เตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์ เพื่อสุขภาพครรภ์ที่สมบูรณ์

การเตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์เป็นสิ่งที่คุณแม่สามารถเตรียมพร้อมเพื่อสุขภาพครรภ์ที่แข็งแรง เพราะเมื่อคุณแม่มีสุขภาพดีก็ยิ่งมีความเป็นไปได้ที่ลูกในครรภ์จะสมบูรณ์แข็งแรง และทำให้การตั้งครรภ์เป็นเรื่องง่ายยิ่งขึ้น โดยสิ่งที่ต้องเตรียมตัวประกอบด้วยการไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกาย และรับคำแนะนำในการดูแลสุขภาพที่เหมาะสมสำหรับการตั้งครรภ์

การเตรียมตัวก่อนการตั้งครรภ์ควรเริ่มตั้งแต่คู่สามีภรรยาวางแผนว่าจะมีบุตร ซึ่งระยะเวลาที่ดีที่สุดคือประมาณ 1 ปี หรืออย่างน้อย 3 เดือนก่อนตั้งครรภ์ เพราะการเริ่มเตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์เร็ว จะยิ่งทำให้เพิ่มโอกาสการมีบุตรได้ง่าย ลดความเสี่ยงของปัญหาสุขภาพขณะตั้งครรภ์ และช่วยให้การตั้งครรภ์และการคลอดเป็นไปอย่างราบรื่น

เตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์

ปัจจัยที่ส่งผลต่อโอกาสในการตั้งครรภ์

คู่สามีภรรยาบางคู่ที่ต้องการมีบุตรอาจต้องพยายามหลายต่อหลายครั้ง เนื่องจากโอกาสที่ผู้หญิงจะเกิดการตั้งครรภ์ในแต่ละเดือนนั้นอยู่ที่ 15–25 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น นอกจากนี้ยังมีปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อโอกาสในการตั้งครรภ์ ดังนี้

  • อายุ สำหรับหญิงที่อายุ 30 ปีขึ้นไป ความเป็นไปได้ที่จะตั้งครรภ์ในแต่ละเดือนจะยิ่งลดลงไปเรื่อย ๆ ตามอายุ และยิ่งลดต่ำลงมากในช่วงอายุ 40 ปี
  • ความเครียด ซึ่งอาจทำให้รอบเดือนมาไม่ปกติ การนับรอบประจำเดือนจะช่วยในการคำนวณการตกไข่และเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ หากรอบเดือนไม่ปกติอาจทำให้ยากต่อการคำนวณช่วงเวลาตกไข่ และส่งผลให้คู่สามีภรรยาไม่รู้ว่าควรมีเพศสัมพันธ์ช่วงใดจึงจะมีโอกาสเกิดการตั้งครรภ์
  • ความถี่ของการมีเพศสัมพันธ์ คู่รักที่มีเพศสัมพันธ์ไม่บ่อยก็ทำให้โอกาสในการตั้งครรภ์น้อยลงตามไปด้วย
  • จำนวนครั้งที่พยายามมีบุตร หลังการพยายามมีบุตรอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 1 ปี หากยังไม่ประสบความสำเร็จ โอกาสที่จะเกิดการตั้งครรภ์ก็อาจมีน้อย กรณีนี้คู่สามีภรรยาควรพูดคุยปรึกษาแพทย์และรับการตรวจดูว่ามีใครคนใดคนหนึ่งมีปัญหาภาวะมีบุตรยากหรือไม่
  • การเจ็บป่วยจากโรคบางชนิด อาจเป็นสาเหตุให้การตั้งครรภ์กลายเป็นเรื่องยากได้เช่นกัน 

สิ่งที่ควรทำในการเตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์

การเตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์ประกอบด้วยการไปพบแพทย์เพื่อวางแผนตั้งครรภ์ ตรวจคัดกรองโรคก่อนตั้งครรภ์ รับวัคซีนและรับการรักษากรณีตรวจพบโรคใด ๆ ที่ส่งผลต่อการตั้งครรภ์ รวมทั้งคำปรึกษาในการดูแลสุขภาพครรภ์อย่างเหมาะสม โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1. พูดคุยปรึกษากับแพทย์ 

