ถามแพทย์

  • มีอาการเรอ และไอ

  •  pojanee
    สมาชิก
    ตามที่มีคำถามเรื่อง ไอ มีข้อหนึ่งที่พูดถึงอาการข้างเคียงจากการใช้กลุ่มยาต้าน ACE Inhibitors รักษาผู้ป่วยความดันโลหิตสูงหลอดเลือดหัวใจตีบ และคุณหมอตอบว่า ถ้าหยุดยาอาการไอก็จะหาย ตอนนี้สามีดิฉันกล้ามเนื้อหัวใจตีบและเข้าภาวะหัวใจโต ซึ่งต้องทานยาเพื่อรักษา ดังนั้นจะมีอาการไอ และเรอ หลังจากได้ทานอาหารเข้าไปเพียงเล็กน้อยเป็นประจำ ทำให้ทานอาหารได้น้อย น้ำหนักลดลง ฉะนั้น ตราบใดที่รักษาด้วยยาดังกล่าว อาการแบบนี้ก็จะไม่มีวันหายใช่ไหมคะ รบกวนคุณหมอด้วยนะคะ

    สวัสดีค่ะ คุณ pojanee

    ยาลดความดันโลหิตสูงในกลุ่ม ACE inhibitors มีประสิทธิภาพดีในการลดความดันและรักษาโรคหัวใจ อย่างไรก็ตามในบางคนอาจเกิดผลข้างเคียงคือทำให้มีอาการไอได้ ซึ่งอาจปรึกษาแพทย์โรคหัวใจที่ดูแลคุณสามีและแจ้งให้แพทย์ทราบว่าหลังใช้ยาแล้วมีอาการไอเยอะค่ะ และแพทย์อาจจะพิจารณาปรับยาเป็นยากลุ่มอื่นที่มีประสิทธิภาพเช่นเดียวกับยากลุ่ม ACE inhibitors แต่มีผลข้างเคียงเรื่องไอน้อยกว่า เช่น ยาในกลุ่ม ARB (angiotensin 2 receptor blockers) ทั้งนี้การปรับเปลี่ยนยาควรอยู่ในความดูแลของแพทย์เฉพาะทางโรคหัวใจเท่านั้นค่ะ 

     

     

    นอกจากนี้ควรต้องไปพบแพทย์เพื่อซักประวัติและตรวจร่างกายโดยละเอียดเพื่อหาสาเหตุอื่นๆของอาการไอและอาการเรอด้วยค่ะ จะได้ให้การวินิจฉัยและรักษาได้อย่างถูกต้องค่ะ

    สาเหตุอื่นๆที่ทำให้ไอได้ อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ค่ะ ไอ

    pojanee  pojanee
    สมาชิก

    ขอบคุณคุณหมอนะคะ

    pojanee  pojanee
    สมาชิก

    จากการที่ทานอาหารได้น้อย คุณหมอพอจะแนะนำอาหารเสริมที่จะช่วยและเหมาะกับคนไข้ได้ไหมคะ

    สำหรับผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงและหัวใจแนะนำให้ปรับการรับประทานอาหารการดูแลตนเองเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจเพิ่มเติม เช่น โรคเบาหวาน โคเลสเตอรอลสูง อ้วนหรือน้ำหนักเกิน เป็นต้นค่ะ ซึ่งโดยทั่วไปอาหารที่เหมาะสมได้แก่

    •  รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ผัก ผลไม้ และธัญพืชทั้งหลายล้วนเป็นอาหารที่ดีต่อหัวใจ และมีไขมันอิ่มตัว คลอเรสเตอรอล โซเดียม และน้ำตาลปรุงแต่งต่ำ มีกากใย ช่วยในการขับถ่าย เนื้อปลา เนื้อไก่ไม่ติดมัน เนื้อหมูไม่ติดมัน ไข่ขาว เป็นโปรตีนที่มีประโยชน์สามารถรับประทานได้ตามปริมาณที่พอเหมาะค่ะ ข้าวสวย ข้าวซ้อมมือ เป็นอาหารกลุ่มแป้งที่ย่อยง่ายและทำให้อยู่ท้องนานค่ะ
    • ลดการรับประทานอาหารหวานและขนม เครื่องดื่มรสหวาน ผลไม้รสหวาน มีส่วนช่วยในการควบคุมน้ำหนัก และลดการเกิดโรคเบาหวาน
    • ลดอาหารทอด อาหารมัน เปลี่ยนเป็นอาหารกลุ่มต้ม นึ่ง เพื่อลดการใช้น้ำมัน รวมถึงกลุ่มเนย เบเกอรี่ เพื่อลดการคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด
    • ลดอาหารกลุ่มปรุงเค็ม เพื่อลดภาวะความดันโลหิตสูงค่ะ จะได้ลดการใช้ยาความดันลงด้วยค่ะ
    • นอกจากนั้นยังมีการดูแลตนเองอื่นๆเพิ่มเติมที่ช่วยให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นและป้องกันการเกิดโรคหัวใจเช่น

      • เลิกสูบบุหรี่ การสูบบุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของการเกิดโรคหัวใจ โดยเฉพาะโรคหลอดเลือดแดงหัวใจ
      • หมั่นออกกำลังกาย การออกกำลังกายช่วยควบคุมน้ำหนักและโรคเบาหวาน รวมถึงลดระดับคลอเรสเตอรอลและระดับความดันที่สูงลงได้ด้วย โดยออกำลังกายในระดับที่พอเหมาะค่ะ ลองปรึกษาแพทย์ที่ดูแลประจำนะคะ
      • ควบคุมน้ำหนัก ยิ่งมีน้ำหนักตัวเกินพอดีก็ยิ่งมีโอกาสเสี่ยงโรคหัวใจ เพื่อป้องกันจากโรคหัวใจควรมีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ไม่เกิน 25 และมีขนาดรอบเอวไม่เกิน 80 เซนติเมตรหากเป็นผู้หญิง และสำหรับผู้ชายไม่ควรเกิน 90 เซนติเมตร
      • รู้จักจัดการกับความเครียด หมั่นผ่อนคลาย ให้มีความเครียดน้อยที่สุด อาจลองฝึกวิธีลดความเครียด เช่น ฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ฝึกหายใจเข้าลึก ๆ และนั่งสมาธิ
      • รับประทานอาหารให้ตรงเวลา ช่วยลดความหิว ทำให้ไม่กินอาหารปริมาณมากเกินไปและไม่เร่งรีบมากเกินไป ช่วยลดอาการปวดแสบท้อง และอาการได้ด้วยค่ะ

      • สำหรับอาหารเสริมยังไม่มีข้อมูลทางการแพทย์ยืนยันว่าช่วยได้ค่ะ แต่การปรับการรับประทานอาหารและการดูแลตนเองเหล่านี้มีการศึกษาวิจัยว่าช่วยเรื่องโรคหัวใจได้ค่ะ