ยาสามัญประจำบ้าน คือ ชุดยาที่ใช้รักษา บรรเทา หรือป้องกันอาการบาดเจ็บหรือความเจ็บป่วยในเบื้องต้น เช่น ปวดศีรษะ ปวดท้อง ท้องเสีย ท้องผูก อาเจียน น้ำมูกไหล เมารถ เมาเรือ เป็นต้น ทุกคนนำมาใช้รักษาตัวเองหรือคนใกล้ชิดเองได้ แต่ละบ้านควรมีชุดยาสามัญไว้อย่างน้อย 1 ชุด ควรเก็บไว้ในที่ที่แห้ง หลีกเลี่ยงการโดนแสงแดดโดยตรง และสะดวกต่อการหยิบใช้
ยาสามัญประจำบ้านสามารถหาซื้อด้วยตัวเองได้ตามร้านขายยาทั่วไป โดยไม่จำเป็นต้องมีใบสั่งแพทย์ โดยฉลากยาจะมีคำว่า “ยาสามัญประจำบ้าน” ในกรอบสีเขียว มีขนาดตัวอักษรที่อ่านได้ชัดเจน และระบุคำว่า “ยาสิ้นอายุ” เพื่อแสดงวัน เดือน ปี พ.ศ. ที่ยาสิ้นอายุ ทั้งนี้ ควรหมั่นตรวจสอบยาสามัญประจำบ้านเป็นประจำ หากพบยาที่เสื่อมสภาพหรือหมดอายุควรเปลี่ยนยาเพื่อความพร้อมต่อการใช้งาน
ยาสามัญประจำบ้าน ยาที่ทุกบ้านควรมีติดไว้
ยาซึ่งเป็นยาแผนปัจจุบันที่กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดให้เป็นยาสามัญประจำบ้าน มีรายชื่อและรายละเอียดดังต่อไปนี้
ยาแก้ปวดท้อง ท้องอืด ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ
ยาลดกรดอะลูมินาแมกนีเซีย ชนิดเม็ด ช่วยบรรเทาอาการแสบร้อนกลางอก ลดกรดในกระเพาะอาหาร ท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นท้อง อาหารไม่ย่อย ภาวะกรดไหลย้อน รับประทานก่อนอาหารครึ่งชั่วโมงหรือหลังอาหาร 1 ชั่วโมง
ตัวยาสำคัญในสูตรตำรับ 1 เม็ด
- Aluminium Hydroxide 200-600 มิลลิกรัม
- Magnesium Hydroxide 200-400 มิลลิกรัม
ปริมาณการใช้ยา
- ผู้ใหญ่ รับประทานครั้งละ 1-4 เม็ด
- เด็กอายุ 6-12 ปี รับประทานครั้งละ 1-2 เม็ด
ยาลดกรดอะลูมินาแมกนีเซีย ชนิดน้ำ ช่วยบรรเทาอาการแสบร้อนกลางอก ลดกรดในกระเพาะอาหาร ท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นท้อง อาหารไม่ย่อย ภาวะกรดไหลย้อน รับประทานก่อนอาหารครึ่งชั่วโมงหรือหลังอาหาร 1 ชั่วโมง และควรเขย่าขวดทุกครั้งก่อนใช้ยา
ตัวยาสำคัญในสูตรตำรับ 5 มิลลิลิตร
- Aluminium Hydroxide 165-650 มิลลิกรัม
- Magnesium Hydroxide 103-500 มิลลิกรัม
ปริมาณการใช้ยา
- ผู้ใหญ่ รับประทานครั้งละ 1-4 ช้อนชา
- เด็กอายุ 6-12 ปี รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนชา
- เด็กอายุ 3-6 ปี รับประทานครั้งละ 1/2 -1 ช้อนชา
ยาแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ โซดามินท์ ชนิดเม็ด ช่วยลดกรดในกระเพาะอาหาร บรรเทาอาการแสบร้อนกลางอก จุกเสียด อาหารไม่ย่อย รับประทานหลังอาหาร 1 ชั่วโมง หรือเมื่อมีอาการ
ตัวยาสำคัญในสูตรตำรับ 1 เม็ด
- Sodium Bicarbonate 300 มิลลิกรัม
- Peppermint Oil 0.003 มิลลิลิตร
ปริมาณการใช้ยา
- ผู้ใหญ่ รับประทานครั้งละ 3-6 เม็ด
- เด็กอายุ 6-12 ปี รับประทานครั้งละ 1-3 เม็ด
ยาขับลม ชนิดน้ำ ช่วยบรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลมในกระเพาะอาหาร รับประทานวันละ 3-4 ครั้ง และควรเขย่าขวดทุกครั้งก่อนใช้ยา
ตัวยาสำคัญในสูตรสำรับ 15 มิลลิลิตร
