ถามแพทย์

  • ปวด 2 ข้าง ผ่านไป 2 วัน โตข้างเดียว มีไข้หนาวสั่น เบื่ออาหาร เมื่อยร่างกาย ทำอย่างไร

  • ตอนแรกปวดสองข้างผ่านไปสองวันโตข้างเดียว มีอาการไข้หนาวสั่น เบื่ออาหาร เมื่อยตามร่างกาย ไม่มีแรง ทำไงดีคะ

    สวัสดีค่ะ คุณ รำคาญ อย่ามายุ่งกับกู.

                     อาการปวดคอ มีไข้ หนาวสั่น เบื่ออาหาร ปวดเมื่อยร่างกาย อาจเกิดจาก

                    1. คอหอยอักเสบ (pharyngitis) มักเป็นผลจากการที่กำลังเป็นโรคไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่อยู่ ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัส อาการคือจะมีไข้ ไอ มีเสมหะ เจ็บคอ เสียงแหบ จาม มีน้ำมูก คัดจมูก ตาแดง ปวดหัว ปวดเมื่อยตัว

                      มีประมาณ 10-15% ที่คออักเสบเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งมักจะมีไข้สูง หนาวสั่น ปวดหัว ปวดเมื่อยตัว คลื่นไส้วิงเวียน คอแดง เจ็บคอ กลืนลำบาก มีจุดหรือแผ่นสีขาวหรือสีเทาบริเวณลำคอ ต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอบวมโต

                      2.  ทอนซิลอักเสบ (Tonsillitis) สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ มีประมาณ 15%-20% เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย โดยหากเกิดจากเชื้อไวรัส จะมีอาการของไข้หวัดร่วมกับต่อมทอนซิลทั้งสองข้างโตและแดงเล็กน้อย ส่วนใหญ่มักจะหายได้เองภายใน 7-10 วัน หากเป็นทอนซิลอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย จะมีอาการเจ็บคอมากจนกลืนน้ำและอาหารได้ลำบาก มีไข้สูง หนาวสั่น ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร มีกลิ่นปาก อาจตรวจพบต่อมน้ำเหลืองที่ข้างคอด้านหน้าโต ต่อมทอนซิลจะบวมโต สีแดงจัด และมักมีแผ่นหนองอยู่บนทอนซิล มักเกิดที่ทอนซิลทั้ง 2 ข้าง แต่อาจเกิดข้างเดียวก็ได้

                         การดูแลตนเองในเบื้องต้น ไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุใด ได้แก่ การดื่มน้ำเปล่ามากๆ โดยควรดื่มน้ำที่อุณหภูมิห้อง หรือน้ำอุ่น งดน้ำเย็น พักผ่อนเยอะๆ ทานอาหารที่มีประโยชน์โดยเฉพาะผักและผลไม้ ทานอาหารอ่อน ๆ รสจืด งดใช้เสียงมาก งดการสูบบุหรี่ หรืออยู่ในที่มีควันบุหรี่ หรือควันต่างๆ งดดื่มแอลกอฮอล์ บ้วนปากล้างลำคอด้วยน้ำเกลือบ่อยๆ เป็นต้น

                         หากอาการบ่งชี้ว่าน่าจะเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย คือไข้สูง เจ็บคอมาก กลืนลำบากและทอนซิลบวมโตมาก สีแดงจัด มีจุดหนองชัดเจน โดยที่อาการไอ มีน้ำมูก จาม ไม่เด่นชัด ควรไปพบพบแพทย์เพื่อรับยาปฏิชีวนะทานค่ะ เพราะหากไม่ได้รับยาปฏิชีวนะรักษา อาจมีภาวะแทรกซ้อนตามมาได้ เช่น หูชั้นกลางอักเสบ จมูกอักเสบ ไซนัสอักเสบ ปอดอักเสบ ฝีที่ทอนซิล เชื้ออาจเข้าสู่กระแสเลือดแล้วแพร่กระจายไปยังส่วนต่าง ๆ ทำให้เป็นเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ข้ออักเสบชนิดติดเชื้อ เป็นต้น หรืออาจกลายเป็นไข้รูมาติกได้