การวางแผนการตั้งครรภ์กับแพทย์เป็นสิ่งสำคัญในการเตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์ โดยแพทย์จะสอบถามถึงประวัติด้านสุขภาพของผู้ที่ตั้งครรภ์และบุคคลในครอบครัว เพื่อคัดกรองโรคที่สามารถถ่ายทอดมายังทารกในครรภ์ เช่น 

หากเคยตั้งครรภ์มาก่อนควรแจ้งให้แพทย์ทราบถึงการตั้งครรภ์ในอดีตว่ามีภาวะแทรกซ้อนใด ๆ เกิดขึ้นหรือไม่ เช่น ความผิดปกติทางพัฒนาการของทารก หรือการมีลูกแฝด เพื่อที่แพทย์จะได้พิจารณาความเสี่ยง และแนะนำแนวทางป้องกันเพื่อสุขภาพครรภ์ที่แข็งแรงสมบูรณ์

2. ตรวจคัดกรองโรค

ผู้ที่วางแผนจะตั้งครรภ์ควรเข้ารับการตรวจต่าง ๆ ที่อาจถ่ายทอดไปสู่ทารก ดังนี้

3. รับวัคซีนที่จำเป็นสำหรับการตั้งครรภ์

ผู้ที่จะตั้งครรภ์ควรรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคให้ลูกน้อย แพทย์จะแนะนำให้มีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคบางชนิด โดยวัคซีนที่ควรฉีดก่อนการตั้งครรภ์ได้แก่ วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ โรคหัด โรคหัดเยอรมัน โรคอีสุกอีใส และบาดทะยัก ซึ่งการฉีดวัคซีนบางชนิดอาจต้องรอถึง 6 เดือนจึงจะเริ่มพยายามมีบุตรได้

4. ตรวจสุขภาพฟัน

การมีฟันผุและเหงือกติดเชื้อสามารถก่อให้เกิดอันตรายต่อตัวอ่อนได้ ผู้ที่วางแผนตั้งครรภ์ควรรับการตรวจสุขภาพช่องปากและฟันก่อนหน้าประมาณ 5 เดือนเพื่อเผื่อเวลาในการรักษาฟันที่มีปัญหาด้วย

5. เตรียมหยุดใช้ยาคุมกำเนิด

ผู้ที่เคยรับประทานยาคุมกำเนิดมาก่อนที่จะพยายามเริ่มมีบุตรนั้นอาจตั้งครรภ์ได้ทันที ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อทารก แต่บางคนอาจใช้เวลาประมาณ 2–3 เดือนจึงจะเริ่มมีการตกไข่เป็นปกติอีกครั้ง การหยุดรับประทานยาคุมกำเนิดล่วงหน้าจึงมีส่วนช่วยให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนาขึ้น และทำให้ตัวอ่อนฝังตัวได้ง่ายขึ้น ซึ่งจะเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ได้

6. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์

ว่าที่คุณแม่ควรเตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์ด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ในปริมาณที่พอเหมาะ เพื่อให้ได้รับพลังงานและสารอาหารในแต่ละวัน โดยรับประทานเนื้อสัตว์ เนื้อปลา ไข่ เต้าหู้ และนมไขมันต่ำ ข้าวและธัญพืชขัดสีน้อย และผักผลไม้ที่มีวิตามินและแร่ธาตุ หากมีน้ำหนักตัวน้อยอาจรับประทานของว่าง ดื่มนม และน้ำผลไม้เพิ่มเติมระหว่างมื้ออาหาร

นอกจากนี้ ว่าที่คุณแม่ควรดื่มน้ำให้เพียงพอ จำกัดปริมาณการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน การได้รับคาเฟอีนในปริมาณมากอาจเป็นสาเหตุของการปฏิสนธิล่าช้า และอาจเสี่ยงต่อการแท้งบุตรหากบริโภคเกินวันละ 200 มิลลิกรัม

7. ออกกำลังกาย

การออกกำลังกายเป็นการเตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์เพื่อสุขภาพที่ดี โดยควรสำรวจดูว่าควรลดน้ำหนัก เพิ่มน้ำหนักwww.pobpad.com/เพิ่มน้ำหนักตอนท้อง-เพิ สร้างกล้ามเนื้อเพิ่ม หรือควรฝึกสมรรถภาพการหายใจของปอดหรือไม่