- Capsicum Tincture 0.060-0.500 มิลลิลิตร
- Compound Cardamom Tincture 0.035-1.800 มิลลิลิตร
- Strong Ginger Tincture 0.024-0.240 มิลลิลิตร
ปริมาณการใช้ยา
- ผู้ใหญ่ รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนชา
- เด็กอายุ 6-12 ปี รับประทานครั้งละ 1/2 -1 ช้อนชา
ยาธาตุน้ำแดง ช่วยบรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลมในกระเพาะอาหาร รับประทานก่อนอาหารวันละ 3 ครั้ง และควรเขย่าขวดทุกครั้งก่อนใช้ยา
ตัวยาสำคัญในสูตรตำรับ 15 มิลลิลิตร
- Sodium Bicarbonate 0.15-0.60 กรัม
- Compound Rhubarb Tincture 0.50-2.00 มิลลิลิตร
ปริมาณการใช้ยา
- ผู้ใหญ่ รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนชา
- เด็กอายุ 6-12 ปี รับประทานครั้งละ 1/2-1 ช้อนชา
ยาทาแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ทิงเจอร์มหาหิงค์ ช่วยบรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อในเด็ก
ตัวยาสำคัญ
- Asafetida 20 % น้ำหนักต่อปริมาตร
ปริมาณการใช้ยา
- ทาบาง ๆ ที่หน้าท้อง วันละ 2-3 ครั้ง
ยาแก้ท้องเสีย
- ผงน้ำตาลเกลือแร่ ช่วยทดแทนการเสียน้ำจากอาการท้องเสียหรืออาเจียน และภาวะขาดน้ำ ผสมผงน้ำตาลเกลือแร่ 1 ซองกับน้ำสะอาด 250 มิลลิลิตร (1 แก้ว) ดื่มมาก ๆ เมื่อมีอาการท้องเสีย และดื่มทีละน้อยเมื่อมีอาการอาเจียน
ตัวยาสำคัญในสูตรตำรับ 1 ซอง
- Sodium Chloride 0.875 กรัม
- Sodium Bicarbonate 0.625 กรัม
- Potassium Chloride 0.375 กรัม
- Glucose Anhydrous 5.000 กรัม
ปริมาณการใช้ยา
- ผู้ใหญ่และเด็กอายุตั้ง 2 ปีขึ้นไป ดื่มสารละลายเกลือแร่ 1 แก้ว ต่อการถ่ายอุจจาระ 1 ครั้ง หรือเมื่อกระหายน้ำ
- เด็กอ่อน-เด็กที่มีอายุ 2 ปี ดื่มทีละน้อยสลับกับดื่มนำเปล่าประมาณวันละ 3 ซอง จนกว่าอาการจะดีขึ้น
ยาระบาย
ยาระบายกลีเซอรีน ชนิดเหน็บทวาร ช่วยบรรเทาอาการท้องผูก กระตุ้นการขับถ่าย ใช้ได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่
ตัวยาสำคัญในสูตรตำรับ 1 แท่ง
- Glycerin 91 % น้ำหนักต่อน้ำหนัก
ปริมาณการใช้ยา
- เหน็บทวารครั้งละ 1 แท่ง และรอให้ยาละลายตัวประมาณ 15 นาที
ยาระบายแมกนีเซีย ชนิดน้ำ ช่วยบรรเทาอาการท้องผูก กระตุ้นการขับถ่าย ใช้รับประทานก่อนเข้านอนหรือหลังตื่นนอนตอนเช้า
ตัวยาสำคัญในสูตรสำรับ 15 มิลลิลิตร
- Magnesium Hydroxide 1.2 กรัม
ปริมาณการใช้ยา
- ผู้ใหญ่ รับประทานครั้งละ 30-45 มิลลิลิตร (2-3 ช้อนโต้ะ)
- เด็กที่มีอายุ 6-12 ปี รับประทานครั้งละ 15-30 มิลลิลิตร (1-2 ช้อนโต้ะ)
- เด็กที่มีอายุ 1-6 ปี รับประทานครั้งละ 5-15 มิลลิลิตร (1-3 ช้อนชา)
ยาระบายมะขามแขก ชนิดเม็ด ช่วยบรรเทาอาการท้องผูก กระตุ้นการขับถ่าย ใช้รับประทานก่อนเข้านอนหรือหลังตื่นนอนตอนเช้า
ตัวยาสำคัญในสูตรตำรับ 1 เม็ด
- ฝักมะขามแขกเอาเมล็ดออก ซึ่งมีปริมาณ Sennosidesเทียบเท่ากับ Sennoside B 7.5 มิลลิกรัม
ปริมาณการใช้ยา
- ผู้ใหญ่ รับประทานยาระบายมะขามแขกครั้งละ 3-4 เม็ด
