ถามแพทย์

  • มีอาการชอบคิดเล็กคิดน้อย ทำให้ไม่สุขสบายใจ ร้องไห้บ่อยๆ หงุดหงิดง่าย เป็นโรคเครียดหรือเปล่า

  •  BB
    สมาชิก
    หนูมีอาการคิดเล็กคิดน้อยค่ะ ชอบตั้งคำถามเดิมๆในหัวทุกวัน ชอบเอาตัวเองไปเปรียบเทียบกับคนอื่น บางครั้งเหมือนมีความคิด2ด้านขัดๆกันในหัวค่ะ เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้ายในตัว เริ่มมีอาการช่วงมาเรียนมหาลัย มีอาการกัดเล็บตัวเอง แต่ก่อนหน้าไม่เคยเป็นนะคะ แล้วพอหนูรู้สึกว่าตัวเองกำลังจะกัดเล็บตัวเองก็จะพยามเอามือออก แล้วก็นอนหลับยากและตื่นยากค่ะ บางครั้งต้องกินยาที่ช่วยให้นอนหลับสบายและผ่อนคลาย คือหนูมาเรียนต่างจังหวัดคนเดียวซึ่งไม่ไกลจากที่บ้านมาก มีช่วงวันหยุดหนูกลับบ้านบ้าง แต่ส่วนมากจะไม่ได้กลับเพราะติดเรียน หนูมีแฟนบางครั้งก็อยากให้แฟนมาหาถ้าเขาบอกว่าไม่มาได้จะรู้สึกหงุดหงิดมากๆ ทุกครั้ง วันหยุดของพ่อหนูก็อยากให้พ่อแม่มาหาหนูบ้างแต่เขาก็ไม่มาก็รู้สึกว่าทำไมแค่นี้ถึงมาไม่ได้ บางทีเวลาแย่ไม่รู้จะพูดกับใครค่ะ ชอบนั่งหน้ากระจกนานๆเหมือนคนบ้าบางครั้งก็รู้สึกดีบางครั้งก็รู้สึกแย่ บางครั้งนั่งมองตัวเองก็ร้องไห้ไม่มีเหตุผล หงุดหงิดมากๆ หนูไม่รู้จะไปคุยกับใครหนูรู้สึกว่ามันเป็นเรื่องของหนูคงไม่มีใครเข้าใจดีไปกว่าตัวหนูเอง หนูไม่กล้าจะปรึกษาใครเวลาที่แย่มากๆ เมื่อก่อนไม่เคยคิดทำร้ายตัวเองเพราะคิดว่าตัวเองไม่น่าจะเป็นโรคซึมเศร้า ช่วงม.5-6 เคยเกริ่นเล่นๆกับแม่ว่าหนูเป็นโรคซึมเศร้าหรือป่าวแม่บอกว่าหนูคิดไปเอง ปัญญาอ่อนจะเอาไรมาซึมเศร้า หนูคิดอยากไปพบแพทย์แต่ก็ไม่กล้าไป ทุกครั้งที่รู้สึกแย่ก็ได้แค่ตบหน้าตัวเอง กัดตัวเอง ความรู้สึกมันก็ได้ขึ้น อากาศแบบนี้เรียกว่าภาวะโรคเครียดหรือป่าวคะ
    BB  พญ.นรมน
    แพทย์

     สวัสดีค่ะคุณ Benz Woranut

    อาการชอบคิดเล็กคิดน้อย ทำให้ไม่สุขสบายใจ ร้องไห้บ่อยๆ หงุดหงิดดังกล่าวมานั้น อาจจะเกิดจาก การเป็นคนคิดมาก มีอารมณ์เปลี่ยนแปลงหรืออ่อนไหวง่าย ซึ่งถูกกระตุ้นได้ด้วยความเครียดหรือปัญหาต่างๆในชีวิต หรืออาจเป็นภาวะความผิดปกติบางประเภทเช่นภาวะซึมเศร้า โรคซึมเศร้า การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์อย่างผิดปกติ

    ควรสังเกตอาการว่าเข้าข่ายโรคซึมเศร้าจากความเครียดหรือไม่เช่นมีพฤติกรรมเก็บตัว หดหู่ ไม่เข้าสังคม มีความคิดอยากทำร้ายตนเอง มีพฤติกรรมการกินและการนอนเปลี่ยนแปลง เป็นติดต่อกันเกิน 2 สัปดาห์ขึ้นไปต่อเนื่อง

    หากเข้าข่ายโรคซึมเศร้านั้น ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจเพิ่มเติม และรักษาในระยะยาวอย่างเหมาะสม เบื้องต้นพยายามพูดคุยกับผู้ที่ไว้ใจได้เพื่อระบายปัญหา หากิจกรรมที่ชอบทำเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจ