ปวดท้องประจำเดือน 4 วิธีรับมือและดูแลตนเองแบบธรรมชาติ

ปวดท้องประจำเดือน หรือที่เรียกกันว่าปวดท้องเมน คืออาการปวดหน่วงหรือปวดบีบบริเวณท้องน้อยขณะมีประจำเดือน ซึ่งมักทำให้ไม่สบายตัว รบกวนการใช้ชีวิตประจำวันและการนอนหลับ การเตรียมตัวรับมือตั้งแต่ช่วงก่อนมีประจำเดือนจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น เพื่อช่วยป้องกันปัญหาได้อย่างตรงจุดในระยะยาว และช่วยให้ใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างเต็มที่และมีความสุข

MenstrualCrampsInfo

การปวดประจำเดือนอาจเกิดจากร่างกายหลั่งฮอร์โมนที่ช่วยให้มดลูกบีบตัว ปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์ และปัจจัยสุขภาพอื่น ๆ โดยอาการปวดประจำเดือนอาจเกิดขึ้นก่อนมีรอบเดือนประมาณ 1–3 วันต่อเนื่องไปจนถึงช่วงมีประจำเดือน 

นอกจากอาการปวดบริเวณท้องน้อย บางคนอาจมีอาการคลื่นไส้ ท้องเสีย อ่อนเพลีย เวียนหัว และปวดหัวร่วมด้วย ซึ่งหลายคนอาจพึ่งการรับประทานยาแก้ปวดประจำเดือนที่หาซื้อได้เอง อย่างไรก็ดี วิธีนี้เป็นเพียงการบรรเทาอาการที่ปลายเหตุ และหากใช้เป็นประจำอาจเกิดผลข้างเคียงต่อสุขภาพได้

นอกจากการดูแลตัวเองด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ และผ่อนคลายความเครียด การเลือกรับประทานผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสมุนไพร เช่น ซุปไก่สกัดผสมตังกุยหรือแองเจลิกา (Angelica Sinensis) ซึ่งผสานคุณประโยชน์ของทั้งซุปไก่สกัด ตังกุย และสมุนไพรอื่น ๆ ไว้ในขวดเดียว อาจเป็นทางเลือกใหม่ที่ช่วยรับมืออาการปวดท้องประจำเดือนสำหรับผู้หญิงยุคใหม่ที่สนใจดูแลสุขภาพร่างกายและจิตใจในช่วงที่มีรอบเดือน

โดยมีผลการวิจัยพบว่า การดื่มซุปไก่สกัดผสมตังกุยในช่วงก่อนมีประจำเดือน อาจช่วยบรรเทาอาการปวดประจำเดือน และช่วยบำรุงเลือดอีกด้วย เพราะซุปไก่สกัดมีส่วนประกอบของกรดอะมิโนและคาร์โนซีน ซึ่งช่วยบรรเทาอาการเหนื่อยล้าทางร่างกายและจิตใจ รวมถึงอาการอ่อนเพลียในช่วงที่มีประจำเดือน ปรับสมดุลอารมณ์ และเสริมการทำงานของสมองและความจำ 

ส่วนสมุนไพรอย่างเช่นตังกุย ที่มีไลกัสติไลด์ (Ligustilide) กรดเฟอรูลิก และสารตามธรรมชาติที่มีคุณสมบัติคล้ายฮอร์โมนเพศหญิง หรือเอสโตรเจน มีส่วนช่วยบรรเทาอาการปวดท้องประจำเดือน ช่วยปรับระดับฮอร์โมนในร่างกาย และกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดให้เป็นไปตามปกติ

หากดูแลตัวเองด้วยวิธีที่แนะนำข้างต้น แต่ยังมีอาการปวดท้องประจำเดือนอย่างรุนแรงจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน หรือมีอาการผิดปกติอื่น เช่น ประจำเดือนมามากผิดปกติ และมีไข้ ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาต่อไป

เขียนโดย กองบรรณาธิการ POBPAD
อัพเดทล่าสุด 1 สิงหาคม 2567
ตรวจสอบความถูกต้องโดย กองบรรณาธิการทางการแพทย์ POBPAD