- เด็กอายุ 6-12 ปี รับประทานครั้งละ 1-2 เม็ด
ยาระบายโซเดียมคลอไรด์ ชนิดสวนทวาร ช่วยบรรเทาอาการท้องผูก กระตุ้นการขับถ่าย โดยสวนเข้าทางทวารหนัก และกลั้นไว้จนทนไม่ไหวจึงไปเข้าห้องน้ำ
ตัวยาสำคัญ
- Sodium Chloride 15 % น้ำหนักต่อปริมาตร
ปริมาณการใช้ยา
- ผู้ใหญ่ ใช้ครั้งละ 20-40 มิลลิลิตร
- เด็กอายุ 6-12 ปี ใช้ครั้งละ 10-20 มิลลิลิตร
- เด็กอายุ 1-6 ปี ใช้ครั้งละ 5-10 มิลลิลิตร
ยาถ่ายพยาธิ
ยาถ่ายพยาธิตัวกลม มีเบนดาโซล ช่วยถ่ายพยาธิได้หลายชนิด เช่น พยาธิเส้นด้าย พยาธิเข็มหมุด พยาธิปากขอ พยาธิไส้เดือน และพยาธิแส้ม้า
ตัวยาสำคัญในสูตรตำรับ 1 เม็ด
- Mebendazole 100 มิลลิกรัม
ปริมาณการใช้ยา
- พยาธิเส้นด้ายและพยาธิเข็มหมุด ผู้ใหญ่และเด็กอายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป รับประทานครั้งละ 1 เม็ด เคี้ยวให้ละเอียดก่อนกลืน หลังอาหารเย็น 1 ครั้ง
- พยาธิปากขอ พยาธิไส้เดือน และพยาธิแส้ม้า ผู้ใหญ่และเด็กอายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป รับประทานครั้งละ 1 เม็ด เคี้ยวให้ละเอียดก่อนกลืน หลังอาหารเช้าและเย็น ติดต่อกันเป็นเวลา 3 วัน อาจรับประทานซ้ำอีก 1 เม็ด เป็นเวลา 2 สัปดาห์หลังจากการรักษาในครั้งแรก
ยาบรรเทาอาการปวด ลดไข้
แอสไพริน ช่วยบรรเทาอาการปวด ลดไข้ โดยรับประทานหลังอาหารทันที หรือรับประทานทุก 4-6 ชั่วโมงเมื่อมีอาการแล้วดื่มน้ำตามมาก ๆ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้ยาในเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี เพราะอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ เช่น กลุ่มอาการไรย์ซินโดรม (Reye's Syndrome) ซึ่งจะทำให้เกิดอาการบวมที่ตับและสมอง อาเจียน อ่อนเพลีย ชัก และหมดสติ
ตัวยาสำคัญในสูตรตำรับ 1 เม็ด
- Aspirin 325 มิลลิกรัม
ปริมาณการใช้ยา
- ผู้ใหญ่ รับประทานครั้งละ 1-2 เม็ด
พาราเซตามอล ช่วยบรรเทาอาการปวด ลดไข้ โดยรับประทานทุก 4-6 ชั่วโมงเมื่อมีอาการ
ชนิดเม็ด 500 มิลลิกรัม
ตัวยาสำคัญในสูตรตำรับ 1 เม็ด
- Paracetamol 500 มิลลิกรัม
ปริมาณการใช้ยา
- ผู้ใหญ่ รับประทานครั้งละ 1-2 เม็ด
- เด็กอายุ 6-12 ปี รับประทานครั้งละ 1/2-1 เม็ด
ชนิดเม็ด 325 มิลลิกรัม
ตัวยาสำคัญในสูตรตำรับ 1 เม็ด
- Paracetamol 325 มิลลิกรัม
ปริมาณการใช้ยา
- ผู้ใหญ่ รับประทานครั้งละ 2 เม็ด
- เด็กอายุ 6-12 ปี รับประทานครั้งละ 1 เม็ด
- เด็กอายุ 3-6 ปี รับประทานครั้งละ 1/2 เม็ด
พลาสเตอร์บรรเทาอาการปวด ช่วยบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ โดยทำความสะอาดที่บริเวณผิวหนังให้สะอาดและเช็ดให้แห้งก่อนปิดพลาสเตอร์ตรงบริเวณที่มีอาการปวด ควรเปลี่ยนวันละ 1-2 ครั้ง
ตัวยาสำคัญ
- Borneol 0.21-1.00 % น้ำหนักต่อน้ำหนัก
- Camphor 1.00-2.80 % น้ำหนักต่อน้ำหนัก
- Caoutchouc 30.00 % น้ำหนักต่อน้ำหนัก
- Ethylene Glycol Salicylate 2.00-6.00 % น้ำหนักต่อน้ำหนัก
- Eucalyptus Oil 0.50 % น้ำหนักต่อน้ำหนัก
