ถามแพทย์

  • มีความรุ้สึกน้อยใจเสียใจ หรืออยากร้องไห้แทรกเข้ามาบ่อยๆ จะเป็นโรคซึมเศร้าไหม

  •  Suthima Thathong
    สมาชิก
    ไม่รุู้ว่าตัวเองเป็นอะไรค่ะ เวลาที่อยู่เฉยๆหรือทำอะไรอยู่ก็ช่าง มันจะมีความรุ้สึกน้อยใจเสียใจ หรืออยากร้องไห้แทรกเข้ามา..เวลาเป็นจะรุ้สึกเหมือนตัวเบาๆเย็นๆข้างในจะรุ้สึกหวิวๆโล่งๆเหมือนแรงจะลดลง บางทีก็ร้องไห้ออกมาแต่ไม่รุ้ทำใมบางครั้งเหมือนเรี่ยวแรงก็หายไป บางทีก็หงุดหงิดตัวเองจนร้องไห้ออกมา บางทีก็รู้สึกรักใครบางคนมากๆคิดถึงอยากให้เค้ากอดจนน้ำตาไหล บางทีก็คิดว่าตัวเองไร้ประโยชน์ กลัวแต่ไม่รุ้ว่ากลัวอะไร บ่อยครั้งที่คิดถึงวันพรุ่งนี้หรืออนาคตแล้วน้ำตามักจะไหลเองเวลาอยู่เงียบๆก็จะมีภาพต่างๆลอยอยู่ในหัวบ้างก็ทำให้เครียดบ้างก็ทำให้ร้องไห้ แต่ความรุ้สึกพวกนี้จะมาแค่แปบเดียวแบบแทรกเข้ามาดื้อๆสักพักก็หายไปเป็นแบบนี้แทบจะทุกวัน เคยกรีดข้อมือ2ครั้งตบหน้าตัวเองกัดหยิก เพราะอยากให้ตัวเองหยุดร้องไห้และหายหงุดหงิด ไม่อยากออกจากบ้านไม่อยากไปไหน อาการแบบนี้หนูจะเป็นบ้ามั๊ยคะ

    สวัสดีค่ะ คุณ Suthima Thathong

       จากที่เล่ามา คิดว่า คุณ Suthima Thathong  มีภาวะทางอารมณ์ไม่ปกติ อาจมีภาวะเครียด หรืออาจมีภาวะโรคซึมเศร้าค่ะ  

    @ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจะมีอาการที่เปลี่ยนแปลงทั้งอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด ความจำ ความสัมพันธ์กับคนรอบข้างเปลี่ยนไป และอาการแสดงทางร่างกายต่างๆ โดยอาการอาจเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเป็นสัปดาห์ หรือค่อยเป็นค่อยไปเป็นก็ได้

    -อาการทางอารมณ์ เช่น เศร้า หดหู่ อ่อนไหว บางคนอาจมีความรู้สึกไม่แจ่มใส เบื่อหน่าย บางคนมีอาการหงุดหงิด ฉุนเฉียวได้

    -ความรู้สึกนึกคิด เช่น มองอะไรแย่หมด ท้อแท้หมดหวัง รู้สึกไร้ค่า ไร้ความสามารถ บางคนอาจมีอารมณ์ชั่ววูบอยากทำร้ายตนเอง

    -สมาธิความจำแย่ลง

    -ความสัมพันธ์กับคนรอบข้างเปลี่ยนไป อาจจะเก็บตัว ไม่ค่อยพูด ทำงานแย่ลง

    -อาการแสดงทางร่างกาย เช่น อ่อนเพลีย ไม่มีแรง นอบหลับๆตื่นๆ ไม่เจริญอาหาร น้ำหนักลด ท้องผูก ท้องอืด ปวดหัว ปวดตามตัว

    *คนไข้หากมีอาการมากขึ้น อาจมีอาการหลงผิด ประสาทหลอน หูแว่วได้

    *โรคซึมเศร้านี้ยังมีลักษณะอาการคล้ายโรคอื่นอีก เช่น โรควิตกกังวล โรคอารมณ์แปรปรวน โรคสมองอักเสบ โรคไทรอยด์ทำงานบกพร่อง เป็นต้น

    -การรักษา: ในรายที่เป็นมาก แพทย์จะให้ยาช่วย แต่บางรายที่เป็นไม่มากแพทย์อาจจะพูดคุยให้คำแนะนำเพื่อให้อาการดีขึ้น

    **ดังนั้นจึงแนะนำให้คุณ  Suthima Thathong ควรเล่าถึงภาวะทางอารมณ์ให้คนใกล้ชิดหรือคนในครอบครัวเพื่อให้อารมณ์ผ่อนคลายและช่วยแก้ไขปัญหานะคะ 

    หากอาการไม่ดีขึ้น ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม.  ขอเป็นกำลังใจให้นะคะ