ถามแพทย์

  • อายุ 14 ปี นอนไม่หลับ ปวดศีรษะ เก็บตัวมากขึ้น เวลาอยู่คนเดียวมักร้องไห้บ่อยๆ เป็นโรคอะไรหรือเปล่า

  • คือ..ตอนนี้หนู อายุ14ปีคะ..หนูชอบปวดหัวข้างเดียว..หนูชอบร้องไห้เวลาอยู่คนเดียว แต่เวลาอยู่กับคนอื่นหรือใครๆหนูก็เป็นคนเฮฮาปกติ..พูดมากจนเพื่อนย่น หัวเราะบ่อยเหมือนคนไม่เต็ม..แต่เวลาอยู่บ้านหนูชอยู่คนเดียวในห้อง เล่นมือถือบ้าง อ่านนิยายบ้าง อ่านหนังสือเรียนบ้าง จะไม่ชอบอยู่นอกห้อง...เวลาน้าบ่น(หนูไม่ได้อยู่กับพ่อแม่คะ..แต่พวกท่านยังไม่เสียไม่อย่าร้างน่ะคะ)หนูรู้สึกผิดมากเวลาน้าบ่นบางครั้งก็ทำร้ายวตัวเอง แต่หนูก็พยายามห้ามตัวเองน่ะคะ..ควบคุมอารมณ์ได้อยู่...แต่หลังๆมานี้ หนูมีอาการนอนไม่ค่อยหลับ ต้องกินยาตลอดคะ..น้ำหนักเพิ่มผิดปกติ กินเยอะมากคะ จากเดิมเป็นคนไม่ค่อยกินแต่ตอนนี้กอนหมดทุกอย่าง..ไม่มีสมาธิ เวลาเขียนงานชอบเขียนผิดตลอด..อารมณ์แปรปรวน...ตอนเเรกหนูสันนิษฐานว่าหนูติดนิยายหรือเปล่า..แต่หนูก็ลองไม่อ่านนิยายเดือนกว่าๆก็ไม่เห็นเป็นอะไรน่ะคะ...เกรดเฉลี่ยก็ตก..ทั้งๆที่ทำงานส่งครบตลอดน่ะคะ..หมอช่วยไห้คำแนะนำหน่อยได้ไหมคะ ว่าหนูควรทำยังไง😁ขอบคุณค่ะ
    จุฑารัตน์ ฯ.  พญ.นรมน
    สมาชิก

     สวัสดีค่ะคุณ จุฑารัตน์ ฯ.

    อาการปวดหัว นอนไม่หลับจากที่กล่าวมา น่าจะมีสาเหตุมาจากทางจิตใจได้มากกว่าทางกาย เนื่องจากมีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้มีอาการซึมเศร้าหรือเครียด

    ภาวะซึมเศร้าคือการที่มีความรู้สึกเศร้า เครียดจากเรื่องต่างๆในชีวิตไม่ว่าจะเป็นจากเรื่องส่วนตัว เรื่องในครอบครัว หรือการทำงาน ทำให้มีความรู้สึกไม่อยากจะทำอะไร ไม่อยากเข้าสังคม  คิดมาก ร้องไห้คนเดียว รู้สึกเบื่อต่อสภาพความเป็นอยู่ ซึ่งภาวะซึมเศร้าจริงๆแล้วเป็นภาวะที่เกิดได้กับคนทั่วไปในสภาวะที่ต้องเผชิญกับความเครียด ความกดดัน แต่ในคนทั่วไปจะค่อยๆดีขึ้นเองเมื่อเวลาผ่านไป จะไม่เป็นเรื้อรัง จนรบกวนชีวิตและการเรียน การทำงาน

    การวินิจฉัยว่าเป็นโรคซึมเศร้านั้น ก็คือมีภาวะซึมเศร้าติดต่อกันอย่างน้อย 2 อาทิตย์ขึ้นไป โดยไม่มีช่วงที่ดีขึ้นเลย มีความคิดอยากฆ่าตัวตาย อาจมีอาการเบื่ออาหาร หรือในบางรายก็จะไปรับประทานทานอาหารมากขึ้น น้ำหนักเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว นอนน้อยหรือนอนมากกว่าปกติ และเก็บตัวมากจนไม่ออกไปทำงาน ไม่ออกไปเข้าสังคม อันนี้จึงจะจัดว่าเป็นโรคซึมเศร้า

    แนะนำว่าถ้าอาการเป็นมาเรื้อรัง เป็นตลอดเกิน2 สัปดาห์ ควรพบแพทย์เพื่อตรวจประเมินหาสาเหตุเพิ่มเติม

    การรักษาหลักคือแก้ไขและลดปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดความเครียด พยายามหากิจกรรมที่ชอบทำเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจจากเรื่องเศร้า พูดคุยกับเพื่อนหรือคนในครอบครัวที่เราไว้ใจได้เพื่อระบายความทุกข์ ไม่เก็บตัวอยู่คนเดียวนานจนเกินไปเพราะจะทำให้ฟุ้งซ่านมากขึ้น