ถามแพทย์

  • ไอหนัก ไอแห้งๆ ไม่มีไข้ น้ำหนักตัวไม่ได้ลด ทุกครั้งที่ไอจะแสบกลางอก เอ็กซเรย์อดแล้ว ปกติดี เป็นอะไร

  •  blue suwanee
    สมาชิก
    ช่วงปลายธันวาคมใกล้มกราคม หนูมีอาการไอหนักๆ ไอแรงๆ ไอแห้งๆ แต่ไม่มีไข้ ไม่มีจาม ไม่มีอาการไม่อยากอาหาร น้ำหนักตัวไม่ได้ลด ปกติเลยค่ะ ทุกครั้งที่ไอหนูแสบกลางอกมากๆเลย ร้อนผ่าวมากเลยค่ะ เมื่อวันที่ 23ก.พ.2563 หนูได้ไปรพ.มา ทำการเอ็กซเรย์ปอดแล้ว คุณหมอบอกว่าปอดปกติค่ะ และบอกว่าอาจจะเกิดได้2อย่างคือ ภูมิแพ้หรือโรคกระเพาะ ซึ่งหนูเป็นทั้งสองค่ะ คุณหมอได้ให้ยามากิน แต่ว่าหนูกินแล้วอาการไม่ดีขึ้นเลยค่ะ คือหนูเป็นอะไรหรอคะ

    สวัสดีค่ะ คุณ blue suwanee,

                      อาการไอแห้งๆ มา 1 เดือน อาจเกิดจาก  

                     1. โรคหอบหืด อาการมักจะกำเริบขึ้นเมื่อโดนกระตุ้นจากสิ่งต่างๆ ที่ก่อให้เกิดการแพ้ หรือจากอุณหภูมิที่เย็น การออกกำลังกาย หรือความเครียด บางรายอาจมีเฉพาะอาการไอได้ แต่ส่วนใหญ่จะมีอาการอื่นๆ ร่วมอีก เช่น หายใจลำบาก หายใจขัด แน่นหน้าอก หายใจมีเสียงดังวี๊ดๆ หอบเหนื่อย เป็นต้น

                     2. ภูมิแพ้ชนิดแพ้อากาศ แต่นอกจากไอแล้ว มักมีอาการคันจมูก คันคอ จาม น้ำมูกไหล  โดยอากรจะเกอดเมื่อสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ 

                      3. กรดไหลย้อน อาจทำให้เกิดอาการไอได้จากน้ำย่อยที่ไหลย้อนขึ้นมาระคายเคืองบริเวณลำคอและอาจไหลลงสู่หลอดลม จึงกระตุ้นให้เกิดการไป แต่มักมีอการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น แสบร้อนกลางอก จุกแน่นลิ้นปี่ เรอบ่อย รู้สึกเปรี้ยวหรือขมที่ลำคอ คลื่นไส้หลังทานอาหาร อิ่มเร็ว เป็นต้น 

                       4. ผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด โดยเฉพาะยาลดความดันโลหิตกลุ่ม ACE inhibitor 

                        5. หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน แต่จะมีอาการของไข้หวัดนำมาก่อน และต่อเนื่องด้วยอาการไอมาก ไอบ่อยและมักมีเสมหะร่วมด้วย

                        6. วัณโรคปอด แต่มักมีเสมหะ และจะมีไข้ น้ำหนักลด เบื่ออาหารร่วมด้วย

                         7. มะเร็งปอด อาการไอจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ รวมถึงมีอาการอื่นๆ เช่น ไอปนเลือด เหนื่อยหอบ น้ำหนักลด เป็นต้น

                          หากได้เคยไปปพบแพทย์และตรวจเอ๊กซเรย์ปอดแล้ว ไม่พบความผิดในปอด ก็ไม่น่าเกิดจากโรควัณโรคและมะเร็ง ดังนั้น จึงอาจเกิดจากโรคกรดไหลย้อนและหอบหืดได้ ในเบื้องต้น อาจลองดูแลรักษาแบบโรคกรดไหลย้อนไปก่อน เช่น การเลือกทานอาหารที่ย่อยง่าย ไม่ทานอาหารที่มีไขมันสูง เช่น อาหารทอดต่างๆ ไม่ทานอาหารรสจัด ไม่ทานเผ็ด ไม่ควรทานจนอิ่มเกินไป เคี้ยวให้ละเอียดก่อนกลืน ทานช้าๆ ไม่เร่งรีบ และไม่ควรทานอาหารก่อนนอนภายใน 2 ชั่วโมง ห้ามดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน และน้ำอัดลมอัดแก๊สต่างๆ ไม่ทานยาแก้ปวดต่างๆ เป็นต้น นอกจากนี้ ควรดูแลรักษาสุขภาพด้านอื่นๆ ด้วย เช่นการดื่มน้ำเปล่ามากๆ หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำเย็น ไม่โดนลมหรือโดนฝน หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ที่มีฝุ่นละอองมาก หรือใส่หน้ากากป้องกัน นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เป็นต้น หากอาการยังไม่ดีขึ้น ก็ควรกลับไปพบแพทย์เพื่อตรวจเพิ่มเติมต่อไปค่ะ