ถามแพทย์

  • สามีเอาความคิดตัวเองเป็นใหญ่ ชอบให้เยินยอ เป็นโรคหลังตัวเองหรือไม่

  •  Mikinarak
    สมาชิก
    สามีชอบคิดว่าตัวเองเก่งมาก คิดอะไรก้อถูกเสมอ คนอื่นที่คิดต่างกับเค้า จะกลายเป็นเหมือนศัตรตรูเค้าเลยค่ะ เค้าจะโกรธมาก เวลาเราโต้แย้ง แต่บางครั้งก้อเป็นเรื่องสำคัญเราจำเป็นต้องแย้ง เพื่อไม่ให้เกิดผลเสียหาย ปัจจุบันมีลูก 1 คน ลูกสับสนมากๆเลยค่ะ เพราะพ่อชอบตำหนิ และชอบเอาเหตุผลตัวเองเป็นใหญ่เสมอ ทำให้ครอบครัวรู้สึกตึงเครียดตลอดเวลาเลยค่ะ เพราะถ้าหาก ไม่ยอมคิดตามทำตาม สามีก้อจะ ตีลูก และถ้าเราเถียงก่อจะพาลทะเลาะทำลายข้าวของในบ้าน และอาจถึงขั้นทุบตีเราด้วยค่ะ ทุกวันนี้เลยต้องปล่อยๆไปค่ะ เค้าอยากพูด อยากคิดอะไร หากไม่เสียหายมากเกินไปก้อจะไม่ทักท้วงค่ะ ทุกวันนี้สามี มีแต่ปัญหากับคนรอบตัวทุกคนเลยค่ะ ไม่ว่าจะพูดถึงใครก้อมีแต่ปัญหา แต่เค้าจะชอบและพอใจถึงขึ้นปลื้มเลยค่ะกับคนที่ยกยอเค้าค่ะ ไม่ทราบว่าเป็นนี้เป็นโรคหลงตัวเอวหรือเปล่าค่ะ
    Mikinarak  Natthaphat
    สมาชิก

    สวัสดีค่ะ โรคหลงตัวเองนั้นเป็นโรคทางบุคลิกภาพชนิดหนึ่งค่ะ โดยผู้ป่วยมักยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง หมกมุ่นอยู่กับคำยกยอและการโอ้อวดของตัวเองค่ะ ซึ่งมักมีอาการเหล่านี้อยู่รวมๆกัน เช่น

    -  มักยึดตัวเองเป็นศูนย์กลางมากเกินไป เชื่อว่าตัวเองเป็นคนพิเศษ

    - หมกหมุ่นกับความสำเร็จ ความร่ำรวย ความงาม หรืออุดมคติของตัวเองในด้านต่างๆของชีวิต 

    - ต้องการความสนใจ การยอมรับจากผู้อื่น

    - คิดว่าสมควรได้รับอภิสิทธิ์ต่าง ๆ อย่างไม่มีเหตุผล

    - แสวงหาประโยชน์จากผู้อื่นให้บรรลุเป้าหมาย

    - ไม่เห็นอกเห็นใจผู้อื่น

    - มักริษยาผู้อื่น 

    - มักมีความคิดหรือพฤติกรรมที่เย่อหยิ่ง จองหอง

    ทั้งนี้อาการที่คุณMikinarak อาจยังสรุปไม่ได้ค่ะว่าเป็นโรคหลงตัวเองหรือไม่ เนื่องจากข้อมูลยังไม่เพียงพอค่ะ อยากให้ลองสังเกตเพิ่มว่าสามีมีอาการดังกล่าวตลอดเวลากับทุกคน ทุกสถานที่ หรือจะมีอาการเฉพาะตอนอยู่ที่บ้านเท่านั้น หากพบว่าฝ่ายสามีมีปัญหาดังกล่าวเฉพาะตอนอยู่กับครอบครัว การสื่อสารพูดคุยถึงปัญหาจะสามารถช่วยให้ทั้งสองฝ่ายตระหนักและหาหนทางแก้ไขร่วมกันได้ค่ะ

    แต่หากได้พยายามพูดคุยแล้วแต่ไม่เป็นผลหรือมีถึงขั้นการใช้ความรุนแรงเกิดขึ้น ขอแนะนำให้นำตัวเองออกมาจากสถานการณ์นั้นเพื่อเลี่ยงความรุนแรงก่อนค่ะ และควรไปพบกับจิตแพทย์ที่โรงพยาบาลเพื่อรับการปรึกษาแนวทางการการแก้ไขและบำบัดพฤติกรรม(หากเป็นไปได้แนะนำให้เข้ารับการปรึกษาทั้งฝ่ายสามีและภรรยา) ก่อนที่ปัญหาดังกล่าวจะทวีความรุนแรงและส่งผลต่อกระทบต่อครอบครัวโดยเฉพาะต่อการเลี้ยงดูบุตรซึ่งอาจมีผลต่อพัฒนาการด้านต่างๆด้วยค่ะ

    Mikinarak  Mikinarak
    สมาชิก
    ขอบคุณคุณหมอมากๆค่ะ