ถามแพทย์

  • ถ่ายยาก ถ่ายอุจจาระแข็ง มีเลือดออกบ้าง บางครั้งมีรูทวารบวม มีติ่ง

  •  Jnnps
    สมาชิก
    เป็นคนถ่ายยากมานานมากแล้วค่ะ ปกติเวลาอุจจาระแข็งก็มีบาดและเลือดออกบ้าง บางครั้งที่รูทวารบวมแต่หายเอง มาเมื่อวานก่อนถ่ายแข็งมากจนมีติ่งออกมาแล้วไม่หายไป แต่ไม่มีเลือดนะคะ ตอนถ่ายไม่เจ็บมาก เจ็บนิดๆ เวลาเดินนั่งนอนขมิบก็เจ็บเล็กน้อย ลักษณะเป็นติ่งอยู่กลางรูทวารเลยค่ะ กลัวมาก TT

     

    สวัสดีค่ะคุณ Jnnps

     

    การถ่ายอุจจาระมีเลือดสดปนออกมาเกิดได้จากสาเหตุ

     

    -โรคริดสีดวงทวาร (hemorrhoid) เป็นโรคที่เกิดจากการโป่งพองของเส้นเลือดบริเวณทวารหนักหรือส่วนปลายของลำไส้ใหญ่ที่อยู่ติดกับทวารหนัก ทำให้มีอาการคล้ายติ่งยื่นออกมาจากทวารหนัก คนไข้อาจจะมีอาการปวด เจ็บ หรือคันบริเวณทวารหนัก ถ่ายลำบาก ถ่ายอุจจาระมีเลือดสดปนออกมา หากมีเส้นเลือดอุดตัน (thrombosed hemorrhoid) ทำให้บริเวณนั้นอักเสบจนคนไข้อาการปวดบริเวณทวารหนักรุนแรง บวม และคลำได้ก้อนแข็งบริเวณทวารหนักได้

     

    ·         ปัจจัยที่ส่งเสริมให้โรคริดสีดวงเป็นมากขึ้น ได้แก่ การนั่งเบ่งอุจจาระเป็นเวลานาน ประวัติท้องเสียเรื้อรังหรือท้องผูกเรื้อรัง น้ำหนักเกิน รับประทานที่มีกากใยน้อย ตั้งครรภ์ เป็นต้น

     

    ·         การดูแลรักษาสุขภาพตนเองเพื่อลดอาการและป้องกันโรคริดสีดวง แนะนำให้คนไข้รับประทานอาหารที่มีพืชผักผลไม้ที่มีกากใยสูง ดื่มน้ำเปล่าอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว ออกกำลังกายสม่ำเสมอ พยายามอย่ากลั้นอุจจาระนานๆ และพยายามเลี่ยงการเบ่งอุจจาระ

     

    -แผลที่ขอบทวารหนัก มักพบในคนที่ท้องผูก ถ่ายอุจจาระแข็ง โดยเวลาที่ถ่ายจะรู้สึกเจ็บแสบคล้ายขอบทวารหนักโดนบาด หลังจากถ่ายอุจจาระเสร็จแล้วมีเลือดหยดตามมา หากเป็นเรื้อรังจะมีผิวหนังเป็นติ่งยื่นออกมา ทำให้เข้าใจว่าเป็นริดสีดวงทวารได้ การดูแลตนเองแนะนำให้ปรับเปลี่ยนอาหารให้มีกากใยเพิ่มขึ้นเพื่อไม่ให้ท้องผูก ดื่มน้ำมากเพื่ออุจจาระไม่แข็ง

     

    -นอกจากนี้ยังมีโรคอื่นๆ ที่เป็นสาเหตุของการถ่ายอุจจาระมีเลือดปนออกมา ได้แก่ เนื้องอกที่บริเวณทวารหนัก, ลำไส้อักเสบ, โรคเลือดบางอย่าง, การใช้ยาบางอย่าง เป็นต้น

     

    ดังนั้นจึงแนะนำให้คุณ Jnnps พบแพทย์เพื่อตรวจรับการวินิจฉัยและการรักษาที่เหมาะสมค่ะ

     

    Jnnps  Jnnps
    สมาชิก
    แล้วแบบนี้มียาอะไรที่กอนแล้วลดอาการเจ็บหรือปวดได้บ้างคะ ถ้าหาหมอต้องเฉพาะทางหรือหมอทั่วไปได้คะ
    แนะนำให้พบแพทย์ทั่วไปเพื่อตรวจและวินิจฉัยโรคค่ะ จะได้รับยาที่ตรงกับโรคที่เป็น ระหว่างที่ยังไม่ได้ไปพบแพทย์ แนะนำให้พยายามอย่าให้ท้องผูกหรือทำให้อุจจาระแข็งมากไป โดยเน้นรับประทานอาหารที่มีกากใยสูง เช่น ผัก ผลไม้ ร่วมกับดื่มน้ำ 2-3 ลิตรต่อวันค่ะ