ถามแพทย์

  • เจ็บลิ้นปี่ ใต้ราวนมซ้าย ซี่โครงซ้าย และแน่นหน้าอก ถ่ายเป็นสีเขียว เป็นอาการอะไร

  •  Gentils Bombace
    สมาชิก
    เป้นมาร่วมสองเดือนกว่า ตั่งแต่ปลายเดือนมีนา เส้นยึด เกร็ง ท้องร้องดัง กล้ามเนื้ออ่อนแรง ช่วงเดือนนั้น ไม่เคยเป็นอย่างนี้ แต่ช่วงเดือนนั้นกินยาลดความดันมั่วมาก แถมกินยากดประสาท คลายความเครียด วิตกกังวล หมอทางนี้ไห้กิน หมอบอกความดันสูงเพราะเครียด ไม่เคยกินยาความดัน แบบติดต่อกัน เป้นความดันสูงมาสิบปี พึ่งจะมากิน ตอนนี้ความดันควบคุมได้แล้ว แต่ก่อนหน้านี้ สองปีก่อน กินบ้างไม่กินบ้าง และกลับมากินเมื่อสามเดือรก่อน กินบ้สงไม้กินบ้าง อาการที่เจ็บโดยสับสนบอกไม่ถูก มาทั้งหมด ประมาณนี้ เส้นยึด ปวดลิ้นปี มีกรดไหลย้อนถึงคอ เต้บใต้ราวนมซ้าย แน่นท้อง แน่นหน้าอก ไม่ขับถ่าย สะบัดมือขาดังกอกแกก หมุนคอก็ดัง หมุนไหลก็ดัง เสียงท้องดัง เสียงลำไส้ดังแบบ อ่อนแรง คือต้องกินโซเดียมเกลือขับให้ถ่าย ำำำำำำำำำำำำำำำำำำำำำำำำไม่นั่นไม่ถ่าย ถ่ายเขียว ไม่รู้จะทำยัง และพึ่งหยุดกินยาคลายเครียดได้อาทิตย์เศษ ทั่วหมดอาการที่เป็น ผ่านมาสองเดือนกว่า ตอนนี้กินแค่ยาลดความดัน โพพานอลอล 160 มิล ตอนเที่ยง พึ่งกินได้ ร่วมเดือน เพราะไม่รู้ความดันเกิดจากอะไร หมอให้กินคุมอาการที่เป็น จะชอบมาตอนตกเย็น มีแบบปลายมือชาร่วมด้วย เท้าม่วงแบบเลือดไม่เดินร่วมด้วย มึนหัว ตื้อหัวก็มา
    Gentils Bombace  พญ.นรมน
    สมาชิก

    สวัสดีค่ะคุณ Gentils Bombace

    อาการจุกแน่นที่ลิ้นปี่ เจ็บใต้ราวนม และแน่นหน้าอกดังกล่าวมานั้น อาจจะมีสาเหตุที่พบได้บ่อยเช่นภาวะกรดไหลย้อน กระเพาะอาหารอักเสบหรือมีแผลในกระเพาะอาหาร กล้ามเนื้อหรือกระดูกอ่อนบริเวณอกอักเสบ หรือเป็นปัญหาเกี่ยวกับโรคหัวใจแต่คิดถึงน้อยหากเป็นๆหายๆและ สัมพันธ์กับมื้ออาหารหรือมีเสียงท้องร้องร่วมด้วย การมีภาวะทางจิตบางประเภทเช่นภาวะกังวลตื่นตกใจกลัวมากเกินไป อาจทำให้มีอาการเจ็บแน่นหน้าอกได้เช่นกัน

    กรดไหลย้อนคือโรคทีี่เกิดมาจากการมีกรดในกระเพาะไหลย้อนขึ้นไปในหลอดอาหารเนื่องจากหูรูดบริเวณกระเพาะกับหลอดอาหารหลวม มักมีอาการไอ กลืนลำบาก แน่นอก แสบร้อนกลางอก อาจแสดงอาการคล้ายคนเป็นหอบหืดได้ การรักษาคือการรับประทานยาลดกรด และปรับพฤติกรรมเช่นไม่กินแล้วนอนทันที หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้มีอาการมากขึ้น

    แนะนำปรับพฤติกรรมดังกล่าวไปก่อน หากมียาลดกรดที่แพทย์จ่ายมาควรรับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง หรือยาที่ช่วยลดอัตราการเต้นของหัวใจดังกล่าวมานั้น ถ้าแพทย์สั่งสามารถใช้ได้ทุก 6 ชั่วโมงเมื่อมีอาการเป็นมาก

    และถ้ายังมีอาการเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จุกแน่นอกมาก หอบเหนื่อย หายใจไม่ทัน หัวใจเต้นเร็วและแรงมากผิดปกติ ควรรีบกลับไปพบแพทย์เพื่อตรวจเพิ่มเติมหาสาเหตุที่เป็นไปได้ต่อไป