- Menthol 0.30-6.49 % น้ำหนักต่อน้ำหนัก
- Methyl Salicylate 0.14-6.00 % น้ำหนักต่อน้ำหนัก
- Peppermint Oil 0.50-2.00 % น้ำหนักต่อน้ำหนัก
- Thymol 0.14-0.50 % น้ำหนักต่อน้ำหนัก
- Capsaicin Extract 0.65 % น้ำหนักต่อน้ำหนัก
- Polybutene 12.00 % น้ำหนักต่อน้ำหนัก
- Capsicum Powder 11.00 % น้ำหนักต่อน้ำหนัก
- Capsicum Oleoresin 3.00-11.00 % น้ำหนักต่อน้ำหนัก
- และ/หรือ Zinc Oxide 14.00-22.00 % น้ำหนักต่อน้ำหนัก
ยาแก้แพ้ ลดน้ำมูก
ยาแก้แพ้ ลดน้ำมูกคลอร์เฟนิรามีน ช่วยบรรเทาอาการจากหวัด จาม น้ำมูกไหล อาการคัน ลมพิษ ภูมิแพ้ โดยรับประทานทุก 4-6 ชั่วโมงเมื่อมีอาการ
ตัวยาสำคัญในสูตรตำรับ 1 เม็ด
- Chlorpheniramine Maleate 2 มิลลิกรัม
ปริมาณการใช้ยา
- ผู้ใหญ่ รับประทานครั้งละ 1-2 เม็ด สูงสุดไม่เกินวันละ 12 เม็ด
- เด็กอายุ 6-12 ปี รับประทานครั้งละ 1 เม็ด สูงสุดไม่เกินวันละ 6 เม็ด
ยาแก้ไอ ขับเสมหะ
ยาแก้ไอ สำหรับเด็ก ช่วยบรรเทาอาการไอ ขับเสมหะ รับประทานวันละ 3-4 ครั้ง และเขย่าขวดทุกครั้งก่อนการใช้ยา
ตัวยาสำคัญในสูตรตำรับ 5 มิลลิลิตร
- Ammonium Carbonate 0.02 กรัม
- Glycyrrhiza Fluidextract 0.25 มิลลิลิตร
ปริมาณการใช้ยา
- เด็กอายุ 6-12 ปี รับประทานครั้งละ 10 มิลลิลิตร (2 ช้อนชา)
- เด็กอายุ 3-6 ปี รับประทานครั้งละ 5 มิลลิลิตร (1 ช้อนชา)
- เด็กอายุ 1-3 ปี รับประทานครั้งละ 2.5 มิลลิลิตร (1/2 ช้อนชา)
ยาแก้ไอน้ำดำ ช่วยบรรเทาอาการไอ ขับเสมหะ รับประทานวันละ 3-4 ครั้ง และเขย่าขวดทุกครั้งก่อนการใช้ยา
ตัวยาสำคัญในสูตรตำรับ 5 มิลลิลิตร
- Glycyrrhiza Fluidextract 0.6 มิลลิลิตร
- Antimony Potassium Tartrate 1.2-2.0 มิลลิกรัม
- Camphorated Opium Tincture 0.6 มิลลิลิตร
ปริมาณการใช้ยา
- ผู้ใหญ่ รับประทานครั้งละ 5-10 มิลลิลิตร (1-2 ช้อนชา)
- เด็กอายุ 6-12 ปี รับประทานครั้งละ 2.5-5 มิลลิลิตร (1/2-1 ช้อนชา)
ยาดมหรือยาทาแก้วิงเวียน หน้ามืด คัดจมูก
ยาดมแก้วิงเวียน เหล้าแอมโมเนีย ช่วยบรรเทาอาการวิงเวียนศีรษะ หน้ามืด คล้ายจะเป็นลม หรือทาบริเวณผิวหนังเพื่อบรรเทาอาการจากพิษของพืชหรือแมลงกัดต่อย โดยใช้สำลีชุบและดมหรือทา
ตัวยาสำคัญ
- Ammonium Carbonate 3.40 % น้ำหนักต่อปริมาตร
- Strong Ammonia Solution 3.60-6.75 % น้ำหนักต่อปริมาตร
ยาดมแก้วิงเวียน แก้คัดจมูก ช่วยบรรเทาอาการวิงเวียนศีรษะ คัดจมูก และหายใจไม่ออก
ตัวยาสำคัญ
- Menthol 0.07-77.90 % น้ำหนักต่อปริมาตร
- Camphor 0.45-42.00 % น้ำหนักต่อปริมาตร
- Methyl Salicylate 3.00-15.00 % น้ำหนักต่อปริมาตร
- Anise Oil 0.68 % ปริมาตรต่อปริมาตร
- Burgamot Oil 0.50-0.68 % ปริมาตรต่อปริมาตร
- Cajuput Oil 0.50-11.00 % ปริมาตรต่อปริมาตร
- Cassia Oil 0.50 % น้ำหนักต่อปริมาตร
- Clove Oil 1.25 % ปริมาตรต่อปริมาตร
- Dwarf-Pine Needle Oil 1.00 % น้ำหนักต่อปริมาตร
- Eucalyptus Oil 1.50-23.00 % ปริมาตรต่อปริมาตร
- Lavender Oil 4.69-8.00 % ปริมาตรต่อปริมาตร
