-
หูดข้าวสุกรักษาอย่างไร
-
May 12, 2017 at 11:29 PM
ดิฉันเริ่มสังเกตเห็นตุ่มๆขึ้นบริเวณหัวหน่าว ตอนแรกมันก็ขึ้นตุ่มเล็กๆไม่กี่ตุ่มในช่วงเดือน มกราคม 2560 พอหลังจากนั้นรู้สึกตุ่มมันเยอะขึ้นเลยไปหาหมอผิวหนังเดือนกุมภาพัน2560 ตอนแรกหมอบอกว่ารูขุมขนอักเสบเอายามาทา หนึ่งเดือนก็ไม่หาย หลังจากนั้นไปหาหมอสูตินารี หมอก็ไม่สามารถระบุแน่ชัดว่ามันคือตุ่มอะไร ตรวจเลือดแล้วก็ปกติ ตรวจภายในก็มีตกขาวเยอะ หมอสูติ เลยให้ยาสอด กับน้ำยาฟอกจุดซ่อนเร้นมาค่ะ แล้วก็กลับไปหาหมอสูติอีกกลางเดือนมีนา หมอก็บีบตุ่มตรงหัวหน่าวไปตุ่ม สองตุ่ม ปรากฎว่าตุ่มที่บีบไปมันหาย มันยุบลง แต่ตุ่มบริเวณรอบๆหัวหน่าวยังมีอยู่ มันลามมาถึงขาหนีบ คือตอนนี้ปวดหัวมากมันไม่หายชักที ล่าสุด พึ่งให้หมอสูติ บีบบริเวณขาหนีบแล้วก็หัวหน่าวออก แต่หมอไม่ได้บีบตรงแคมออกให้ เพราะว่าหมอบอกว่ากลัวทนไม่ไหว วันนั้นก้บีบไปเกือบ สิบตุ่ม แต่เท่าที่สังเกตตอนนี้มันก็มีตุ่มเล็กๆ ขึ้นมาอีก ดิฉันควรทำยังไงดีค่ะ? มีวิธีไม่ให้มันเกิดเพิ่มมั้ยค่ะ คือดิฉันทำความสะอาดเช้าเย็นด้วยน้ำยาที่เเพทย์ให้มา มันก็ยังเกิดใหม่ บางทีก็แคมบ้าง หัวหน่าวบ้าง ตอนนี้ยังเจ็บแผลที่หมอบีบให้อยู่เลย
May 14, 2017 at 10:09 AM
สวัสดีค่ะ kaki2017
โรคหูดข้าวสุก ระยะฟักตัวเฉลี่ยของเชื้อชนิดนี้อยู่ที่ประมาณ 2-7 สัปดาห์ไปจนถึง 6 เดือนค่ะ อาการจะพบตุ่มบริเวณผิวหนังเป็นตุ่มเดี่ยว ๆ หรืออยู่กระจุกเป็นกลุ่มได้ถึง 20 ตุ่ม โดยเป็นตุ่มขนาดเล็กประมาณ 2-5 มิลลิเมตร ผิวสัมผัสมีความเงาและเรียบ สีเนื้อ หรือสีขาวอมชมพูลักษณะเป็นรูปทรงโดม หรือมีรอยบุ๋มตรงกลาง และมักพบบริเวณใบหน้า ท้อง ลำตัว แขน ขา อวัยวะเพศ ต้นขาด้านใน ผิวหนังที่สัมผัสหรือเสียดสีกันบ่อย เช่น ข้อพับ
โดยปกติ อาการของโรคหูดข้าวสุกสามารถดีขึ้นได้เองภายใน 6-12 เดือน สำหรับผู้ติดเชื้อที่เป็นผู้ใหญ่ แพทย์จะแนะนำให้เอาหูดออกมากกว่ารอให้หายไปเอง เพราะอาจแพร่กระจายไปสู่ผู้อื่นได้อย่างรวดเร็ว และหากระบบภูมิคุ้มกันร่างกายบกพร่องอาจส่งผลให้อาการของโรครุนแรงมากขึ้นและรักษาได้ยากกว่าคนปกติ วิธีการรักษามีหลายวิธี เช่น
- การใช้ยาทาที่มีส่วนผสมของกรดซาลิซิลิก (Salicylic Acid) ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ (Hydrogen Peroxide) หรือเบนโซอิลเพอร์ออกไซด์ (Benzoyl Peroxide) เพื่อช่วยทำลายเซลล์ที่ติดเชื้อ นอกจากนี้ยังมียาในรูปแบบเจลหรือครีมที่มีส่วนผสมของเรตินอยด์ (Retinoids) เช่น ทาซาโรทีน (Tazarotene) อะดาพาลีน (Adapalene) อย่างไรก็ตามก่อนใช้ยาควรปรึกษาแพทย์เสมอค่ะ
- การจี้ทำลายโรคด้วยความเย็น
- การรักษาด้วยแสงเลเซอร์ ซึ่งต้องทำโดยแพทย์ผิวหนัง
ถ้ายังมีหูดขึ้นใหท้ อาจจะกลับไปพบคุณหมออีกทีค่ะ โดยอาจจะลองสอบถามคุณหมอดูว่าสามารถใช้วิธีทายาหรือวิธีอื่นๆเพื่อช่วย ป้องกันไม่ให้ขึ้นใหม่ได้หรือไม่ค่ะ อย่างไรก็ตามการรักษาจะขึ้นกับดุลยพินิจของคุณหมอที่ดูแลค่ะ เนื่องจากเป็นผู้ที่ได้ตรวจร่างกายและทราบอาการของคุณดีที่สุดค่ะ
ขอให้อาการดีขึ้นไวไวนะคะ
-
ถามแพทย์
-
หูดข้าวสุกรักษาอย่างไร