ถามแพทย์

  • รบกวนอธิบายกลไกของโรค G6PD

  •  XxxX
    สมาชิก
    สวัสดีค่ะ คุณหมอคะ ช่วยอธิบายกลไกการเกิดเม็ดเลือดแดงแตก ในโรคขาดจีซิกพีดี ด้วยค่ะ

    สวัสดีครับ คุณ หญิง ยุ่งเหยิง

    โรคนี้เกิดจากภาวะที่พร่องเอนไซม์ G6PD (glucose-6-phosphate dehydrogenase) ซึ่งเป็นเอนไซม์สำคัญในขบวนการสร้างพลังงานของน้ำตาลกลูโคส  การขาดเอนไซม์นี้จึงส่งผลให้เกิดสารอนุมูลอิสระ (oxidants) ต่าง ๆ เช่น ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ ที่เป็นพิษต่อเซลล์ในร่างกายโดยเฉพาะเซลล์เม็ดเลือดแดง จึงทำให้เม็ดเลือดแดงแตกได้ครับ

    G6PD Deficiency เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม ซึ่งผู้ชายเสี่ยงต่อภาวะนี้มากกว่าผู้หญิง ส่วนผู้หญิงมักไม่แสดงอาการเจ็บป่วยออกมา แต่สามารถถ่ายทอดความผิดปกตินี้ไปสู่รุ่นลูกได้เช่นกัน โดยภาวะนี้จะก่อให้เกิดการสลายตัวของเซลล์เม็ดเลือดแดงเมื่อถูกกระตุ้นด้วยหลายปัจจัย เช่น การเผชิญภาวะติดเชื้อหรือภาวะเครียดรุนแรง การรับประทานอาหารบางชนิดอย่างถั่วปากอ้า และการได้รับสารเคมีบางชนิดอย่างลูกเหม็น เป็นต้นครับ

    นอกจากนี้ การใช้ยาบางชนิดอาจกระตุ้นให้ผู้ป่วยเกิดการสลายตัวของเซลล์เม็ดเลือดแดงได้ ดังนี้

     

    • ยากลุ่ม NSAIDs บางชนิด
    • ยาแอสไพริน
    • ยาปฏิชีวนะบางชนิด เช่น ยากลุ่มซัลฟา หรือไนโตรฟูแรนโทอิน เป็นต้น
    • ยาต้านมาเลเรียบางชนิด เช่น ควินิน หรือควินิดีน เป็นต้น

       

    สวัสดีครับ คุณ หญิง ยุ่งเหยิง

    โรคนี้เกิดจากภาวะที่พร่องเอนไซม์ G6PD (glucose-6-phosphate dehydrogenase) ซึ่งเป็นเอนไซม์สำคัญในขบวนการสร้างพลังงานของน้ำตาลกลูโคส  การขาดเอนไซม์นี้จึงส่งผลให้เกิดสารอนุมูลอิสระ (oxidants) ต่าง ๆ เช่น ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ ที่เป็นพิษต่อเซลล์ในร่างกายโดยเฉพาะเซลล์เม็ดเลือดแดง จึงทำให้เม็ดเลือดแดงแตกได้ครับ

    G6PD Deficiency เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม ซึ่งผู้ชายเสี่ยงต่อภาวะนี้มากกว่าผู้หญิง ส่วนผู้หญิงมักไม่แสดงอาการเจ็บป่วยออกมา แต่สามารถถ่ายทอดความผิดปกตินี้ไปสู่รุ่นลูกได้เช่นกัน โดยภาวะนี้จะก่อให้เกิดการสลายตัวของเซลล์เม็ดเลือดแดงเมื่อถูกกระตุ้นด้วยหลายปัจจัย เช่น การเผชิญภาวะติดเชื้อหรือภาวะเครียดรุนแรง การรับประทานอาหารบางชนิดอย่างถั่วปากอ้า และการได้รับสารเคมีบางชนิดอย่างลูกเหม็น เป็นต้นครับ

    นอกจากนี้ การใช้ยาบางชนิดอาจกระตุ้นให้ผู้ป่วยเกิดการสลายตัวของเซลล์เม็ดเลือดแดงได้ ดังนี้

     

    • ยากลุ่ม NSAIDs บางชนิด
    • ยาแอสไพริน
    • ยาปฏิชีวนะบางชนิด เช่น ยากลุ่มซัลฟา หรือไนโตรฟูแรนโทอิน เป็นต้น
    • ยาต้านมาเลเรียบางชนิด เช่น ควินิน หรือควินิดีน เป็นต้น