- Peppermint Oil 2.20-10.38 % ปริมาตรต่อปริมาตร
- Sage Oil 6.00 % น้ำหนักต่อปริมาตร
- Sassafras Oil 5.00 % น้ำหนักต่อปริมาตร
- Turpentine Oil 0.71-8.00 % น้ำหนักต่อปริมาตร
- Capsicum Tincture 4.00-8.00 % ปริมาตรต่อปริมาตร
- Myrrh Tincture 1.00 % น้ำหนักต่อปริมาตร
- Ratanghia Tincture 0.40 % ปริมาตรต่อปริมาตร
- Terpinol 3.33 % ปริมาตรต่อปริมาตร
- Thymol 0.10 % น้ำหนักต่อปริมาตร
- Camphor Spirit 3.00 % ปริมาตรต่อปริมาตร
- Borneo Camphor 9.00 % น้ำหนักต่อปริมาตร
- Bornyl Acetate 0.42 % น้ำหนักต่อปริมาตร
- Linalyl Acetate 0.47 % น้ำหนักต่อปริมาตร
- Phenyl Salicylate 0.60 % น้ำหนักต่อปริมาตร
- Standard Chamomile Extract 10.00 % น้ำหนักต่อปริมาตร
ปริมาณการใช้ยา
- สูดดม หรือทาบาง ๆ ที่หน้าอกและลำคอ
ยาทาระเหยบรรเทาอาการคัดจมูกชนิดขี้ผึ้ง ช่วยบรรเทาอาการหวัดและคัดจมูก
ตัวยาสำคัญ
- Menthol 1.35-3.00 % น้ำหนักต่อน้ำหนัก
- Camphor 3.00-9.00 % น้ำหนักต่อน้ำหนัก
- Cajuput Oil 3.00 % น้ำหนักต่อน้ำหนัก
- Eucualyptus Oil 0.08-5.00 % น้ำหนักต่อน้ำหนัก
- Terpentine Oil 4.68-5.00 % น้ำหนักต่อน้ำหนัก
ปริมาณการใช้ยา
- ทายาที่บริเวณลำคอ หน้าอก และหลัง
ยาแก้เมารถ เมาเรือ
ยาแก้เมารถเมาเรือ ไดเมนไฮดริเนท ชนิดเม็ด ช่วยบรรเทาและป้องกันอาการวิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน หรือภาวะป่วยที่อาจเกิดจากการเดินทาง เช่น เมารถ หรือเมาเรือ
ตัวยาสำคัญในสูตรตำรับ 1 เม็ด
- Dimenhydrinate 50 มิลลิกรัม
ปริมาณการใช้ยา
- ผู้ใหญ่ รับประทานครั้งละ 1 เม็ด ก่อนออกเดินทางอย่างน้อยประมาณครึ่งชั่วโมง
ยาสำหรับโรคตา
ยาหยอดตา ซัลฟาเซตาไมด์ ช่วยรักษาอาการตาแดง ตาอักเสบ
ตัวยาสำคัญ
- Sulfacetamide Sodium 10 % น้ำหนักต่อปริมาตร
ปริมาณการใช้ยา
- หยอดครั้งละ 1-2 หยด วันละ 3-4 ครั้ง
ยาล้างตา ช่วยบรรเทาอาการแสบตา ระคายเคืองตา จากฝุ่น ผง ควัน หรือสิ่งสกปรกเข้าตา
ตัวยาสำคัญ
- Sodium Chloride
ปริมาณการใช้ยา
- ใช้ล้างตาวันละ 2-3 ครั้ง
ยาสำหรับโรคปากและลำคอ
ยากวาดคอ ช่วยบรรเทาอาการอักเสบ และเจ็บในลำคอในผู้ใหญ่
ตัวยาสำคัญ
- Potassium Iodide 2.50 กรัม
- Iodine 1.25 กรัม
- Ethyl Alcohol (90%) 4.00 มิลลิลิตร
- Purified Water 2.50 มิลลิลิตร
- Peppermint Oil 0.40 มิลลิลิตร
- Glycerin 100 มิลลิลิตร
ปริมาณการใช้ยา
- เติมน้ำสะอาดปริมาณ 2 เท่าของตัวยา ผสมกันแล้วใช้กวาดคอ
ยารักษาลิ้นเป็นฝ้า เยนเชี่ยนไวโอเลต ช่วยรักษาการติดเชื้อจากเชื้อราที่ผิวหนัง เช่น กลาก น้ำกัดเท้า เชื้อราในช่องปาก เชื้อราในช่องคลอด ฝี มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียบางชนิด โรคฝ้าขาวในช่องปาก และใช้ป้องกันการติดเชื้อทางผิวหนังในบาดแผลขนาดเล็ก
ตัวยาสำคัญ
- Gentian Violet 1 % น้ำหนักต่อปริมาตร
ปริมาณการใช้ยา
- ใช้สำลีหรือไม้พันสำลีแต้มยาแล้วทาบริเวณที่มีอาการวันละ 2-3 ครั้ง
ยาแก้ปวดฟัน ช่วยบรรเทาอาการปวดฟัน
ตัวยาสำคัญ
