ถามแพทย์

  • การฝังยาคุมมีผลต่อประจำเดือนไหม

  •  Atitaya Phalasep
    สมาชิก
    สวัสดีค่ะ พอดีว่าฝังเข็มยาคุมเมื่อวันที่ 28/9/59 แล้วจากนั้นก็มีเลือดประจำเดือนมาตลอดเยอะด้วย เคยไปหาหมอแล้ว หมอบอกเกิดจากการติดเชื้อค่ะ แล้วกอนยาที่หมอให้ไปก็ไม่หาย สรุปหลังจากนั้นประมาณ 5 เดือนเลือดหายไปเอง แบบหายไปเลยค่ะ ไม่มีประจำเดือนเลย แล้วอยู่ๆ ก็มีเลือดตอนที่เข็มยาคุใมเกือบจะคบ3ปีแล้ว(ตามกำหนด) เลือดเป็นประจำเดือนปกติสีแดง เพิ่งมาเดือนมิถุนายน เลยไปหาหมอ เพราะนึกว่าเข็มยาคุมหมดอายุค่ะ หมอบอกเข็มยาคุมไม่มีทางหมออายุก่อนเวลาที่เขากำหนด คือ เขาบอกว่าเลือดประจำเดือนสามารถมาได้ แต่เราก็เอ๊ะใจนิดหน่อยเพราะเลือดไม่ได้มาเกือบ 2 ปีแล้ว พอประจำเดือนสีแดงที่มาหมดไปแล้ว เราก็นึกว่าจะมาอีกทีเดือนหน้าค่ะ แต่ว่าเลือดออกมาเรื่อยๆน้อยบ้างเยอะบ้างแต่มันไม่ใช่เลือดสีแดงแล้วค่ะ มันเป็นเลือดสีดำ ก็มาเรื่อยๆตลอด พอช่วงเดือน กรกฎาคม ก็น้อยลงมากๆ เหมือนจะหมดแต่ก็ไม่หมดสักทีค่ะ อยากทราบว่ามันเป็นเลือดอะไร คือเคยไปอ่านในเน็ต เขาบอกว่าเป็นประจำเดือนเก่าที่เคยค้างไว้หลุดออกมา เป็นประจำเดือนเก่าที่เคยไม่มาตอน 2 ปีหลุดมาจริงๆหรอคะ ขอบคุณค่ะ
    Atitaya Phalasep  พญ.นรมน
    สมาชิก

    สวัสดีค่ะคุณ Atitaya Phalasep

    การมีเลือดออกกระปริดกระปรอยดังกล่าวมา อาจเป็นผลข้างเคียงจากยาคุมกำเนิดชนิดฝังซึ่งพบได้ค่อนข้างบ่อย และเกิดได้ตลอดที่มีการฝังยา

    ยาฝังคุมกำเนิดเป็นการคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพสูง โอกาสตั้งครรภ์น้อยกว่า 1% หากทำในสถานพยาบาลที่เชื่อถือได้ โดยมีผลข้างเคียงได้แก่

    -เลือดออกกระปริดกระปรอยทางช่องคลอด

    -ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอจนถึงไม่มา

    -สิวขึ้น

    -น้ำหนักตัวขึ้น

    การมีเลือดไหลออกมาเกิดจากระดับฮอร์โมนในร่างกายในช่วงเวลานั้นๆ ไม่ใช่เลือดประจำเดือนเก่าที่ค้างเอาไว้ค่ะ 

    ควรสังเกตลักษณะและปริมาณเลือดที่ออก ถ้าเลือดมามากจนต้องใช้ผ้าอนามัยชุ่มแผ่น มาติดต่อกันเป็นเดือน จนมีภาวะซีด เพลีย อันนี้น่าจะต้องหาสาเหตุอื่นๆร่วมด้วยเช่นเนื้องอกมดลูก เนื้องอกปากมดลูก รังไข่ทำงานผิดปกติ หรือติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ แนะนำไปพบสูตินรีแพทย์เพื่อตรวจภายในและอัลตราซาวน์หน้าท้องค่ะ

    การดูแลตัวเองเบื้องต้น ทำความสะอาดอวัยวะเพศภายนอกด้วยน้ำสะอาด งดการมีเพศสัมพันธ์ไปก่อนในช่วงที่มีเลือดออก ไม่ซื้อยาปรับฮอร์โมนหรือยาสตรีใดๆมารับประทานเอง

    หากไม่อยากให้มีผลข้างเคียงดังกล่าว อาจปรึกษาแพทย์เพื่อเปลี่ยนวิธีการคุมกำเนิด เป็นชนิดที่มีผลข้างเคียงดังกล่าวได้น้อยกว่า