ถามแพทย์

  • มีอาการมึนและเวียนศีรษะทั้งวัน ตึงขมับสองข้างและท้ายทอย ปวดไปที่คอด้านซ้ายเล็กน้อย เป็นมา 3 อาทิตย์แล้ว เกิดจากอะไร

  •  yuttaphichai
    สมาชิก

    มีอาการมึนหัวเวียนหัว(ไม่ถึงกับบ้านหมุน)ทั้งวัน ตึงขมับทั้งสองข้างและท้ายทอยนิดๆ ปวดบริเวณต้นคอด้านซ้ายนิดหน่อย บางครั้งมีอาการคลื่นไส้ เป็นมา3อาทิตย์แล้ว อยากทราบว่าเป็นอาการอะไรครับ

    yuttaphichai  พญ.นรมน
    แพทย์

    สวัสดีค่ะคุณ yuttaphichai

    อาการมึนและเวียนศีรษะทั้งวัน ตึงขมับสองข้างและท้ายทอย อาจจะเกิดจาก กล้ามเนื้อหรือเส้นเอ็นรอบๆศีรษะตึงตัวตามหลังการใช้งาน การพักผ่อนน้อย ความเครียด มักจะดีขึ้นหลังได้พัก อาการจะเป็นมากช่วงเย็น สาเหตุอื่นๆเช่นปวดไมเกรน ทำให้ปวดมากที่ศีรษะข้างเดียว อาจมีอาการตาพร่า มองเห็นแสงวาบนำมาก่่อน หรือเป็นปวดจากปลายเส้นประสาทอักเสบ อาจปวดแบบปวดจี๊ดๆ หรือปวดจากสาเหตุในสมอง แต่มีโอกาสเป็นไปได้น้อย หากไม่ได้ปวดมากขึ้นเรื่อยๆ หรือปวดรุนแรง หรือมีอุบัติเหตุในศีรษะนำมาก่อน 

    จากที่กล่าวมาถ้าปวดตึงๆตรงท้ายทอย และขมับสองข้าง ปวดไปถึงต้นคอด้วย นึกถึงกลุ่มอาการปวดจากกล้ามเนื้อตึงตัวหรืออักเสบจากการใช้งานได้มากที่สุด

    เบื้องต้น ควรพักผ่อนให้เพียงพอ พักการใช้งานสายตามากๆ รับประทานยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการได้ ฝึกยืดเหยียดกล้ามเนื้อตรงคอและบ่าไหล่หลังการใช้งานที่ต้องนั่งตึงท่าเดิมไว้นานๆ และควรไปพบแพทย์ถ้ากินยาแก้ปวดแล้ว พักเต็มที่แล้ว อาการไม่ทุเลา ยังปวดมากขึ้นเรื่อยๆ จนมีผลต่อการเรียน ต่อการทำงาน หรือมีอาการทางระบบประสาทเช่นกล้ามเนื้ออ่อนแรง ชาครึ่งซีก หน้าเบี้ยวร่วมด้วย

    yuttaphichai  พญ.นรมน
    แพทย์

    สวัสดีค่ะคุณ yuttaphichai

    อาการมึนและเวียนศีรษะทั้งวัน ตึงขมับสองข้างและท้ายทอย อาจจะเกิดจาก กล้ามเนื้อหรือเส้นเอ็นรอบๆศีรษะตึงตัวตามหลังการใช้งาน การพักผ่อนน้อย ความเครียด มักจะดีขึ้นหลังได้พัก อาการจะเป็นมากช่วงเย็น สาเหตุอื่นๆเช่นปวดไมเกรน ทำให้ปวดมากที่ศีรษะข้างเดียว อาจมีอาการตาพร่า มองเห็นแสงวาบนำมาก่่อน หรือเป็นปวดจากปลายเส้นประสาทอักเสบ อาจปวดแบบปวดจี๊ดๆ หรือปวดจากสาเหตุในสมอง แต่มีโอกาสเป็นไปได้น้อย หากไม่ได้ปวดมากขึ้นเรื่อยๆ หรือปวดรุนแรง หรือมีอุบัติเหตุในศีรษะนำมาก่อน 

    จากที่กล่าวมาถ้าปวดตึงๆตรงท้ายทอย และขมับสองข้าง ปวดไปถึงต้นคอด้วย นึกถึงกลุ่มอาการปวดจากกล้ามเนื้อตึงตัวหรืออักเสบจากการใช้งานได้มากที่สุด

    เบื้องต้น ควรพักผ่อนให้เพียงพอ พักการใช้งานสายตามากๆ รับประทานยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการได้ ฝึกยืดเหยียดกล้ามเนื้อตรงคอและบ่าไหล่หลังการใช้งานที่ต้องนั่งตึงท่าเดิมไว้นานๆ และควรไปพบแพทย์ถ้ากินยาแก้ปวดแล้ว พักเต็มที่แล้ว อาการไม่ทุเลา ยังปวดมากขึ้นเรื่อยๆ จนมีผลต่อการเรียน ต่อการทำงาน หรือมีอาการทางระบบประสาทเช่นกล้ามเนื้ออ่อนแรง ชาครึ่งซีก หน้าเบี้ยวร่วมด้วย