- Chlorobutanol 25 กรัม
- Clove Oil 100 มิลลิลิตร
ปริมาณการใช้ยา
- ใช้ไม้พันสำลีชุบยาแล้วอุดฟันตรงที่เป็นรูหรือมีอาการปวด
ยาอมบรรเทาอาการระคายคอ ช่วยบรรเทาอาการระคายคอ และทำให้ชุ่มคอ
ตัวยาสำคัญ
- Abietis Pine Oil 0.30 % ปริมาตรต่อน้ำหนัก
- Anise Oil 0.25 % น้ำหนักต่อน้ำหนัก
- Borneol 1.66-2.00 % น้ำหนักต่อน้ำหนัก
- Cinnamon Oil 0.35 % น้ำหนักต่อน้ำหนัก
- Creosote 0.20 % ปริมาตรต่อน้ำหนัก
- Eucalyptus Oil 0.15-0.16 % น้ำหนักต่อน้ำหนัก
- Lemon Oil 0.30-0.52 % ปริมาตรต่อน้ำหนัก
- Menthol 0.06-5.00 % น้ำหนักต่อน้ำหนัก
- Peppermint Oil 0.19-3.33 % น้ำหนักต่อน้ำหนัก
- Sylvestris Pine Oil 0.30 % ปริมาตรต่อน้ำหนัก
- Licorice Extract 7.31-16.67 % น้ำหนักต่อน้ำหนัก
- Tincture Capsicum 0.02 % น้ำหนักต่อน้ำหนัก
- Amomum 1.00-4.00 % น้ำหนักต่อน้ำหนัก
- Aniseed 2.00 % น้ำหนักต่อน้ำหนัก
- Catechu 8.33-38.00 % น้ำหนักต่อน้ำหนัก
- Cinnamon 2.00-10.00 % น้ำหนักต่อน้ำหนัก
- Clove 0.67-4.00 % น้ำหนักต่อน้ำหนัก
- Costus 0.67 % น้ำหนักต่อน้ำหนัก
- Fennel 1.67-2.00 % น้ำหนักต่อน้ำหนัก
- Ginger 2.00-8.00 % น้ำหนักต่อน้ำหนัก
- Licorice 26.67-71.38 % น้ำหนักต่อน้ำหนัก
- Saffron 2.00 % น้ำหนักต่อน้ำหนัก
- Saussurea 1.00-3.00 % น้ำหนักต่อน้ำหนัก
- Silver Leaf 0.93 % น้ำหนักต่อน้ำหนัก
- และ/หรือ Honey 1.50-2.40 % น้ำหนักต่อน้ำหนัก
ปริมาณการใช้ยา
- อมให้ละลายช้า ๆ ครั้งละ 1-5 เม็ด
ยาอมบรรเทาอาการเจ็บคอ ช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอ
ตัวยาสำคัญในสูตรตำรับ 1 เม็ด
- Amylmetacresol ไม่เกิน 0.6 มิลลิกรัม
- 2,4 Dichloro Benzyl Alcohol ไม่เกิน 1.2 มิลลิกรัม
- และอาจมี Ascorbic acid ไม่เกิน 100 มิลลิกรัม
ปริมาณการใช้ยา
- ผู้ใหญ่และเด็กอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป อมครั้งละ 1 เม็ด ให้ละลายช้า ๆ ในปาก ทุก 2-3 ชั่วโมง
ยาใส่แผลและล้างแผล
ยาใส่แผลทิงเจอร์ไอโอดีน ช่วยรักษาแผลสด
ตัวยาสำคัญ
- Iodine 2.0-2.5 % น้ำหนักต่อปริมาตร
- Potassium Iodide 2.4-2.5 % น้ำหนักต่อปริมาตร
ปริมาณการใช้ยา
- ใช้สำลีหรือไม้พันสำลีชุบยาแล้วทาที่บริเวณแผล
ยาใส่แผลทิงเจอร์ไทเมอรอซอล ช่วยรักษาแผลสด
ตัวยาสำคัญ
- Thimerosal 0.1 % น้ำหนักต่อปริมาตร
ปริมาณการใช้ยา
- ใช้สำลีหรือไม้พันสำลีชุบยาแล้วทาที่บริเวณแผล
ยาใส่แผลโพวิโดนไอโอดีน ช่วยรักษาแผลสด
ตัวยาสำคัญ
- Povidone-lodine 10 % น้ำหนักต่อปริมาตร
- Eqivalent to lodine 1 % น้ำหนักต่อปริมาตร
ปริมาณการใช้ยา
- ใช้สำลีหรือไม้พันสำลีชุบยาแล้วทาที่บริเวณแผล
ยาไอโซโพรพิลแอกกอฮอล์ ช่วยทำความสะอาดบาดแผล
ตัวยาสำคัญ
- Isopropyl Alcohol Solution 70 % ปริมาตรต่อปริมาตร
ปริมาณการใช้ยา
- ใช้สำลีหรือไม้พันสำลีชุบยาแล้วทำความสะอาดที่บริเวณรอบ ๆ บาดแผล
ยาเอทิลแอลกอฮอล์ ช่วยทำความสะอาดบาดแผล
ตัวยาสำคัญ
- Ethyl Alcohol Solution 70 % ปริมาตรต่อปริมาตร
