ถามแพทย์

  • อายุ 40 ปี ผลตรวจเลือดพบค่าเม็ดเลือดแดงผิดปกติ และตรวจพบว่าเป็น homozygous Hb E เป็นพาหะหรือโรค

  •  yuvarin
    สมาชิก

     ตอนนี้อายุ 40ปี มีอาการเหนื่อยเลยไปพบหมอที่รพ. ปกติตรวจเลือดทุกปี มีลูกแล้วสองคนเป็นแฝด ตอนตั้งท้องหมอไม่ได้แจ้งความผิดปกติของเลือด ตอนนี้ลูกอายุ12ขวบ แฝด  แต่มาปีนี้หมอบอกมีความเสี่ยงเป็นพาหะ แต่ผลออกมาแบบนี้คือพาหะหรือโรคคะแล้วรายแร้งหรือไม่ต้องพาลูกทั้งสองไปตรวจหรือเปล่า 

    ผลเลือดค่ะ

    RBC=5.49 ,Hb=11.4 ,Hct=35.7 ,mcv=65.1 ,mch=20.8 ,mchc=31.9 , rdw=16.4

    hemoglobin typing  ce, hemoglobin type  EE, Hb a2 + Hb E=98 , HB F=1.4

    Interpretation   homozygous hb e with or without alpha - thaiassemia

     

    สวัสดีค่ะ คุณผู้ใช้งาน,

                        จากผลค่าความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด ที่ตรวจได้ค่า Hb  (Hemoglobin/Hgb) = 11.4 g/dl  ซึ่งถือว่าน้อยกว่าปกติเล็กน้อย โดยค่าที่ปกติในผู้ใหญ่เพศหญิงจะอยู่ที่ 12-15 g/dl ส่วนค่า Hct (Hematocrit) ค่าปกติในเพศหญิงจะอยู่ที่ 36%-48% ซึ่งหากตรวจได้ค่า 35.7 ถือว่าน้อยกว่าปกติเล็กน้อย

                       ค่า MCV คือค่าขนาดปริมาตรของเม็ดเลือดแดงโดยเฉลี่ย ค่าปกติ คือ 80-100 fl ค่า MCH คือปริมาณฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงโดยเฉลี่ย ค่าปกติคือ MCH คือ 27-33 pg ส่วนค่า MCHC คือค่าความเข้มข้นของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงเฉลี่ย ค่าปกติคือ MCHC 31 - 35 g/dl ซึ่งจากผล พบว่ามีค่า MCV และ MCH ที่น้อยกว่าปกติ

                       ดังนั้น จากผลการตรวจเม็ดเลือดแดง พบว่ามีภาวะโลหิตจางเล็กน้อย ซึ่งอาจเป็นผลมาจากการขาดธาตุเหล็กจากสาเหตุต่างๆ หรืออาจเป็นพาหะของธาลัสซีเีย

                       ทั้งนี้ หากได้ตรวจ Hb typing ซึ่งคือการตรวจดูฮีโมโกลบิน ที่เป็นโปรตีนที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของเม็ดเลือดแดง ซึ่งชนิดของ Hb ที่ปกติคือจะ เป็น Hb A (α2β2) ประมาณ 97%, Hb A2 (α2δ2) ประมาณ ~2.5% และ Hb F (α2ɣ2) ที่น้อยกว่า 1% ดังนั้น หากตรวจได้ค่าต่างไปจากนี้ แสดงว่ามีโปรตีนฮีโกลบินที่ผิดปกติ โดยหากตรวจพบ Hemoglobin E ได้ 98% แสดงว่าเป็น homozygous Hb E ดังที่ผลสรุปออกมาค่ะ  ซึ่งจะไม่ได้ทําให้เราเกิดอาการอะไร แต่เมื่อตรวจดูค่าเม็ดเลือดแดง อาจพบมีภาวะโลหิตจางเล็กน้อย และขนาดของเม็ดเลือดแดงเล็กลงตามผลที่ออกมาได้ ทั้งนี้ การเป็น homozygous Hb E ไม่ได้ถือเป็นโรค แต่อาจเป็นพาหะ และสืบทอดไปให้ลูกหลานต่อไปได้

                        สำหรับลูก 2 คนที่เป็นแฝดนั้น หากไม่ได้มีอาการอะไรผิดปกติ ก็แสดงว่าไม่ได้เป็นโรคธาลัสซีเมียเช่นกัน แต่อาจมีโอกาสได้รับยีนส์ที่ผิดปกติจากคุณแม่ และเป็นพาหะเช่นเดียวกับแม่ได้ค่ะ เพียงแต่ก็จะไม่ได้ส่งผลอะไรต่อสุขภาพน้องทั้ง 2 คน และไม่มีความจำเป็นต้องตรวจเลือดในตอนนี้ แต่หากในอนาคต น้องไปแต่งงานกับผู้หญิงที่เป็นพาหะธาลัสซีเมีย แล้วต้องการมีลูก ก็ต้องมีการตรวจเลือดทั้ง 2 ฝ่ายต่อไปค่ะ