ถามแพทย์

  • ผู้ป่วยอายุ54ปี มีการวู[บ่อย หัวใจเต้นช้าผิดปกติ เคยไปตรวจด้วยเครื่องเช็คอัตราการเต้นทั้งคืน ได้พบแพทย์เฉพาะทางด้านหัวใจมา3-4ท่าน ท่านหนึ่งแนะนำว่าให้ผ่าตัดเล็กใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ อีกท่านบอกว่า ถ้าผ่าตัดไปก็กลัวจะเจ็บตัวเปล่า ไม่ทราบว่าจะวินิจฉัยความเป็นไปได้ของโรคอะไรได้บ้างครับ

  •  Revetb Sfgbbf
    สมาชิก
    ผู้ป่วยอายุ54ปี มีการวูปบ่อย หัวใจเต้นช้าผิดปกติ เคยไปตรวจอย่างละเอียดคือติดเครื่องเช็คอัตราการเต้นทั้งคืน พบว่าหัวใจหยุดเต้นครั้งละ2.1-2.9วิ ประมาณ3ครั้ง ได้พบแพทย์เฉพาะทางด้านหัวใจมา3-4ท่าน ท่านหนึ่งบอกว่าไม่ได้เป็นโรคหัวใจแน่ๆและแนะนำว่าให้ผ่าตัดเล็กใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ อีกท่านก็บอกว่าไม่ได้เป็นโรคหัวใจแน่ๆ อาการนี้จะเป็นในคนสูงอายุส่วนใหญ่ ถ้าผ่าตัดไปก็กลัวจะเจ็บตัวเปล่า จะเสียเงินเปล่า เพราะเกณฑ์ที่ต้องใส่คือเกิน3วิ บ่อยครั้ง จึงยังไม่ใส่ แล้วก็มาสังเกตตัวเอง มันจะเป็นเฉพาะเวลาที่ทำงานหนัก หรือทานอาหารไม่ตรงเวลา แล้วเวลาที่ทานของหวานๆก็หายจากอาการ ผู้ป่วยมีประวัติเป็นความดันโลหิตต่ำครับ ไม่ทราบว่าจะวินิจฉัยความเป็นไปได้ของโรคอะไรได้บ้างครับ

    สวัสดีค่ะ คุณ Revetb Sfgbbf,

                ในผู้ใหญ่ อาการที่หัวใจเต้นช้ากว่า 50 นาทีต่อครั้ง หรือเต้นเร็วกว่า 100 ครั้งต่อนาทีในขณะพัก หรือเต้นเร็วกว่าปกติร่วมกับไม่เป็นจังหวะ หรือเต้นแล้วมีหยุดบางช่วง เรียกว่าเป็น หัวใจเต้นผิดจังหวะ

                 ผู้ที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะจะมีอาการที่แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับประเภท ความรุนแรง หรือความผิดปกติของการเต้นของหัวใจ บางรายอาจไม่พบอาการหรือความผิดปกติใด ๆ แต่บางรายอาจมีอาการที่สังเกตได้ เช่น ใจสั่น วิงเวียน หน้ามืด วูบคล้ายจะเป็นลม เหงื่อออกมาก หายใจหอบ เหนื่อยง่าย เจ็บหน้าอก  เป็นต้น

                หัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดเต้นช้ากว่าปกติ หรือหยุดบางช่วง ยังแบ่งย่อยได้อีกหลายชนิดและมีความรุนแรงที่แตกต่างกัน โดยแบ่งกลุ่มคร่าวๆ ออกเป็น

               1. ความผิดปกติที่เกิดจากการนําไฟฟ้าหัวใจจากหองบนสูหองลาง เช่น first degree AV heart blocksecond degree AV heart block, thired degree AV heart block

               2. ความผิดปกติที่เกิดจากจุดกําเนิดไฟฟาของหัวใจที่เรียกว่า sinus node (sick sinus syndrome)inus bradycardia, sinus arrest or pause,

                ทั้งนี้ในการรักษา จะขึ้นอยูกับสาเหตุที่ทำให้เกิดความผิดปกติ และความรุนแรงของอาการ  ตัวอย่าง เช่น

                 - หากเกิดจากสาเหตุที่แกไขได เชน จากยา หรือจากภาวะกลามเนื้อหัวใจตาย เมื่อแกไขสาเหตุแล้ว การเต้นของหัวใจจะค่อยๆ กลับมาเป็นปกติ ไมจําเปนตองใสเครื่องกระตุ้นหัวใจถาวร

                  - First degree AV block ที่ไมมีอาการไมจําเปนตองใหการรักษาใดๆ

                  - Second degree AV block แนะนําใหใสเครื่องกระตุนหัวใจถาวร ในกรณีที่ทําใหเกิดอาการหรือในกรณีที่ตรวจพบวาเปน infranodal block

                   - Third degree AV block มักแนะนําใหใสเครื่องกระตุ้นหัวใจถาวร โดยเฉพาะเมื่อมีอาการหรืออตราการเต้นของหัวใจชา มากๆ

                    - Intraventricular conduction disturbance ในผูปวยที่ไมมีอาการและตรวจพบเพียง right bundle branch block, left anterior fascicular block หรือ left posterior fascicular block ไมจําเปนตองใหการรักษาหรือการตรวจเพิ่มเติม 

                 ที่กล่าวมาเป็นเพียงตัวอย่างค่ะ รายละเอียดของการรักษาจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านโรคหัวใจค่ะ คำแนะนำในการรักษาของแพทย์แต่ละท่านอาจมีความแตกต่างกันได้บ้างขึ้นอยู่กับดุลยพินิจและประสบการณ์ของแพทย์แต่ละท่านค่ะ

                 หากคุณ Revetb Sfgbbf มีอาการเฉพาะเวลาที่ทำงานหนัก หรือทานอาหารไม่ตรงเวลา ก็ควรพยายามหลีกเลี่ยงปัจจัยดังกล่าวค่ะ 

              ขอให้อาการต่างๆ ดีขึ้นโดยเร็วนะคะ