กลุ่มอาการซิคไซนัส (SSS)

ความหมาย กลุ่มอาการซิคไซนัส (SSS)

SSS (Sick Sinus Syndrome) หรือกลุ่มอาการซิคไซนัส เกิดจากเซลล์เพซเมกเกอร์หรือตุ่มไซนัสซึ่งมีหน้าที่ควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจทำงานผิดปกติ ส่งผลให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ ผู้ป่วยอาจรู้สึกอ่อนเพลีย มึนงง หายใจถี่ เจ็บหน้าอก หรือใจสั่น โดยผู้ป่วยควรรีบไปพบแพทย์ทันทีหากพบว่ามีอาการดังกล่าว
1538 SSS Resized

อาการของกลุ่มอาการซิคไซนัส

ตุ่มไซนัสที่ทำงานผิดปกติจะส่งผลให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ โดยผู้ป่วยแต่ละรายอาจมีลักษณะการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติแตกต่างกันไป ได้แก่

ทั้งนี้ หากมีสัญญาณบ่งชี้ของกลุ่มอาการ SSS ดังต่อไปนี้ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

  • หายใจถี่
  • เจ็บหน้าอก
  • อ่อนเพลีย
  • เวียนศีรษะหรือมึนงง
  • ใจสั่น

สาเหตุของกลุ่มอาการซิคไซนัส

ทางการแพทย์คาดว่าเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจที่เกิดความเสียหายเป็นสาเหตุที่ส่งผลให้ตุ่มไซนัสทำงานผิดปกติจนเกิดกลุ่มอาการ SSS ขึ้น

โดยปัจจัยหลักที่ทำให้เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจเกิดความเสียหาย ได้แก่

  • อายุที่เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี อาจเสี่ยงต่อกลุ่มอาการนี้มากกว่าคนทั่วไป
  • ระบบการนำไฟฟ้าหัวใจทำงานผิดปกติ ซึ่งอาจเกิดจากโรคหัวใจหรือความผิดปกติอื่น ๆ ของหัวใจ
  • การเกิดเนื้อเยื่อแผลเป็นบริเวณหัวใจ อาจเกิดจากโรคหัวใจ ความผิดปกติของหัวใจ หรือการผ่าตัดหัวใจ
  • การได้รับยาบางชนิด โดยเฉพาะยาที่มีสรรพคุณช่วยลดความดันโลหิตหรือรักษาโรคหัวใจ เช่น เบต้าบล็อกเกอร์ หรือแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์ เป็นต้น
  • โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ซึ่งถือเป็นปัจจัยหลักที่ก่อให้เกิดกลุ่มอาการซิคไซนัสในเด็ก

นอกจากนี้ ผู้ที่มีประวัติเป็นโรคเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์ ผู้ป่วยภาวะหยุดหายใจขณะหลับ และผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ อาจเสี่ยงต่อกลุ่มอาการซิคไซนัสมากกว่าคนทั่วไปด้วย

การวินิจฉัยกลุ่มอาการซิคไซนัส

การวินิจฉัยกลุ่มอาการ SSS นั้นทำได้ค่อนข้างยาก เพราะอาการอ่อนเพลีย มึนงง หรือหายใจถี่ ซึ่งเป็นอาการบ่งชี้ของกลุ่มอาการนี้ก็อาจเกิดขึ้นจากสาเหตุอื่นได้เช่นกัน การวินิจฉัยในขั้นแรกจึงเป็นการตรวจร่างกายเบื้องต้นและสอบถามประวัติทางการแพทย์ จากนั้นแพทย์อาจตรวจดูจังหวะการเต้นของหัวใจและตรวจกล้ามเนื้อหัวใจด้วยวิธีต่าง ๆ ดังนี้

  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ คือ การติดตัวรับกระแสไฟฟ้าจากการเต้นของหัวใจตามบริเวณแขน ขา และหน้าอก เพื่อตรวจสอบคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
  • การบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชั่วโมง แพทย์จะให้ผู้ป่วยพกเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบอัตโนมัติขนาดเล็กไว้กับตัวตลอด 24-72 ชั่วโมง โดยผู้ป่วยสามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้ตามปกติ
  • การตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจโดยอัลตราซาวด์ เป็นการใช้เครื่องมือตรวจจับคลื่นเสียงสะท้อนของหัวใจ เพื่อแสดงภาพโครงสร้างของหัวใจและหลอดเลือดภายในหัวใจ
  • การตรวจหัวใจด้วยการส่องกล้องผ่านทางหลอดอาหาร เป็นการใส่เครื่องมือตรวจจับคลื่นเสียงความถี่สูงเข้าทางช่องคอและหลอดอาหาร เพื่อแสดงภาพหัวใจและตรวจดูความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับหัวใจ

การรักษากลุ่มอาการซิคไซนัส

การรักษากลุ่มอาการ SSS ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการและสาเหตุที่พบด้วย หากเกิดจากการรับประทานยา แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยหยุดใช้ยาชนิดนั้นทันที

ทั้งนี้ ผู้ป่วยส่วนใหญ่อาจจำเป็นต้องฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจไว้บริเวณหน้าอกหรือช่องท้อง โดยอุปกรณ์ดังกล่าวจะส่งคลื่นไฟฟ้าไปยังหัวใจเพื่อกระตุ้นให้หัวใจเต้นด้วยอัตราเร็วปกติ อย่างไรก็ตาม แม้การฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจจะมีความปลอดภัยสูง แต่ผู้ป่วยบางรายก็อาจประสบกับผลข้างเคียง ดังต่อไปนี้

นอกจากการฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยบางรายรับประทานยาเพื่อประคับประคองอาการไม่ให้รุนแรงขึ้น ดังนี้

  • ยาต้านการแข็งตัวของเลือด เพื่อป้องกันการเกิดลิ่มเลือด เช่น วาร์ฟาริน เป็นต้น ซึ่งมักใช้กับกลุ่มผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อภาวะลิ่มเลือดอุดตัน โดยเฉพาะผู้ป่วยภาวะหัวใจห้องบนเต้นสั่นพลิ้ว
  • ยาที่มีสรรพคุณช่วยให้หัวใจเต้นช้าลง หรือป้องกันภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ เช่น เบต้าบล็อกเกอร์ แคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์ เป็นต้น

ภาวะแทรกซ้อนของกลุ่มอาการซิคไซนัส

เมื่อตุ่มไซนัสซึ่งมีหน้าที่ควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจทำงานผิดปกติ อาจทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจลดลง และอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงตามมาได้ ดังนี้

การป้องกันกลุ่มอาการซิคไซนัส

การป้องกันกลุ่มอาการซิคไซนัสนั้นทำได้ค่อนข้างยาก แต่สามารถลดความเสี่ยงได้โดยปฏิบัติตามคำแนะนำ ดังต่อไปนี้

  • ป้องกันตัวเองจากโรคที่อาจก่อให้เกิดกลุ่มอาการนี้ เช่น โรคเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์ ภาวะพิการแต่กำเนิด เป็นต้น
  • ดูแลสุขภาพด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายเป็นประจำ ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน และหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
  • ในบางกรณี แพทย์อาจแนะนำให้รับประทานยาเพื่อป้องกันโรคหัวใจด้วย