ปริมาณการใช้ยา
- ใช้สำลีหรือไม้พันสำลีชุบยาแล้วทำความสะอาดที่บริเวณรอบ ๆ บาดแผล
น้ำเกลือล้างแผล ช่วยทำความสะอาดบาดแผล
ตัวยาสำคัญ
- Sodium Chloride 0.9 % น้ำหนักต่อปริมาตร
ปริมาณการใช้ยา
- ใช้สำลีหรือไม้พันสำลีชุบยาแล้วทำความสะอาดที่บริเวณบาดแผล
ยาบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ แมลงกัดต่อย
ยาหม่องชนิดขี้ผึ้ง ช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อกล้ามเนื้อ หรืออาการปวด บวม อักเสบ จากแมลงกัดต่อย
ตัวยาสำคัญ
- Methyl Salicylate 1.14-50.00 % น้ำหนักต่อน้ำหนัก
- Camphor 1.76-25.00 % น้ำหนักต่อน้ำหนัก
- Menthol 3.00-20.00 % น้ำหนักต่อน้ำหนัก
- Cinnamon Oil 1.00-2.40 % น้ำหนักต่อน้ำหนัก
- Clove Oil 0.50-5.00 % ปริมาตรต่อน้ำหนัก
- Eucalyptus Oil 1.50-13.70 % ปริมาตรต่อน้ำหนัก
- Peppermint Oil 0.70-16.00 % น้ำหนักต่อน้ำหนัก
- Terpentine Oil 2.00-3.80 % ปริมาตรต่อน้ำหนัก
- Capsicum Tincture 0.80-8.00 % ปริมาตรต่อปริมาตร
- Colophony 2.51 % ปริมาตรต่อน้ำหนัก
ปริมาณการใช้ยา
- ทาหรือนวดบริเวณที่มีอาการ
ยาสำหรับโรคผิวหนัง
ยารักษาหิด เหา เบนซิล เบนโซเอต ช่วยรักษาโรคผิวหนัง ได้แก่ หิด เหา และโลน
ตัวยาสำคัญ
- Benzyl Benzoate 25 % น้ำหนักต่อปริมาตร
ปริมาณการใช้ยา
- หิด อาบน้ำให้สะอาดและใช้ผ้าหรือแปรงอ่อน ๆ ถูบริเวณที่มีอาการคัน ทายาทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง ใช้อีกครั้งวันต่อมา
- เหาและโลน ใส่ยาให้ทั่งบริเวณที่มีเหาหรือโลน ทิ้งไว้ 1 วันแล้วจึงทำควมสะอาด หากเป็นมากให้ใช้ยา 2 ครั้งต่อวัน ตรวจดูอาการเมื่อครบ 7 วัน หากยังไม่หาย ให้ทำซ้ำวิธีเดิม
ยารักษาหิด ขี้ผึ้งกำมะถัน ช่วยรักษาโรคหิด
ตัวยาสำคัญ
- Sublimed Sulphur 10 % น้ำหนักต่อน้ำหนัก
ปริมาณการใช้ยา
- ทายาบริเวณที่มีอาการวันละ 2-3 ครั้ง
ยารักษากลากเกลื้อน น้ำกัดเท้า ช่วยรักษากลากเกลื้อน น้ำกัดเท้า
ตัวยาสำคัญ
- Benzoic Acid 2.5-6.5 % น้ำหนักต่อน้ำหนัก
- Salicylic Acid 3.0-5.0 % น้ำหนักต่อน้ำหนัก
ปริมาณการใช้ยา
- ทายาบริเวณที่มีอาการวันละ 2-3 ครั้ง
ยารักษาโรคผิวหนังเรื้อรัง ช่วยรักษาโรคผิวหนังเรื้อรังบางชนิด เช่น เรื้อนกวาง หรือผิวหนังที่เป็นผื่นคัน
ตัวยาสำคัญ
- Coal Tar 1 % น้ำหนักต่อน้ำหนัก
ปริมาณการใช้ยา
- ทายาบริเวณที่มีอาการวันละ 2-3 ครั้ง
ยาทาแก้ผดผื่น คาลาไมน์ ช่วยบรรเทาอาการระคายเคืองของผิวหนังในระดับเล็กน้อย เช่น อาการคัน ปวด ไม่สบายผิว ผื่น ผื่นแพ้พิษพืช ลมพิษ แพ้สารเคมีและเครื่องสำอาง ผิวไหม้หลังจากตากแดด แมลงกัดต่อย
ตัวยาสำคัญ
- Calamine 8-15 % น้ำหนักต่อปริมาตร
- Zinc Oxide 3-12 % น้ำหนักต่อปริมาตร
ปริมาณการใช้ยา
- ทาในบริเวณที่มีอาการวันละ 3-4 ครั้ง และควรเขย่าขวดทุกครั้งก่อนใช้ยา
ยารักษาเกลื้อน โซเดียม ไทโอซัลเฟต ช่วยรักษาเกลื้อน
ตัวยาสำคัญ
- Sodium Thiosulfate 100 % น้ำหนักต่อน้ำหนัก
ปริมาณการใช้ยา
