-
เป็นหัวใจเต้นผิดจังหวะประเภท at คืออะไร หมอบอกไม่สามารถรักษาด้วยการจี้ไฟฟ้าได้ ต้องทานยาไปตลอด
-
Aug 23, 2020 at 12:21 AM
เพื่อนเป็นหัวใจเต้นผิดจังหวะประเภท at คุณหมอที่รักษาบอกว่าไม่สามารถรักษาด้วยการจี้ำฟฟ้าได้ ต้องทานยาไปตลอด อยากทราบว่าเต้นผิดจังหวะแบบ at คืออะไรค่ะAug 23, 2020 at 05:31 AM
สวัสดีค่ะ คุณ Meen Point,
โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิด at ที่กล่าวถึง น่าจะหมายถึงชนิด AF (atrial fibrillation) คือ ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว เป็นภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด ซึ่งคือภาวะที่มีการกระตุ้นของหัวใจห้องบนแบบกระจัดกระจายไม่เป็นระเบียบ ทำให้การบีบตัวของหัวใจห้องบนเสียไป ส่งผลให้หัวใจเต้นเร็วและไม่สม่ำเสมอ โดยผลแทรกซ้อนของภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว คือ ทำให้หัวใจสูบฉีดเลือดออกไปได้ลดลง และอาจนำไปสู่ภาวะหัวใจวายได้ และทำให้เกิดลิ่มเลือด และหลุดออกไปอุดตันหลอดเลือดสมองได้
สำหรับสาเหตุของการเกิด AF ได้แก่ มีโรคลิ้นหัวใจรั่วหรือตีบ โรคกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ โรคหัวใจขาดเลือด ภาวะความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบเฉียบพลัน โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ เป็นต้น รวมถึงมีโรคในระบบอื่นๆ นอกหัวใจ เช่น โรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ โรคถุงลมโป่งพอง ภาวะการติดเชื้อในกระแสเลือด ภาวะหลังการผ่าตัด เลือดออกในสมอง สมองขาดเลือด เป็นต้น
สำหรับการรักษาภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว จะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น อายุ อาการ อาการแสดง โรคอื่นๆ ที่เป็นอยู่ร่วมด้วย และชนิดของภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว เป็นต้น โดยมีวิธีได้แก่ การใช้ยา การใช้ไฟฟ้ากระตุกเพื่อปรับการเต้นของหัวใจ (cardioversion) ให้กลับเต้นปกติ การใช้สายสวนหัวใจเพื่อตัดวงจรไฟฟ้าผิดปกติในหัวใจ หรือที่เรียกว่าการจี้หัวใจ อาจจี้ด้วยคลื่นวิทยุความถี่สูง (radiofrequency ablation) หรือด้วยความเย็นจัด (cryoablation) ก็ได้ ซึ่งจะพิจารณารักษาในผู้ป่วยที่มีอาการที่ไม่สามารถควบคุมด้วยยาได้ค่ะ ดังนั้น หากทานยาแล้ว สามารถควบคุมอาการได้ ก็ไม่จำเป็นต้องจี้ไฟฟ้ารักษาค่ะ
-
ถามแพทย์
-
เป็นหัวใจเต้นผิดจังหวะประเภท at คืออะไร หมอบอกไม่สามารถรักษาด้วยการจี้ไฟฟ้าได้ ต้องทานยาไปตลอด