-
ลื่นล้ม ข้อศอกซ้ายแตก ท่อนแขนขวาเขียวช้ำ ประมาณ1 สัปดาห์ต่อมา มีปวดราวนม เวลาไอหรือจาม รักษาอย่างไร
-
Jan 23, 2020 at 05:52 AM
ผมอายุ42 สูง179 หนัก 90 กิโลกรัม ได้ประสบอุบัติเหตุลื่นล้มในห้องน้ำ ลักษณะการล้มคือ เมื่อรู้ตัวว่าลื่นได้ทำก่รพลิกตัวด้านซ้ายเพราะกลัวศีรษะฟาดพื้น ทำให้การล้มมีบักษณะ มือทั้งสองประสานกัน โดยวางตำแหน่งอยู่ระหว่างรางนมซ้าย ทำให้ท่อนแขนรับแรงกระแทก ข้อศอกซ้ายแตก ท่อนแขนด้านขวาเขียวช้ำ เมื่ออาการเขียวช้ำจางลงหลังตากล้มประมาณ1 สัปดาห์ สังเกตุว่าเวลาไอหรือจาม จะมีอการปวดร้าวบริเวฯราวนมด้านซ้าย บางครั้งมีเสียงลั่นของกระดูก ยังสามารถยกแขนทำมุมขนานพื้น หรือชูแขนจนสุดได้ มีอาการเจ็บหากมีการก้มตัวเช้นผูกเชือกรองเท้า ไม่ทราบว่ามีแนวทางรักษาอาการ หรือบรรเทาอาการเจ็บได้บ้างครับ ขอบพระคุณคุณหมอที่ตอบคำถามมา ณ ที่นี้ด้วยครับJan 23, 2020 at 08:01 AM
สวัสดีค่ะ คุณ Ditsakul,
อาการปวดบริเวณราวนมด้านซ้าย เวลาไอหรือจาม และเวลาก้มตัวลง ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากประสบอุบัติเหตุกระแทกพื้น ก็น่าจะเกิดจาก
1. การบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อบริเวณทรวงอก ซึ่งอาการปวดมักจะสัมพันธ์กับการเคลื่อนไหวของหน้าอก เช่น การเอี้ยวตัว บิดตัว ก้มตัว งอตัว การหายใจเข้าออกลึกๆ การไอ หรือจาม มักมีจุดที่กดเจ็บชัดเจน
2. กระดูกอ่อนซี่โครงอักเสบ มักจะปวดหลายตำแหน่งแต่เป็นข้างเดียว อาการปวดจะมากขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหวของหน้าอกเช่นกัน
3. กระดูกซี่โครงหัก อาการปวดมักจะสัมพันธ์กับการเคลื่อนไหวของหน้าอเช่นกัน และมีจุดที่กดเจ็บชัดเจน โดยอาการปวดจะรุนแรงกว่าการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ และอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนคือ กระดูกทิ่มเข้าไปในเนื้อปอด และทำให้เกิดภาวะมีลมในช่องปอดหรือปอดทะลุ หรือมีเลือดออกในช่องปอดได้ ซึ่งจะทำให้เกิดอาการเหนื่อย หายใจลำบากได้
สำหรับสาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้เกิดอาการปวดหน้าอก ที่พบได้ไม่บ่อย เช่น มีน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด ช่องเยื่อหุ้มปอดมีอากาศ เยื่อหุ้มปอดอักเสบ เป็นต้น ซึ่งมักจะต้องมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ไอ เหนื่อย หายใจเร็ว หายใจลำบาก มีไข้ เป็นต้น
ดังนั้น หากอาการปวดไม่ได้รุนแรง และไม่ได้มีอาการอื่นๆ อีก ก็น่าจะเกิดจากกล้ามเนื้อหรือกระดูกอ่อนซี่โครงอักเสบ ซึ่งในเบื้องต้น ควรงดการใช้งานกล้ามเนื้อของทรวงอก เช่น การยกของหนัก เข็นของหนัก งดการออกกำลังกายที่ใช้กล้ามเนื้อหน้าอก หรือกระเทือนถึงกล้ามเนื้อหน้าอก ส่วนการบรรเทาปวด อาจใช้การประคบร้อนตรงจุดที่เจ็บ และนวดเบาๆ หากปวดมาก อาจทานยา เช่น ยาคลายกล้ามเนื้อ ยาแก้ปวดต่างๆ เช่น ไดโลฟีแนค (diclofenac) ไพรอซิแคม (piroxicam) เป็นต้น แต่ต้องไม่แพ้ยาเหล่านี้ค่ะ อาการปวดก็น่าจะค่อยๆ ดีขึ้น ซึ่งอาจใช้เวลาหลายสัปดาห์ได้ค่ะ
