เห็ดพิษ สังเกตอาการอันตรายและวิธีป้องกัน

เห็ดพิษ (Poisonous Mushroom) คือเห็ดที่มีสารที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายเมื่อรับประทานเข้าไป ในประเทศไทยพบหลายสายพันธุ์ โดยอาจทำให้เกิดอาการต่อระบบทางเดินอาหาร ระบบประสาท ตับ ไต และอาจทำให้เสียชีวิตได้

เห็ดเติบโตได้ดีในประเทศไทยที่มีอากาศร้อนชื้น ซึ่งมีคุณค่าทางอาหารมากมาย แต่การแยกเห็ดพิษและเห็ดที่รับประทานได้เป็นเรื่องยาก เนื่องจากเห็ดหลายพันธุ์มีรูปทรงที่คล้ายกัน หลายคนจึงไม่ทราบและเก็บเห็ดที่มีพิษที่ขึ้นตามธรรมชาติ เช่น ตามพื้นดินและในป่า มารับประทานและเกิดอาการผิดปกติ หากไม่ได้รับการรักษาทันท่วงทีอาจเป็นอันตรายได้

Poisonous Mushroom

อาการผิดปกติจากการรับประทานเห็ดพิษ

เห็ดพิษที่พบในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น เห็ดระโงกหิน เห็ดระงาก เห็ดเมา เห็ดขี้วัว เห็ดหมวกจีน และเห็ดถ่านเลือด ซึ่งแต่ละชนิดก่อให้เกิดอาการผิดปกติต่อระบบในร่างกายต่างกัน ผู้ป่วยอาจเกิดอาการหลังรับประทานเห็ดพิษโดยตรง หรือรับประทานอาหารและเครื่องดื่มอื่น ๆ ที่ปนเปื้อนพิษจากเห็ดก็ได้ โดยอาการที่อาจพบได้ มีดังนี้ 

ความรุนแรงและระยะเวลาของการเกิดอาการในผู้ป่วยแต่ละคนจะแตกต่างกัน โดยอาจเกิดอาการผิดปกติหลังรับประทานเห็ดพิษได้ตั้งแต่ 20 นาที ไปจนถึงหลายชั่วโมง

การรักษาอาการจากการรับประทานเห็ดพิษ

หากมีอาการผิดปกติหลังรับประทานเห็ดชนิดใดก็ตาม ควรรีบไปที่สถานพยาบาลที่ใกล้ที่สุดเพื่อรับการรักษา เพื่อรับการรักษาโดยเร็วที่สุด ญาติผู้ป่วยควรนำตัวอย่างเห็ดที่ผู้ป่วยรับประทานหรือถ่ายภาพเห็ดไปด้วย เพื่อช่วยให้แพทย์สามารถตรวจสอบสายพันธุ์ของเห็ดพิษ และประเมินการรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป

หากมีถ่านกัมมันต์ (Activated Charcoal) ชนิดผง เม็ด หรือแคปซูล อาจให้ผู้ป่วยรับประทาน เพื่อช่วยลดการดูดซึมสารพิษในร่างกายจากการรับประทานเห็ดพิษ และให้จิบน้ำเป็นระยะเพื่อทดแทนการสูญเสียน้ำากการอาเจียนและท้องเสีย ในระหว่างที่ปฐมพยาบาลควรพาผู้ป่วยไปพบแพทย์ทันที

ทั้งนี้ ไม่ควรล้วงคอ กินไข่ขาวดิบหรือใช้วิธีอื่นเพื่อทำให้อาเจียน เพราะนอกจากจะทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษากับแพทย์ล่าช้า ยังอาจทำให้ได้รับบาดเจ็บหรือติดเชื้อเพิ่มขึ้น

การป้องกันการรับประทานเห็ดพิษ

ข้อแนะนำในการป้องกันการรับประทานเห็ดพิษเพื่อความปลอดภัยต่อร่างกาย มีดังนี้

1. การจำแนกเห็ดพิษต้องทำโดยผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น

หลายคนมีความเชื่อผิด ๆ ว่าสามารถแยกเห็ดพิษได้ด้วยตัวเองโดยการสังเกตลักษณะของเห็ด เช่น เห็ดที่มีรอยแมลงกัด และเห็ดสีขาวสามารถนำมารับประทานได้ ส่วนเห็ดพิษจะมีสีสันฉูดฉาด บางคนเชื่อว่าต้มเห็ดกับข้าว หรือนําแหวนเงินมาจุ่มในหม้อต้มเห็ดแล้วเห็ดไม่เปลี่ยนสีแสดงว่าเห็ดนั้นไม่มีพิษ ซึ่งไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด

คนทั่วไปไม่สามารถแยกเห็ดพิษออกจากเห็ดที่รับประทานได้ด้วยการดูด้วยตาหรือทดสอบด้วยตัวเองที่บ้าน มีเพียงผู้เชี่ยวชาญที่สามารถตรวจสอบและแยกพันธุ์เห็ดพิษได้ 

2. รับประทานเห็ดที่มาจากแหล่งที่เชื่อถือได้

ไม่ควรเก็บเห็ดตามริมถนน พื้นดิน สนามหญ้า หรือในป่ามารับประทาน เพราะเห็ดพิษและเห็ดที่รับประทานได้มีลักษณะภายนอกที่ใกล้เคียงกันมาก ควรเลือกซื้อเห็ดจากซูเปอร์มาร์เก็ต หรือจากแหล่งเพาะพันธุ์ขายที่เชื่อถือได้เท่านั้น 

3. ไม่ดื่มแอลกอฮอล์กับเห็ด 

ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ขณะรับประทานเห็ดที่ไม่รู้จัก เพราะพิษของเห็ดบางชนิดจะถูกกระตุ้นเมื่อรับประทานร่วมกับแอลกอฮอล์ ทำให้เกิดพิษต่อร่างกายได้

นอกจากนั้น หลายคนเชื่อว่าการปรุงเห็ดให้สุกก่อนนำมารับประทานจะสามารถช่วยให้พิษในเห็ดสลายไปได้ แต่ความจริงแล้วการปรุงเห็ดพิษให้สุกไม่ช่วยให้พิษจากเห็ดลดลง เพราะพิษจากเห็ดหลายชนิดไม่สามารถทำลายได้ด้วยความร้อน หากไม่มั่นใจว่าเป็นเห็ดที่รับประทานได้หรือไม่ ไม่ควรนำมารับประทาน 

เห็ดที่พบในประเทศไทยมีหลายสายพันธุ์ หลายชนิดนำมารับประทานได้ แต่หลายชนิดเป็นเห็ดพิษที่ทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพหรืออาจถึงแก่ชีวิตได้ หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการรับประทานเห็ดพิษ สามารถติดต่อสอบถามได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค 1412