การออกกำลังกายที่แนะนำคือการออกกำลังที่ความหนักระดับปานกลางสัปดาห์ละ 150 นาที เช่น เดิน วิ่ง ปั่นจักรยาน หรือเล่นโยคะ โดยเฉพาะการเล่นโยคะที่ถือเป็นทางเลือกที่ดีเพราะจะได้ฝึกท่าทาง การหายใจ และสมาธิไปในคราวเดียว ทั้งยังสามารถนำไปปรับใช้ขณะตั้งครรภ์ได้ด้วย

8. งดดื่มเครื่องดื่มแอลกฮอล์ บุหรี่ และสารเสพติด

การสูบบุหรี่ระหว่างตั้งครรภ์จะส่งผลให้ทารกแรกเกิดมีน้ำหนักตัวน้อย มีโอกาสเกิดภาวะคลอดก่อนกำหนด และเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของทารกในครรภ์ นอกจากนี้ ทารกอาจมีปัญหาเกี่ยวกับการหายใจหรือหายใจมีเสียงหวีดในช่วง 6 เดือนแรกที่คลอดออกมา

การดื่มแอลกอฮอล์ไม่ว่าจะปริมาณมากน้อยเพียงใดก็เป็นอันตรายต่อลูกน้อย และอาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนระยะยาวตามมา รวมถึงงดการใช้ยาเสพติด เพราะสารเสพติดจะเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ เช่น การแท้งบุตร ทารกมีน้ำหนักตัวน้อย คลอดก่อนกำหนด พัฒนาการล่าช้า และการมีปัญหาด้านพฤติกรรมและการเรียนรู้

9. รับประทานอาหารเสริม

เตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์ด้วยการรับประทานอาหารเสริมสำหรับคนท้องตามที่แพทย์แนะนำ 

โดยทั่วไป หญิงที่วางแผนมีบุตรควรเริ่มรับประทานกรดโฟลิคตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ 1 เดือน ไปจนถึงระยะตั้งครรภ์ 3 เดือนแรก ในปริมาณวันละ 400 ไมโครกรัมต่อวัน เพื่อช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดความพิการทางสมองของทารก ซึ่งเป็นภาวะพิการแต่กำเนิดที่ส่งผลกระทบต่อสมองและไขสันหลังของเด็ก 

รวมทั้งรับประทานวิตามินรวมที่ประกอบด้วยวิตามินบี 6 ก่อนตั้งครรภ์จนถึงสัปดาห์แรก ๆ ของการตั้งครรภ์จะช่วยลดอาการแพ้ท้องได้ 

10. ระมัดระวังการใช้ยาและสารเคมี

ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้ยา อาหารเสริม และสมุนไพรต่าง ๆ เพราะอาจส่งผลกระทบต่อการตั้งครรภ์ในอนาคตได้ นอกจากนี้ การได้รับสารเคมีอันตรายบางชนิดที่สามารถส่งผ่านไปยังทารกในครรภ์ ส่งผลให้เกิดความผิดปกติด้านพัฒนาการของทารกตามมา จึงควรหลีกเลี่ยงการได้รับสารเคมีอันตรายหรือสารพิษทั้งหลาย เช่น สารเคมีสังเคราะห์ สารผสมโลหะ ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลง รวมถึงมูลสัตว์อย่างหนูและแมว

11. รับมือความเครียดให้เหมาะสม และพักผ่อนให้เพียงพอ 

สุขภาพจิตเป็นสิ่งสำคัญที่ควรคำนึงถึงในการเตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์ หญิงที่ต้องการตั้งครรภ์ควรจัดการกับความเครียดอยางเหมาะสม เช่น ออกกำลังกาย เล่นโยคะ ทำงานอดิเรก ฟังเพลงช่วยผ่อนคลาย หรืออาบน้ำอุ่น เป็นต้น และควรพักผ่อนให้เพียงพอวันละ 8 ชั่วโมง ซึ่งจะช่วยให้สุขภาพดี และยังสามารถช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดได้ด้วย

หากมีความเครียด วิตกกังวล หรือมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพจิตอย่างต่อเนื่องจนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน ควรพูดคุยปรึกษากับแพทย์และรับการรักษาก่อนที่จะพยายามตั้งครรภ์