดเลือดในสมองโป่งพอง เนื้องอกในสมอง เป็นต้น ส่วนใหญ่อาการปวดจะเป็นแบบเฉียบพลัน เป็นต่อเนื่อง หรือรุนแรงขึ้น

                      2. อาการปวดศีรษะแบบปฐมภูมิ เป็นอาการปวดที่ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด อาการจะเป็นแบบเรื้อรัง เป็นๆ หายๆ ไม่ได้มีลักษณะที่รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งสามารถแบ่งตามลักษณะอาการที่ปวด ได้แก่

                           -  ปวดศีรษะจากความเครียด (tension-type headache) จะปวดเหมือนมีเข็มขัดรัดรอบศีรษะ อาการปวดจะเป็นอยู่ได้หลายวัน มักปวดมากในช่วงบายถึงค่ำ ส่วนตอนเช้ามาอาการปวดจะเป็นน้อย อาการปวดจะถูกกระตุ้นเมื่อมีความเครียด วิตกกังวล ทำงานหนัก เรียนหนัก ใช้สายตามากไป อดนอน เป็นต้น 

                          - ปวดศีรษะไมเกรน  ส่วนใหญ่มักจะปวดข้างเดียว มักปวดบริเวณขมับ รอบดวงตา อาการปวดเป็นแบบตุ๊บๆ โดยส่วนใหญ่จะปวดต่อเนื่องนาน 1-3 วันแล้วหายไป ขณะปวดอาจมีอาการอื่นๆ ร่วม เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร  มึนหัว เป็นต้น บางรายจะมีอาการนำมาก่อนปวดศีรษะ เช่น เห็นแสงสว่างลักษณะซิกแซก เป็นต้น ปัจจัยที่กระตุ้นให้ไมเกรนกำเริบ เช่น ความเครียด อาหารบางอย่าง เป็นต้น

                         หากอาการปวดเพิ่งเป็นมาเพียง 3 วัน และไม่เคยปวดเป็นๆ หายๆ มาก่อน ก็อาจเป็นอาการปวดศีรษะแบบทุติยภูมิได้ ควรสังเกตดูว่ามีอาการอื่นๆ ร่วมด้วยหรือไม่ เช่น ไข้ น้ำมูก มีฟันผุ เหงือกอักเสบ เป็นต้น ทั้งนี้ หากมีการอดนอน ก็อาจมีผลยิ่งทำให้ปวดขึ้นได้ แต่หากนอนหลับพักผ่อนได้เต็มที่ เพียงแต่นอนไม่ตรงเวลา ก็ไม่น่าทำให้ปวดศีรษะได้ค่ะ

                       สำหรับการบรรเทาอาการในเบื้องต้น ก็ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มชา กาแฟและแอลกอฮอล์ ไม่ใช้สายตาในการจ้องดทรศัพท์มือถือและคอมพิวเตอร์มากไป ทานยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอล ไอบูโพรเฟน เป็นต้น แต่หากอาการปวดเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ หรือเป็นติดต่อกันนาน หรือมีอาการผิดปกติทางร่างกายอื่นๆ ก็ควรพบแพทย์หาสาเหตุและรักษาค่ะ