ถามแพทย์

  • คุณแม่อายุ 75 ปี มีโรคประจำตัวเป็นความดันโลหิตสูง และเบาหวาน หลังให้ยาเคมีบำบัด มาภาวะความดันต่ำตอนเช้า สามารถปรับยาเองได้ไหม

  •  Chanvit Ake Sangthong
    สมาชิก

    คุณแม่อายุ 75 ปี สูง 150 ซม. หนัก 48 กก.
    มีโรคประจำตัว ความดันสูง / เบาหวาน
    ก่อนหน้านี้ทานยา Nifedipine SR 20 MG Tab
    ครั้งละ 1 เม็ด หลังอาหาร เช้า-เย็น
    ช่วงเดือน ก.ย.-ต.ค. เข้ารับการให้ยาเคมีบำบัด+รังสี (ปอด)
    ต้นเดือน ม.ค. ไปพบแพทย์เคมีตามนัดติดตามอาการ
    จนท.คัดกรอง พบว่าความดันต่ำ (ตัวบน 96) ให้นอนพัก อาการดีขึ้น
    หลังจากนั้น ช่วงเช้าหลังตื่นนอน จะมีอาการใกล้เคียงแบบนี้หลายครั้ง
    เวียนหัว ไม่มีแรง
    จะมีนัดพบหมอความดันอีกครั้ง อีก 2 สัปดาห์
    ระหว่างนี้เราสามารถลดความความดันลงเองได้หรือไม่
    ถ้าได้ควรลดลงเหลือทานเท่าไหร่ เวลาไหนครับ
    เราสามารถ

    สวัสดีค่ะ คุณ Chanvit Ake Sangthong

    อาการเวียนหัว มึนศีรษะ เกิดได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่

    -ความผิดปกติของหูชั้นใน ซึ่งเป็นสาเหตุที่พบบ่อยในผู้ป่วยที่มีอาการเวียนศีรษะ เช่น โรคหินปูนในหูชั้นในเคลื่อน (BPPV) โรคประสาทหูชั้นในอักเสบ (Labyrinthitis) โรคนำ้ในหูไม่เท่ากัน (Meniere’s disease) เป็นต้น

    - ความดันโลหิตต่ำ อาจเกิดจากการเปลี่ยนท่าทางรวดเร็ว การสูญเสียน้ำออกจากร่างกาย เช่น ท้องเสีย อาเจียนมาก เป็นต้น นอกจากนี้อาจมีสาเหตุมาจากโรคหัวใจ ภาวะการติดเชื้อต่างๆ

    -โรคไมเกรน : บางคนจะมีอาการปวดศีรษะร่วมกับอาการเวียนหัวได้

    -โรคเกี่ยวกับระบบประสาทและสมอง ซึ่งอาจมีสาเหตุจากการบาดเจ็บ, เนื้องอก, การติดเชื้อ, เส้นเลือดในสมองผิดปกติ เป็นต้น

    -ภาวะอื่นๆ เช่น เครียด ยาบางชนิด โรคโลหิตจาง ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เป็นต้น

    การดูแลตนเองในเบื้องต้น ขณะที่มีอาการเวียนหัว แนะนำให้เคลื่อนไหวร่างกายช้าลง นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอ ค่ะ

    ส่วนเรื่องยาความดันโลหิตที่รับประทานยังระบุไม่ได้ชัดเจนว่า สามารถลดยาลงได้หรือไม่นะคะ

    แนะนำคุณ Chanvit Ake Sangthong ซื้อเครื่องวัดความดันโลหิตมาวัดเป็นประจำที่บ้านนะคะ โดยแนะนำให้วัดในช่วงเช้าหลังตื่นนอน และช่วงเย็นหรือช่วงก่อนนอน และจดบันทึกค่าความดันโลหิตนี้เพื่อให้แพทย์ที่ดูแลทราบข้อมูลนะคะ

    รวมถึงแนะนำให้วัดช่วงที่มีอาการเวียนศีรษะค่ะ หากช่วงเวียนศีรษะนี้มีความดันโลหิตตัวบนต่ำกว่า 100 มม.ปรอท น่าจะอธิบายอาการทีเกิดขึ้นได้ ซึ่งอาจพิจารณาการลดยาลงเหลือรับประทานยาวันละ 1ครั้งตอนเช้า และวัดความดันโลหิตต่อเนื่องนะคะ และนำผลนี้ไปปรึกษาแพทย์ที่ดูแลอีกทีเช่นกัน

    แต่หากไม่มีเครื่องวัดความดันโลหิตที่บ้าน แพทย์ยังไม่แนะนำให้ลดยาความดันเองนะคะ แต่แนะนำให้พบแพทย์ที่ดูแลก่อนนัดค่ะ