ถามแพทย์

  • มีตุ่มหนองขึ้นบริเวณเหงือกบนฟันซี่หน้า ฟันโยก หมอแนะนำเรื่องการผ่าตัด จะต้องผ่าตัดจริงไหม

  •  TuaSri
    สมาชิก

    สวัสดีค่ะ มีเรื่องรบกวนคุณหมอดังนี้ค่ะ

    ดิฉันมีตุ่มหนองขึ้นบริเวณเหงือกบนฟันซี่หน้า และรู้สึกเหมือนฟันซี่นั้นจะโยกได้ แต่ไม่มีอาการปวดใดๆ จึงได้ไปตรวจและเข้ารับการรักษาคลองรากฟันหน้าเมื่อวันที่ 24 /10/62 หลังจากทำครั้งแรก ก็ยุบลง และมีขึ้นมาอีก จึงเข้ารับการรักษาต่อ เป็นครั้งๆ ตามคุณหมอนัดคือ 28/12,4/11, ตัวยาที่ใส่ตัวยาเดิม จนมาครั้งก่อนสุดท้าย วันที่ 16/11 เปลี่ยนยาที่ใส่ ครั้งนี้หลังจากใส่ยา ไม่มีอาการบวม และตุ่มหนองขึ้นอีกเลย จริงๆ คุณหมอนัด 1 เดือน แต่ติดธุระจึงไม่ได้ไปตามนัด เลื่อนไปอีก 1 เดือน วันที่ 18/01 ดิฉันไปตรวจ ดิฉันดีใจมากนึกว่าจะได้หายซักทีเนื่องจากไม่มีอาการใดๆ เลยถึง 2 เดือน แต่คุณหมอตรวจและบอกว่ายังมีหนองข้างใน และทำความสะอาดใส่ยาต่ออีกครั้ง วันรุ่งขึ้นดิฉันมีอาการปวดบริเวณเหงือกบนฟัน และรู้สึกเจ็บฟัน 

    ที่ดิฉันข้องใจมีดังนี้คือ 

    1. ก่อนการรับการรักษาคุณหมอให้ดิฉันเซ็นเอกสารยินยอมเข้ารับการรักษา และการผ่าตัดในกรณีที่ต้องเข้ารับการผ่าตัด โดยยอมรับในทุกกรณี รวมกรณีให้เป็นกรณีศึกษาด้วย มีรายละเอียดปลีกย่อยอีกเยอะมากๆ ซึ่ง ถ้าไม่เซ็นเอกสารจะไม่รักษา แบบนี้ปกติมั้ยคะ

    2.ทุกครั้งที่รักษา คุณหมอจะพูดเรื่องผ่าตัดตลอด ว่าต้องผ่าตัดแน่ๆ ประมาณนี้ค่ะ

    3. ดิฉันจะทราบได้อย่างไรว่า ดิฉันรักษาไม่หายและจำเป็นต้องผ่าตัดจริงๆ โดยไม่โดนเป็นกรณีศึกษาให้นักศึกษาแพทย์

     

    4. ค่ารักษารากฟันดิฉันลองค้นดูราคาทั่วไป กับที่ดิฉันรักษา ของดิฉันสูงกว่ามาก ตอนนี้ดิฉันเสียค่าใช้จ่ายไปแล้ว หนึ่งหมื่นกว่าบาทยังไม่เรียบร้อยเลยค่ะ 

    5. ดิฉันควรทำอย่างไรคะ 

    คุณ TuaSri

    โดยทั่วไป การรักษาคลองรากฟัน จำเป็นต้องล้าง ทำความสะอาด ใส่ยาฆ่าเชื้อหลายหครั้งก่อนจนแน่ใจว่าไม่มีเฃื่อโรคอยู่  แล้วจึงใช้วัสดุอุดฟันในการทำให้ฟันแข็งแรง  ถ้าเกิดมีการเสียความมั่นคงของฟันแล้ว มีเหงือกร่น จนฟันไม่สามารถยืนได้มั่นคง ก็คงจำเป็นต้องเอาออก  คงเป็นวิธีสุดท้ายที่ทันตแพทย์เลือกใช้ในการรักษา

