รู้จัก 6 อาหารเพิ่มเกล็ดเลือดที่หารับประทานได้ง่าย

การรับประทานอาหารเพิ่มเกล็ดเลือด เป็นวิธีหนึ่งที่อาจช่วยเพิ่มระดับเกล็ดเลือดในร่างกายได้ โดยโดยการปริมาณเกล็ดเลือดนั้นค่อนข้างสำคัญต่อผู้ป่วยที่มีภาวะเกล็ดเลือดต่ำ (Thrombocytopenia) เนื่องจากภาวะนี้อาจส่งผลให้ผู้ป่วยเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนบางอย่างที่รุนแรงได้

เกล็ดเลือดเป็นส่วนประกอบของเลือดที่มีหน้าที่สำคัญคือ ช่วยให้เลือดเกิดการแข็งตัวเมื่อร่างกายเกิดแผล เพื่อหยุดเลือดและป้องกันร่างกายจากการสูญเสียเลือด โดยภาวะเกล็ดเลือดต่ำ จะเป็นภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อเกล็ดเลือดในร่างกายมีจำนวนน้อยกว่า 150,000 เกล็ดเลือด/ไมโครลิตร ซึ่งภาวะนี้อาจส่งผลให้ผู้ที่ป่วยเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น เกิดเลือดออกภายในร่างกาย หรือเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้

รู้จัก 5 อาหารเพิ่มเกล็ดเลือด

รู้จัก 6 อาหารเพิ่มเกล็ดเลือดที่หารับประทานได้ง่าย

ผู้ที่กำลังมองหาอาหารเพิ่มเกล็ดเลือดอาจลองเลือกรับประทานจากตัวอย่างดังต่อไปนี้

1. ปวยเล้ง

ปวยเล้งเป็นผักที่มีโฟเลท (Folate) สูง ซึ่งสารอาหารชนิดนี้จะมีความสำคัญต่อทั้งกระบวนการสร้างเกล็ดเลือด เซลล์เม็ดเลือดแดง และเซลล์เม็ดเลือดขาวของร่างกาย นอกจากนี้ ปวยเล้งยังมีธาตุเหล็กที่เป็นสารอาหารสำคัญที่ช่วยให้เซลล์เม็ดเลือดของร่างกายมีความแข็งแรงอีกด้วย

สำหรับผู้ที่ไม่สะดวกรับประทานปวยเล้ง แหล่งอาหารอื่นที่มีโฟเลทและธาตุเหล็กสูงชนิดอื่นก็ถือว่าเป็นตัวเลือกที่ดีเช่นกัน เช่น อะโวคาโด ถั่วลิสง หน่อไม้ฝรั่ง บรอกโคลี เม็ดมะม่วงหิมพานต์ เต้าหู้ ถั่วแดง และเนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน

2. เห็ด

พืชตระกูลเห็ดเป็นกลุ่มอาหารที่มีสารอาหารสำคัญต่อทั้งกระบวนการสร้างเกล็ดเลือด อย่างโปรตีน และการมีสุขภาพเกล็ดเลือดที่ดี อย่างวิตามินบี 12 นอกจากนี้ เห็ดยังมีสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นกลุ่มสารอาหารที่มีความเป็นไปได้ว่า อาจมีส่วนช่วยต่อการสร้างเกล็ดเลือดได้

นอกจากนี้ การขาดวิตามินบี เช่น วิตามินบี 12 ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่อาจส่งผลให้ระดับเกล็ดเลือดในร่างกายต่ำลงได้อีกด้วย

อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่ไม่สามารถรับประทานเห็ด อาหารชนิดอื่นที่มีโปรตีน หรือวิตามินบี 12 ก็เป็นอีกตัวเลือกที่สามารถรับประทานได้เช่นกัน เช่น อกไก่ที่มีโปรตีนสูง ไข่ไก่ที่มีทั้งโปรตีนและวิตามินบี 12 สูง และหอยที่มีวิตามินบี 12 สูง

