-
อาการวิตกกังวล หรือความเครียด
-
May 16, 2018 at 03:06 PM
พอดีว่าหนูชอบเป็นคนคิดมาก ชอบคิดก่อนล่วงหน้า กลัว บางครั้งก็รู้สาเหตุแต่ก็แก้ไม่ได้ ห้ามความคิดไม่ได้ คิดจนปวดหัว และเกิดความเครียด บางครั้งก็อยากร้องไห้ คิดจนรู้สึกจิตใจห่อเหี่ยว เศร้า อาการแบบนี้หนูต้องพบแพทย์ไหมค่ะ และอาการแบบนี้หนูจะแก้ไขอย่างไรดีMay 16, 2018 at 03:34 PM
สวัสดีคะคุณ Praw Narisa
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคซึมเศร้า ( depression หรือ Major depressive disorder ) โรคซึมเศร้าเป็นสภาวะทางจิตที่เกิดขึ้นต่อเนื่องเป็นเวลา 2 อาทิตย์ ผู้ป่วยมักจะมีปัญหาขาดความมั่นใจ ขาดความสนใจในกิจกรรมที่เคยสนใจมาก่อน รู้สึกเหนื่อยอ่อนเพลีย และบางครั้งมีภาวะเจ็บปวดที่หาสาเหตุไม่ได้ บางครั้งคุณอาจมีภาวะเชื่อในสิ่งที่ผิด และ ได้ยินหรือเห็นสิ่งที่คนอื่นไม่เห็น ภาวะซึมเศร้าอาจเกิดขึ้นในได้คนปกติ ภาวะซึมเศร้าเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คนมีความคิดที่จะฆ่าตัวตาย ดังนั้นหมอขอยืนยันว่าคุณควรไปพบจิตแพทย์ทันที
อย่างที่กล่าวมาข้างต้นโรคซึมเศร้าเป็น สภาวะจิตใจที่เปลี่ยนแปลงไป แต่อย่างอย่างไรก็ตาม สภาวะนั้นจะต้องเป็นต่อเนื่องอย่างน้อย 2 อาทิตย์ แพทย์ถึงจะพินิจฉัยว่าคุณมีปัญหาเรื่องภาวะซึมเศร้า เพราะนอกจากนี้ยังมีสภาวะที่ทำให้เกิดอารมณ์ความรู้สึกเปลี่ยนในช่วงระยะเวลาอันสั้น หรือ เกิดเป็นช่วงเวลา เช่น seasonal affective disorder ซึ่งเป็นสภาวะซึมเศร้าที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล มักเกิดในกลุ่มประเทศเขตหนาว ที่มีระยะเวลากลางวันสั้นลงในฤดูหนาว กลางคืนยาวขึ้นซึ่งในคนไข้กลุ่มนี้สามารถที่ช่วยได้ด้วยการนั่งในห้องที่ใช้แสงไฟพิเศษ ประมาณ 15-20 นาทีต่อวัน
นอกจากนี้คุณควรจะสังเกตว่าก่อนที่อาการซึมเศร้าจะเกิดขึ้นกับคุณ มีเหตุการณ์อะไรเปลี่ยนแปลงขึ้นในชีวิตของคุณ ทั้งเหตุการณ์ที่คุณคิดว่าอาจจะเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะซึมเศร้าขึ้นหรือไม่ก็ได้ ให้พยายามรวบรวมความคิดเหล่านั้นไว้ด้วย และอีกอย่างที่สำคัญที่จะลืมเสียมิได้คือ คุณมีการใช้สารหรือยาบางอย่างที่ทำให้คุณมีภาวะซึมเศร้าร่วมด้วยหรือไม่
จุดมุ่งหมายหลักในการรักษาคนไข้กลุ่มนี้ มีดังต่อไปนี้
-
การป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยมีสภาวะซึมเศร้า
-
การป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยสูญเสียความรู้สึกสนใจและพอใจที่อยากจะทำสิ่งต่างๆ ในชีวิตประจำวัน
-
การป้องกันไม่ให้เกิดการสูญเสียความอยากอาหารและมีปัญหาเรื่องน้ำหนักที่ผิดปกติไป
-
การป้องกันไม่ให้มีการนอนหลับมากเกินไป
-
การป้องกันเพื่อไม่ให้มีความรู้สึกหงุดหงิด
-
การป้องกันไม่ให้เกิดสภาวะเหนื่อยอ่อนเพลียและรู้สึกล้าตลอดเวลา
-
การป้องกันไม่ได้ผู้ป่วยคิดว่าตัวเองมีปมด้อย หรือรู้สึกผิด
-
การป้องกันให้ผู้ป่วยสามารถมีกำลังใจในการคิดและพยายามคิดและตัดสินใจในทางที่ถูกต้อง
-
การป้องกันไม่ให้เกิดความคิดที่จะฆ่าตัวตาย
ดังที่หมอได้กล่าวมาข้างต้น ลักษณะอาการที่เกิดขึ้นกับคุณ ต้องได้รับการพบจิตแพทย์ทันที เพื่อประเมินสภาวะทางจิตใจ และให้สามารถได้รับการพินิจฉัยที่ถูกต้อง เพื่อนำไปสู่การรักษาที่มีประสิทธิภาพ เช่น การรักษาด้วยยาต้านภาวะซึมเศร้า และการเข้ากลุ่มบำบัดอย่างที่หมอกล่าวมาข้างต้น
-
-
ถามแพทย์
-
อาการวิตกกังวล หรือความเครียด