แต่หากอาการปวดไม่ดีขึ้น หรือปวดมากขึ้น หรือมีอาการอื่นๆ ร่วม เช่น เหนื่อย หายใจเร็ว หายใจลำบาก มีไข้ ก็ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุเพิ่มเติมค่ะ
Jan 23, 2020 at 08:01 AM
สวัสดีค่ะ คุณ Ditsakul,
อาการปวดบริเวณราวนมด้านซ้าย เวลาไอหรือจาม และเวลาก้มตัวลง ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากประสบอุบัติเหตุกระแทกพื้น ก็น่าจะเกิดจาก
1. การบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อบริเวณทรวงอก ซึ่งอาการปวดมักจะสัมพันธ์กับการเคลื่อนไหวของหน้าอก เช่น การเอี้ยวตัว บิดตัว ก้มตัว งอตัว การหายใจเข้าออกลึกๆ การไอ หรือจาม มักมีจุดที่กดเจ็บชัดเจน
2. กระดูกอ่อนซี่โครงอักเสบ มักจะปวดหลายตำแหน่งแต่เป็นข้างเดียว อาการปวดจะมากขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหวของหน้าอกเช่นกัน
3. กระดูกซี่โครงหัก อาการปวดมักจะสัมพันธ์กับการเคลื่อนไหวของหน้าอเช่นกัน และมีจุดที่กดเจ็บชัดเจน โดยอาการปวดจะรุนแรงกว่าการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ และอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนคือ กระดูกทิ่มเข้าไปในเนื้อปอด และทำให้เกิดภาวะมีลมในช่องปอดหรือปอดทะลุ หรือมีเลือดออกในช่องปอดได้ ซึ่งจะทำให้เกิดอาการเหนื่อย หายใจลำบากได้
สำหรับสาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้เกิดอาการปวดหน้าอก ที่พบได้ไม่บ่อย เช่น มีน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด ช่องเยื่อหุ้มปอดมีอากาศ เยื่อหุ้มปอดอักเสบ เป็นต้น ซึ่งมักจะต้องมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ไอ เหนื่อย หายใจเร็ว หายใจลำบาก มีไข้ เป็นต้น
ดังนั้น หากอาการปวดไม่ได้รุนแรง และไม่ได้มีอาการอื่นๆ อีก ก็น่าจะเกิดจากกล้ามเนื้อหรือกระดูกอ่อนซี่โครงอักเสบ ซึ่งในเบื้องต้น ควรงดการใช้งานกล้ามเนื้อของทรวงอก เช่น การยกของหนัก เข็นของหนัก งดการออกกำลังกายที่ใช้กล้ามเนื้อหน้าอก หรือกระเทือนถึงกล้ามเนื้อหน้าอก ส่วนการบรรเทาปวด อาจใช้การประคบร้อนตรงจุดที่เจ็บ และนวดเบาๆ หากปวดมาก อาจทานยา เช่น ยาคลายกล้ามเนื้อ ยาแก้ปวดต่างๆ เช่น ไดโลฟีแนค (diclofenac) ไพรอซิแคม (piroxicam) เป็นต้น แต่ต้องไม่แพ้ยาเหล่านี้ค่ะ อาการปวดก็น่าจะค่อยๆ ดีขึ้น ซึ่งอาจใช้เวลาหลายสัปดาห์ได้ค่ะ
แต่หากอาการปวดไม่ดีขึ้น หรือปวดมากขึ้น หรือมีอาการอื่นๆ ร่วม เช่น เหนื่อย หายใจเร็ว หายใจลำบาก มีไข้ ก็ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุเพิ่มเติมค่ะ
-
ถามแพทย์
-
ลื่นล้ม ข้อศอกซ้ายแตก ท่อนแขนขวาเขียวช้ำ ประมาณ1 สัปดาห์ต่อมา มีปวดราวนม เวลาไอหรือจาม รักษาอย่างไร