-
มีอาการเจ็บหน้าอก เมื่อทานอาหารหรือดื่มน้ำ เกิดจากอะไร
-
Jun 28, 2019 at 10:51 AM
เรียน ทีมแพทย์
ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาตั้งแต่วันที่ 23 มิ.ย. - วันนี้(28 มิ.ย.) 2562 ผมมีอาการปวดตรงบริเวณหน้าอก เป็นการปวดแบบปวดรำคาญและจะมีอาการต่อเมื่อผมกินอาหารหรือดื่มน้ำเท่านั้น โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. หายใจเข้า-ออก ได้เต็มปอดเป็นปกติ ไม่มีการเจ็บปวดขณะหายใจ
2.ไม่มีอาการเรอเปรี้ยว ขมคอ
3.สามารถนอนหลับได้เป็นปกติ ไม่มีอาการขณะนอนหลับ
4.ส่วนตัวไม่สูบบุหรี่หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
5.เมื่อเช้าวัน อา. ที่ 23 มิ.ย. 2562 ได้เข้าไปยกของ ซึ่งมีน้ำหนักไม่มากนัก แต่ยกในพื้นที่แคบ
6.อาการเกิด ณ เวลาหลังเที่ยงของวัน อา. ที่ 23 มิ.ย. 2562
จาก 6 ข้อข้างบนจึงอยากทราบว่ามีโอกาสที่จะเป็นอาการอะไรได้บ้างครับ พอดีเคยเป็นแบบนี้มาก่อนเลยพอจะเข้าใจได้ว่าเป็นที่กล้ามเนื่อ ตอนนั้นกินยาคลายกล้ามเนื้อแล้วนอนคืนเดียวหาย แต่ครั้งนี้เป็นมาจะครบ 1 สัปดาห์แล้วครับ
ณ ตอนนี้ทานยาอยู่ 2 ตัวนะครับ
1. ยาคลายกล้ามเนื้อ orphetamol
2.ยารักษาอาการกล้ามเนื้ออักเสบและรูมาติค difelene diclofinac sodium 50mg
ทานครั้งละเม็ด 3 เวลา หลังอาหารทันทีครับ
จึงอยากทราบว่าจากอาการดังกล่าวนั้น ใช่กล้ามเนื้อักเสบหรือเปล่า ถ้าไม่ใช่มีโอกาสเป็นอะไรครับ และยาที่ทานอยู่ใช้ได้หรือไม่ครับ
ขอบคุณมากครับ
Jun 28, 2019 at 09:45 PM
สวัสดีค่ะคุณ palmmyday
อาการเจ็บหน้าอกเกิดได้จาก
-เจ็บจากกล้ามเนื้อหรือกระดูกอ่อนบริเวณอกอักเสบ อาจสัมพันธ์กับท่าทาง มีจุดกดเจ็บชัดเจน อาจสัมพันธ์กับประวัติว่าเป็นหลังยกของหนัก
-เจ็บจากปลายเส้นประสาทอักเสบ อาจเป็นลักษณะเจ็บจี๊ดๆ เจ็บไม่มาก และเป็นๆหายๆ
-เจ็บจากเยื่อหุ้มปอดอักเสบ อาจสัมพันธ์กับการหายใจ
-เจ็บจากโรคหัวใจ เช่นหัวใจขาดเลือด มักจะเป็นเจ็บตื้อๆเหมือนมีของหนักมาทับร่วมกับมีร้าวไปกรามหรือแขน มีเหงื่อแตก ทำคลื่นไฟฟ้าหัวใจพบความผิดปกติ หรือเจ็บจากหัวใจเต้นผิดจังหวะ อาจมีอาการใจสั่นมากร่วมด้วย
-เจ็บจากกรดไหลย้อน จะมีอาการแสบร้อนกลางอก คลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย
จากประวัติเบื้องต้นถ้าเจ็บมากขึ้นหลังยกของ น่าจะเกี่ยวกับกล้ามเนื้ออักเสบมากที่สุดค่ะ ซึ่งเป็นโรคที่ไม่อันตรายแต่ค่อนข้างเรื้อรัง อาจเป็นๆหายๆ ใช้เวลานานกว่าอาการจะทุเลาได้ในบางราย
ในกรณีนี้ถ้ายังมีอาการเจ็บหน้าอกมาเรื้อรัง เป็นมากขึ้นเรื่อยๆ มีอาการเจ็บคล้ายโรคหัวใจ หรือไอมาก หอบเหนื่อยร่วมด้วย ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจเพิ่มเติม
การดูแลตัวเองเบื้องต้น หลีกเลี่ยงการทำงานหนัก หรือยกของหนัก ไม่ไปกดบริเวณที่เจ็บบ่อยๆ รับประทานยาแก้ปวด หรือยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ และสังเกตอาการดังกล่าวไป
-
ถามแพทย์
-
มีอาการเจ็บหน้าอก เมื่อทานอาหารหรือดื่มน้ำ เกิดจากอะไร