- เติมน้ำสะอาดและเขย่าขวดให้ตัวยาละลาย ใช้ทาผิวหนังบริเวณที่เป็นเกลื้อน หลังอาบน้ำ หรือวันละหลายครั้ง
ยาบำรุงร่างกาย
วิตามินบีรวม ช่วยบำรุงและเสริมสร้างการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย และป้องกันการขาดวิตามินบี โดยรับประทานหลังอาหารวันละ 1 ครั้ง
ตัวยาสำคัญในสูตรตำรับ 1 เม็ด
- Thiamine Hydrochloride หรือ Thiamine Mononitrate 5 มิลลิกรัม
- Pyridoxine Hydrochloride 2 มิลลิกรัม
- Riboflavine 2 มิลลิกรัม
- Nicotinamide 20 มิลลิกรัม
ปริมาณการใช้ยา
- ผู้ใหญ่ รับประทานครั้งละ 1-2 เม็ด
- เด็กอายุ 6-12 ปี รับประทานครั้งละ 1 เม็ด
วิตามินซี ช่วยบำรุงและซ่อมแซมส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น กระดูก ฟัน และผิวหนัง และป้องกันการขาดวิตามินซี โดยรับประทานวันละ 1 ครั้ง
ตัวยาสำคัญในสูตรตำรับ 1 เม็ด
- Ascorbic Acid 100 มิลลิกรัม
ปริมาณการใช้ยา
- ผู้ใหญ่ รับประทานครั้งละ 1-2 เม็ด
- เด็กที่มีอายุ 6-12 ปี รับประทานครั้งละ 1 เม็ด
ยาบำรุงโลหิต เฟอร์รัสซัลเฟต ช่วยรักษาโรคโลหิตจางเนื่องจากขาดธาตุเหล็กในผู้ใหญ่
ตัวยาสำคัญในสูตรตำรับ 1 เม็ด
- Ferrous Sulfate เทียบเท่ากับ Iron 60 มิลลิกรัม
ปริมาณการใช้ยา
- ผู้ใหญ่ รับประทานหลังอาหารครั้งละ 1-2 เม็ด วันละ 3 ครั้ง
วิตามินรวม ช่วยป้องกันการขาดวิตามินในผู้ใหญ่
ตัวยาสำคัญในสูตรตำรับ 1 เม็ด
- Vitamin A 2,500 หน่วยสากล
- Vitamin D 300 หน่วยสากล
- Vitamin C 15.00 มิลลิกรัม
- Vitamin B1 Mononitrate 1.00 มิลลิกรัม
- Vitamin B2 0.50 มิลลิกรัม
- Nicotinamide 7.50 มิลลิกรัม
ปริมาณการใช้ยา
- ผู้ใหญ่ รับประทานวันละ 1 เม็ด
น้ำมันตับปลา ช่วยป้องกันการขาดวิตามินเอและวิตามินดี
ตัวยาสำคัญในสูตรตำรับ 1 เม็ด
- Cod Liver Oil เทียบเท่ากับ
- Vitamin A ไม่เกิน 4,000 หน่วยสากล
- Vitamin D ไม่เกิน 300 หน่วยสากล
ปริมาณการใช้ยา
- ชนิดแคปซูล
- ผู้ใหญ่ รับประทานวันละ 1 เม็ด
- ชนิดน้ำ ควรเขย่าขวดทุกครั้งก่อนใช้ยา
- เด็กอายุตั้งแต่ 4 ปีขึ้นไป รับประทานวันละ 1 ช้อนชา
- เด็กอายุตั้งแต่ 1-4 ปี รับประทานวันละ 1/2 ช้อนชา
- เด็กแรกเกิด-1 ปี รับประทานวันละ 1/4 ช้อนชา
อุปกรณ์ฉุกเฉิน ที่ควรมีไว้ใช้ในยามจำเป็น เมื่อเกิดภัยพิบัติหรือภัยธรรมชาติ ได้แก่
- ไฟฉายพร้อมแบตเตอรี่ ควรแยกเก็บแบตเตอรี่สำรองเพื่อลดการสูญเสียพลังงาน
- อาหารแห้ง เช่น ข้าวสาร บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป รวมถึงอาหารที่เสียยากและเก็บไว้ได้นาน ให้มีปริมาณเพียงพอต่อสมาชิกในครอบครัวเป็นเวลา 3 วัน
- เครื่องใช้ส่วนตัว เช่น แปรงสีฟัน ยาสีฟัน สบู่ ทิชชู่ ถุงขยะ ยาไล่แมลง นกหวีด เป็นต้น
- เอกสารที่จำเป็น เช่น บัตรประชาชน เงินสด ประวัติทางการแพทย์ของสมาชิกในครอบครัว เป็นต้น
- หมายเลขโทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้ในยามฉุกเฉิน เช่น 1669 (ศูนย์นเรนทร) 1691 (ศูนย์ส่งกลับและรถพยาบาลกรมตำรวจ) หรือ 1554 (หน่วยกู้ชีพ กรุงเทพมหานคร) เป็นต้น