ถามแพทย์

  • ยาคุมฉุกเฉินกับช่วงวันไข่สุก

  •  NNKarnkanok
    สมาชิก

    สวัสดีค่ะคุณหมอ ขอรบกวนสอบถามค่ะ คือ มีประจำเดือนมาวันที่5-10 มีนาคม หลังจากนั้นวันที่14มีนาคม มีเพศสัมพันธ์โดยฝ่ายชายไม่ได้ป้องกันแต่ได้มีการรับประทานยาคุมฉุกเฉินทันทีหลังจากมีเพศสัมพันธ์ไม่เกิน1ชั่วโมง แต่เมื่อวันที่19 20 มีนาคม มีเลือดออกคล้ายประจำเดือนแต่ปริมาณไม่เยอะเท่า และสีแดงสดแต่สีไม่เข้มเท่าตอนประจำเดือนมาปกติ ไม่ทราบว่าอาการแบบนี้จะท้องมั้ยคะและอันตรายหรือไม่ ..เนื่องจากมีบันทึกแจ้งเตือนว่าวันที่14มีนาคมที่มีเพศสัมพันธ์นั้น อยู่ในช่วงไข่สุกแต่ไม่ใช่วันตกไข่ด้วยค่ะ

    ขอบคุณคุณหมอมากค่ะ 

    สวัสดีค่ะคุณ NNKarnkanok

    การมีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดเกิดได้จากหลายสาเหตุค่ะ เช่น

    • ความไม่สมดุลของฮอร์โมนเพศ (ฮอร์โมนเอสโตรเจนและฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน) พบได้ในภาวะ การใช้ยาคุมกำเนิดที่ไม่ถูกต้อง การรับประทานยาหรืออาหารบางชนิดที่อาจมีฮอร์โมนเพศหญิงผสมอยู่ ความผิดปกติของการตกไข่ (ovarian dysfunction) การออกกำลังกายหนัก หรือความเครียด ก็ทำให้ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอได้

      • การทำงานของไทรอยด์ผิดปกติ

      • มีการติดเชื้ออักเสบของอวัยวะสืบพันธ์ ได้แก่ ภาวะอักเสบในอุ้งเชิงกราน ซึ่งอาจเกิดจากการติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือ โรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ต่าง ๆ ก็อาจทำให้มีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดได้

      • มีก้อนเนื้องอกในมดลูกหรือปากมดลูก

      • ภาวะแท้ง หรือการตั้งครรภ์ผิดปกติ เป็นต้น

        นอกจากนี้ ในกรณีนี้ยังอาจเกิดได้จากผลข้างเคียงจากการใช้ยาคุมฉุกเฉินอีกสาเหตุหนึ่งค่ะ โดยมีผลข้างเคียเช่น ปวดท้อง ปวดหัว เจ็บเต้านม รู้สึกป่วย ร่างกายอ่อนล้า ประจำเดือนมาผิดปกติ ยาคุมฉุกเฉิน มีชนิดหลัก ๆ 2 ชนิดค่ะ ทั้งสองชนิดควรรับประทานโดยเร็วที่สุดหลังมีเพศสัมพันธ์ แต่ไม่เกิน 72 ชั่งโมง จึงจะสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ หรือมีบางรายงานพบว่าอาจป้องกันได้ถึง 120 ชั่วโมง หลังการมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ได้คุมกำเนิดค่ะ

        โอกาสตั้งครรภ์หลังรับประทานยาคุมกำเนิดฉุกเฉินอย่างถูกต้องมีไม่มากนักค่ะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากรับประทานอย่างถูกต้อง โดยรับประทาน 1 หรือ 2 เม็ด ขึ้นกับชนิดของยา และรับประทานภายหลังมีเพศสัมพันธ์โดยเร็วที่สุด และไม่เกิน 72 ชั่วโมง นอกจากนี้โอกาสการตั้งครรภ์นั้นยังขึ้นกับช่วงเวลา หากมีเพศสัมพันธ์ช่วงกลางรอบเดือนโอกาสตั้งครรภ์จะสูงกว่าช่วงอื่น ๆ  การนับรอบประจำเดือน คือนับตั้งแต่ประจำเดือนมาวันแรก จนถึงก่อนประจำเดือนมาวันแรกของครั้งถัดไปค่ะ

        แนะนำว่า หากยังสงสัยหรือไม่แน่ใจ ควรต้องพบแพทย์เพื่อรับคำปรึกษา ตรวจร่างกาย และให้การวินิจฉัยที่ถูกต้องต่อไปค่ะ