3. ตับวัว

ตับวัวก็เป็นอีกแหล่งของสารอาหารสำคัญต่อการมีสุขภาพเกล็ดเลือดที่ดี อย่างวิตามินบี 12 เช่นกัน อีกทั้งยังเป็นแหล่งของโปรตีน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญต่อกระบวนการสร้างเกล็ดเลือดอีกด้วย ทั้งนี้ ด้วยความที่ตับเป็นอาหารที่มีวิตามินเอ และกรดยูริคสูง ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ และผู้ป่วยโรคเก๊าท์จึงควรหลีกเลี่ยงหรือรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม

4. ไข่ไก่ 

ไข่ไก่เป็นอาหารที่หารับประทานได้ง่าย อีกทั้งยังเป็นอาหารที่สามารถนำไปประกอบอาหารได้หลากหลายเมนู โดยสารอาหารที่มีความสำคัญต่อเกล็ดเลือดที่พบได้มากในไข่ไก่ก็คือ วิตามินบี โปรตีน และโฟเลท

5. ส้ม

ส้มเป็นผลไม้ที่มีทั้งโฟเลท วิตามินซี และสารต้านอนุมูลอิสระสูง โดยวิตามินซีจะเป็นสารอาหารสำคัญที่ช่วยให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กได้ดีขึ้น อีกทั้งยังเป็นสารอาหารที่มีส่วนช่วยต่อกระบวนการแข็งตัวของเกล็ดเลือดอีกด้วย

นอกจากส้มแล้ว อาหารชนิดอื่นที่มีวิตามินซีสูงก็เช่น บรอกโคลี มะเขือเทศ สตรอว์เบอร์รี และแคนตาลูป

6. ผักคะน้า

ผักคะน้าเป็นผักที่พบได้ในอาหารหลาย ๆ เมนู โดยสารอาหารหลักในผักชนิดนี้ก็คือ วิตามินเค ทั้งนี้ แม้วิตามินเคจะไม่ใช่สารอาหารที่ช่วยเพิ่มเกล็ดเลือด แต่วิตามินเคก็เป็นสารอาหารสำคัญในกระบวนการทำงานของเกล็ดเลือด ดังนั้น การรับประทานอาหารที่มีวิตามินเค อย่างผักคะน้า ก็ถือเป็นสิ่งที่สำคัญไม่แพ้อาหารกลุ่มอื่น ๆ เช่นกัน

นอกจากผักคะน้าแล้ว อาหารที่มีวิตามินเคที่สามารถหารับประทานได้ง่ายก็เช่น ปวยเล้ง ผักเคล และบรอกโคลี

ข้อควรรู้เกี่ยวกับอาหารเพิ่มเกล็ดเลือด

แม้อาหารบางชนิดจะอาจช่วยเพิ่มเกล็ดเลือดในร่างกายได้ แต่อาหารบางชนิดก็อาจส่งผลให้ระดับเกล็ดเลือดในร่างกายลดลงได้เช่นกัน ดังนั้น การหลีกเลี่ยงอาหารที่อาจส่งผลให้ระดับเกล็ดเลือดลดลงก็ถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ที่กำลังพยายามเพิ่มเกล็ดเลือดไม่แพ้กัน

โดยตัวอย่างอาหารที่อาจส่งผลให้ระดับเกล็ดเลือดในร่างกายลดลงได้ก็เช่น

นอกจากนี้ นอกจากการรับประทานอาหารเพิ่มเกล็ดเลือดแล้ว ยังมีสิ่งอื่น ๆ ที่ผู้ที่ต้องการเพิ่มเกล็ดเลือดควรทำควบคู่ไปด้วยอีกเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการงดหรือหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ การหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมที่ทำให้เสี่ยงต่อการกระแทกหรือเกิดแผลเลือดออก และหากต้องการใช้ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมใด ๆ ก็ควรปรึกษาแพทย์ก่อน