ถามแพทย์

  • อายุ 20-21ปี รู้สึกกลัวและวิตกกังวลไปกับทุกเรื่อง เป็นอะไร

  •  Chanatip Latum
    สมาชิก
    สวัสดีครับคุณหมอ ผมอายุ20-21ครับ ผมรู้สึกเคลียดกังวลไม่กล้าออกไปไหน ไม่อยากพูดคุยกับใคร อยู่เเต่ในห้อง อยากอยู่คนเดียว เวลาคุยกับใครไม่กล้าสบตารู้สึกกดดันมาก หรือสถานที่ที่ๆคนเยอะๆ กลัวเวลาต้องออกไปไหน เช่นเวลานั่งรถเบาะข้างๆคนขับจะเกรงคิดตลอดเวลากลัวจะเป็นอุบัติเหตุ ขึ้นไปที่สูงๆยิ่งกลัวตัวเองจะตกลงจากตรงนั้น กลัวทำอ่ะไรที่มีเสียงดังๆ รู้สึกเหนื่อยมาก ทั้งที่ไม่ค่อยได้ทำอ่ะไร นอนไม่ค่อยหลับ น้ำหนักลด เเละอยู่ดีๆมีอาการหน้ามืด มึนๆหัวใจเต้นรั่วๆ เป็นอยู่เเปปนึ่งเเล้วก็หาย เป็นๆหายๆ อาการเเบบนี้เป็นอยู่หลายเดือนเเล้วครับหมอไม่รู้จะปรึกษาใคร
    Chanatip Latum  พญ.นรมน
    แพทย์

    สวัสดีค่ะคุณ for me

    จากอาการดังกล่าวมาเข้าได้กับภาวะวิตกกังวลทั่วไป มากที่สุด โรคอื่นๆที่เป็นไปได้เช่น โรควิตกกังวลแบบเฉพาะเจาะจงคือมีปัจจัยกระตุ้นชัดเจน โรคแพนิค โรคความผิดปกติทางอารมณ์

    ภาวะวิตกกังวลทั่วไป เป็นภาวะทางจิตใจที่จะทำให้ผู้ป่วยมีความเครียดหรือกังวลมากไปในหลาย ๆ เรื่อง บางครั้งอาจไม่สามารถระบุสาเหตุของความกังวลได้ ส่งผลให้นอนไม่หลับ ไม่มีสมาธิ และอาจกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะนี้อาจมาจากหลายปัจจัย เช่น ความไม่สมดุลของสารเคมีในสมอง พันธุกรรม สภาพแวดล้อม เป็นต้น

    อาการหลักๆเช่น มีอาการตื่นตระหนก กลัว ไม่สบายใจ หงุดหงิด ประหม่า เครียด ไม่มีสมาธิ พยายามหลีกเลี่ยงการเข้าสังคม และขาดความมั่นใจในตัวเอง 

    การรักษาควรพบจิตแพทย์เพื่อประเมินสภาวะทางจิตและยืนยันการวินิจฉัยก่อน อาจมีการให้ยาในกลุ่มระงับอาการวิตกกังวลกลุ่มเบนโซไดอะซีปีน เช่น ยาอัลปราโซแลม ยาโคลนาซีแพม และยาลอราซีแพ ร่วมกับยาที่มีผลต่อระดับสารสื่อประสาทเซโรโทนินอย่างกลุ่มยาต้านเศร้าเอสเอสอาร์ไอ เพื่อรักษาในระยะยาว และการทำจิตบำบัด

    การดูแลตัวเอง ฝึกทำจิตใจให้ผ่อนคลาย รู้จักปล่อยวาง อาจนั่งสมาธิเพื่อให้จิตใจสงบมากขึ้น ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มแอลกอฮอล์และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน และไม่ใช้สารเสพติดทุกชนิด ดูแลสุขภาพ โดยออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และพักผ่อนให้เพียงพอ

    อ่านเพิ่มเติม

    https://www.pobpad.com/gad-%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%A7%E0%B8%A5%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B9%84%E0%B8%9B