    1 เอกสารที่ว่า คงเป็น Inform consent คือเป็นเอกสารที่ แพทย์จะแจ้งให้ผู้ป่วยทราบ ว่าเป็นการรักษาอะไร วิธีการรักษาอย่างไร  มีผลดีผลเสียอย่างไร  โรคแทรกซ้อนที่ระยะแรก และระยะต่อไปมีอะไรบ้าง  รวมถึงความเจ็บปวด การให้ยาสลบ ฉีดยาชาแล้วทำให้เส้นประสาทที่ปากปวดชาไปตลอดถาวร มความเป็นไปได้กี่เปอร์เซ็นต์   แพทย์จะต้องอธิบายให้ผู้ทราบทีละข้อ  เมือผู้ป่วยสงสัยมีสิทธิที่จะถามจนสิ้นข้อสงสัย ข้อใดไม่ยอมรับก็แจ้งลงในเอกสาร  เช่นที่ว่า ถ้ารักษาทางยาไม่ได้่ผลแล้วจะไม่ยอมผ่าตัด หรือไม่ยอมฉีดยาชา เพราะกลัวเจ็บให้ใช้ยาสลบเลยเป็นต้น   แล้วจึงลงนาม ต่อหน้าพยานทั้งฝ่าย รพ และฝ่าย ผุ้ป่วย มีวันที่ เวลา แน่ชัด ทั้งนี้เป็นระบบมาตรฐาน คุณภาพของ รพ HA / JCI  ป้องกันการฟ้องร้องภายหลัง   ยิ่งถ้าเป็น รร แพทย์จะต้องมีการยินยอมให้ นักศึกษาได้ตรวจรักษา เช่นเจาะเลือด ด้วย ต้องระบุแน่ชัด ถ้าไม่ยอมก็ต้องแจ้งลงไปก่อนทำการรักษา  ถ้าไม่ยินยอม แพทย์ต้องหาวิธีรักษาทางอื่นที่เป็นไปได้  การไม่ยอมรักษาคงเป็นทางเลือกสุดท้าย เท่านั้นครับ

    2. การพูดถึงการผ่าตัด ก็เพื่อให้คนไข้ตัดสินใจว่าจะทำหรือไม่ ถ้าไม่อยากทำก็ต้องแจ้งแพทย์ไปครับ  ขอความเห็นว่า มีทางรักษาอื่นที่ไม่ต้องผ่าตัดหรือไม่  ถ้าคุณไม่แน่ใจ สามารถขอประวัติการรักษาไปปรึกษากับทีนตแพทย์ท่านอื่นที่คุณไว้ใจได้เรียกว่า Second opinion  ซึ่งเป็นสิทธิของผู้ป่วยตามระเบียบของสมาคมวิชาชีพ

    3. จะทราบได้ก็โดยเอาประวัติการรักษาตามเวชระเบียนไปให้ ทันตแพทย์ท่านอื่นที่ไม่ได้มีส่วนได้เสียให้ความเห็นครับ ตาม ข้อ 2   ถ้ารักษาใน รพ ที่เป็น รร แพทย์ก็จำเป็นต้องให้ นักศึกษาแพทย์ได้ทำการฝึกเพื่อรักษา  เพราะการเรียนรู้วิชาแพทย์ไม่สามารถอ่านได้จากตำราอย่างเดียวต้องมีการฝึกปฏิบัติ จนก่อให้เกิดความชำนาญ ครับ

    4.ค่ารักษาพยาบาล อาจต้องชี้แจงก่อนทำการรักษา ปัจจุบัน ถ้าเป็นสภานประกอบการเอกชน  ทางราชการกำหนดให้ ต้องมีจุดที่ผู้ป่วยสามารถสอบถามค่ารักษาพยาบาล หรือค่ายาก่อนทำการรักษาได้ ครับ  คงต้องพิจารณายาที่แพทย์ใช้ไป  ยาบางอย่างอาจมีราคาแพงมากก็ได้ครับ

    5.ควรไปคุยกับทันตแพทย์ผู้รักษาถึงเหตุที่ไม่สบายใจ อาจได้ข้อมูลแตกต่างไปจากเดิมก็ได้   ให้คุณสบายใจขึ้น  ถ้ายังไม่พอใจก็เปลี่ยน รพ ครับ