-
ประเมินความเสี่ยงโรคซึมเศร้าอยู่ในระดับความเสี่ยงปานกลาง ควรทำอย่างไรต่อ
-
Sep 11, 2018 at 05:40 AM
ช่วงนี้มีความรู้สึกไม่อยากทำอะไร ไม่รู้สึกสดชื่น ถอนใจบ่อย ขาดพลังในชีวิต งานที่ทำก็ทำได้ไม่เต็มที่ (ทำงานอิสระ) เรียงความสำคัญของงานไม่ได้ มีสมาธิกับสิ่งต่าง ๆ ได้ไม่นาน มีความจำระยะสั้นๆ ไม่ค่อยดี หลงลืมเป็นบางขณะ นอนหลับได้ยาก จะนอนได้อีกทีเมื่อถึงเช้า ตื่นมาอีกทีตอนบ่ายหรือบางครั้งนอนยาวข้ามไปช่วงเย็นเลย กินอาหารเพียงแค่วันล่ะ 1 มื้อ แต่กินในปริมาณมาก มีความรู้สึกไม่อยากมีส่วนร่วมกับสังคม อยากอยู่กับแต่คนที่สนิทหรือใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่คนเดียว มีความกังวลเรื่องความเป็นอยู่และรายได้ และที่สำคัญที่สุดตอนนี้คือ เป็นโรคเรื้อรังที่ยังรักษาไม่หาย (ขอสงวนชื่อโรค)
ได้ทำแบบประเมินความเสี่ยงโรคซึมเศร้าของกรมสุขภาพจิตแล้ว (Q2 และ Q9) มีความเสี่ยงในระดับปานกลาง (15 คะแนน) ไม่มีความคิดอยากทำร้ายตนเองหรือฆ่าตัวตาย (Q8) แต่มีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นโรคจิตเภท (F 25.0)
จึงอยากปรึกษาว่า ณ ขณะนี้ควรไปพบจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาเพื่อขอรับการบำบัดหรือไม่
Oct 03, 2018 at 09:20 AM
สวัสดีค่ะ
จากอาการที่เล่าร่วมกับผลทำแบบประเมินแล้วพบว่ามีความเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้าระดับปานกลาง ควรไปพบแพทย์หรือจิตแพทย์เบื้องต้นค่ะ เพื่อตรวจหาโรคอื่นเพิ่มเติมที่สามารถส่งผลให้มีอาการทางระบบประสาทได้ การรักษาภาวะซึมเศร้าแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย แต่เกิดจากการทำงานประสานกันระหว่างผู้ป่วย ครอบครัว นักจิตวิทยา แพทย์ หากจำเป็นต้องได้รับยาต้านซึมเศร้า แพทย์จะคำนึงถึงยาที่ต้องทานร่วมกันกับโรคเดิมที่เป็นอยู่ด้วยค่ะ หมอเป็นกำลังใจให้ค่ะ
-
ถามแพทย์
-
ประเมินความเสี่ยงโรคซึมเศร้าอยู่ในระดับความเสี่ยงปานกลาง ควรทำอย่างไรต่อ