ถามแพทย์

  • หลังจากผ่าตัดสมองจากอุบัติเหตุ การดูแล การฟื้นฟูการพูด ต้องทำอย่างไร

  •  lilyyx
    สมาชิก
    แม่ผ่าตัดสมองเพราะเกิดอุบัติเหตุทางซ้าย กะโหลกร้าว มีเลือดออกในสมอง หลังผ่าตัดคืนแรกออกจาหห้องผ่าตัดใส่ท่อช่วยหายใจ พอสายๆของเช้าวันใหม่ พยาบาลให้แม่ลองหายใจเอง บ่ายๆ ถอดท่อช่วยหายใจหออกหมด แม่พอลุกได้ เดินได้ แค่การพูดจาจะงงๆ สับสนบางครั้ง เหมือนนึกอะไรแล้วพูดออกมาไม่ถูก แต่บางเรื่องพูดเองได้ปกติ แม่ไม่ปวดหัวไม่เจ็บแผล นอน โรงพยาบาล2 อาทิตย์หมอให้กลับบ้าน แต่การพูดของแม่ยังไม่ปกติ คือถามอีกอย่างแม่พูดออกมาไม่สามารถเข้าใจได้ แต่ช่วยเหลือตัวเอง ขะเข้าห้องน้ำแม่บอกได้ ปวดฉี่ ปวดท้อง จำชื่อคนได้ แต่บางคนมาเยี่ยมถามลื่อแม่บอกพูดไม่ถูก แต่จำได้ว่าใคร พอกลับมาบ้าน แม่ก้อาบน้ำเองได้ ทุกอย่างปกติแค่การพูดยังไม่เหมือนเดิม แต่พอกลับบ้านได้3 วัน แขนขวาแม่บอกไม่มีแรง ขยับนิ้วไม่ได้ กำมือข้างขวาไม่ได้ ลองนวดๆบีบๆ สักพัก เหมือนจะดีขึ้นแต่ก้ยังกำไมไ่ด้ ยกแขนได้บ้าง ขาข้างขวาก้เหทือนจะเริ่มไม่ค่อยมีแรง เวลาจะถอดรองเท้าแม่ต้องใช้เท้าข้างซ้ายช่วย อยากสอบถามค่ะ แม่ต้องใช้เวลาฟื้นตัวการพูดยังไงบ้าง แม่อายุ 58 แล้ว หมอที่รักษาบอกไม่มีอะไรฝที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ คนไข้จะค่อยๆปรับดีขึ้นเอง แต่คนเป็นลูก ไม่สบายใจเลยฝเพราะไม่รู้ว่าปล่อยให้แม่ปรับตัวเอง อยากทราบวิธีที่จะฟื้นการพูดแม่ได้ดีขึ้น มันจะทำให้แม่พูดได้แบบเดิมจริงไหมถ้าแค่รอเวลาให้แม่ปรับตัวเอง แล้วความจำแม่จะกลับมาจำได้แค่ไหน เรื่องแขนขาข้างขวาอ่อนแรง จะกลับมาเป็นเหทือนเดิมไหน ควรปฏิบัติยังไง เสิร์ชเน็ตไม่มีข้อมูลที่ตรงจุด มีแต่ข้อมูลรวมๆ รบกวนด้วยค่ะ

    สวัสดีค่ะคุณ lilyyx

    การฟื้นตัวหลังจากทำการผ่าตัดสมองนั้นจะเป็นอย่างค่อยไปค่ะ ในช่วงหลังผ่าตัดใหม่ ๆ อาจการการรับรู้หรือการทำงานที่ผิดไปจากเดิมได้ทั้งนี้ก็ขึ้นกับสาเหตุของการถูกกระทบกระเทือนนั้น อาจใช้เวลาเป็นเดือนหรือหลายเดือนในการฟื้นฟูให้กลับมาเป็นเหมือนเดิมหรือใกล้เคียงเดิมในกรณีที่ไม่รุนแรง

    เนื่องด้วยต้นเหตุเป็นการบาดเจ็บทางสมอง อาการผิดปกติอาจเกี่ยวข้องกับหลาย ๆ ระบบของร่างกายค่ะ การรับประทานยาสม่ำเสมอตามแพทย์แนะนำ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย การได้รับสารอาหารครบถ้วนและเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หลีกเลี่ยงการใช้ยาหรือผลิตภัณฑ์อื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการรักษาโดยแพทย์ การทำกายภาพบำบัด การพูดคุยหรือดูแลทางจิตใจกับคนไข้เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ผลการฟื้นตัวดีขึ้นค่ะ

    ญาติอาจคอยสังเกตอาการ โดยจดบันทึก ถ่ายภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหวในจุดที่สงสัยไว้คอยเปรียบเทียบ หรือเก็บไว้สอบถามแพทย์ที่ติดตามอาการก็ได้ค่ะ

    ทั้งนี้หากมีความผิดปกติรุนแรง เช่น ปากเบี้ยว ร่างกายขยับไม่ได้ พูดไม่ชัด หรือเป็นคำไม่ได้ ให้รีบนำคนไข้กลับมาโรงพยาบาลทันทีค่ะ