5 ยาพ่นแก้ไอ ตัวช่วยบรรเทาอาการอย่างมีประสิทธิภาพ

ยาพ่นแก้ไอเป็นยาในรูปแบบสเปรย์ที่ช่วยบรรเทาอาการไอ เจ็บคอ คันคอ และช่วยให้ชุ่มคอ ซึ่งมีข้อดีคือหยิบใช้สะดวกทุกที่ทุกเวลา พกพาง่าย บรรเทาอาการได้ดี และหลายผลิตภัณฑ์สามารถหาซื้อได้ง่ายตามร้านขายยาอีกด้วย

ไอเป็นอาการที่เกิดขึ้นเมื่อมีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปก่อให้เกิดอาการระคายเคืองในคอหรือทางเดินหายใจ ซึ่งการใช้ยาพ่นแก้ไอเป็นหนึ่งในวิธีรักษาอาการไอได้อย่างตรงจุด ทั้งนี้ ยาพ่นแก้ไอแต่ละผลิตภัณฑ์มีตัวยาและสมุนไพรเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ช่วยดูแลรักษาอาการไอต่างกัน จึงควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับอาการ เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพ

Cough Spray

ตัวอย่างยาพ่นแก้ไอที่ใช้แล้วเห็นผล

รวม 5 ยาพ่นแก้ไอที่หาซื้อได้ง่าย และบรรเทาอาการไอได้ดี  ได้แก่

1. คามิลโลซาน เอ็ม (Kamillosan M) 15 มิลลิลิตร

Kamillosan M

คามิลโลซาน เอ็มเป็นยาพ่นแก้ไอที่ช่วยบรรเทาอาการอักเสบบริเวณช่องปากและลำคอ  มีส่วนประกอบของดอกคาโมมายล์ น้ำมันหอมระเหยจากเซจ (Sage) ยูคาลิปตัส เปปเปอร์มินต์ มะกรูด และเมทิลซาลิไซเลต (Methyl Salicylate) ที่ช่วยต้านการอักเสบ ต้านแบคทีเรีย และบรรเทาอาการเจ็บคอจากอาการไอ

ก่อนใช้คามิลโลซาน เอ็ม ควรกดหัวพ่นฉีดลงเพื่อไล่อากาศออกให้หมด โดยกดติดกันหลาย ๆ ครั้ง จากนั้นจึงใช้ยาพ่นแก้ไอบริเวณช่องปากและลำคอ ครั้งละ 2 ที วันละ 3 ครั้ง แนะนำให้ใช้หลังจากรับประทานอาหาร

2. โพรโพลิซ กระชาย เมาท์สเปรย์ (Propoliz Krachai Mouth Spray) 15 มิลลิลิตร

Propoliz Krachai

ยาพ่นแก้ไอโพรโพลิซ กระชาย เมาท์สเปรย์ ประกอบด้วยสารสกัดจากผิวของรังผึ้ง (Propolis) และกระชายขาว (Boesenbergia Pandurata Extract) ที่มีสารฟลาโวนอยด์ มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดการอักเสบและติดเชื้อในช่องปากและลำคอที่ทำให้เกิดอาการเจ็บคอและไอ และช่วยให้แผลในช่องปากหายเร็วขึ้น 

ยาพ่นแก้ไอนี้ยังมีส่วนผสมของน้ำผึ้ง เปปเปอร์มินต์ สเปียร์มินท์ และเมนทอล ซึ่งให้รสหอมหวาน เย็น ช่วยให้ชุ่มคอ โดยไม่มีส่วนผสมของยาปฏิชีวนะ น้ำตาล และสารกันเสีย โดยพ่นยาครั้งละ 2–3 ที ใช้ได้บ่อยตามต้องการ 

3. เบตาดีน โทรตสเปรย์ (Betadine Throat Spray) 25 มิลลิลิตร

เบตาดีน โทรตสเปรย์ เป็นยาพ่นแก้ไอที่มีส่วนประกอบหลักคือ โพวิโดน ไอโอดีน 4.5 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร มีคุณสมบัติเป็นยาฆ่าเชื้อ ช่วยลดอาการระคายคอและไม่สบายที่คอจากอาการไอ บรรเทาการอักเสบบริเวณช่องปากและลำคอ ป้องกันแผลติดเชื้อในปาก และระงับกลิ่นปาก โดยไม่มีส่วนผสมของน้ำตาล

หากใช้ครั้งแรก ควรกดหัวพ่นฉีดในช่องปากประมาณ 4–5 ที จนกว่ายาจะออกมา จากนั้นให้กดสเปรย์พ่นในปาก 2–3 ที ใช้ได้ตลอดทั้งวันเมื่อมีอาการไอ เจ็บคอ และระคายคอ 

4. ดิฟแฟลม ฟอร์ท (Difflam Forte Throat Spray) 15 มิลลิลิตร

Difflam Forte

ดิฟแฟลม ฟอร์ทเป็นยาพ่นแก้ไอที่ใช้บรรเทาอาการเจ็บคอ บรรเทาอาการปวดจากการอักเสบของเยื่อบุช่องปากและลำคอ ต่อมทอนซิลอักเสบ และการผ่าตัดเหงือกหรือฟัน  มีตัวยาเบนซีดามีน ไฮโดรคอไรด์ (Benzydamine Hydrochloride) 3 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร 

ดิฟแฟลม ฟอร์ทเหมาะสำหรับผู้ใหญ่และเด็กที่มีอายุ 6 ปีขึ้นไป โดยเด็กอายุ 6–12 ปี ให้กดยาพ่นแก้ไอครั้งละ 2 ที ในช่องปากหรือบริเวณที่ปวดโดยตรง ทุก 3 ชั่วโมง เด็กอายุ 12 ปีขึ้นไปและผู้ใหญ่ พ่นยาครั้งละ 2–4 ที ทุก 2–3 ชั่วโมง แต่ไม่ควรใช้เกินวันละ 6 ครั้ง และไม่ควรใช้ติดต่อกันเกิน 7 วัน นอกจากแพทย์สั่ง

5. ดิฟฟลิส เฮอร์เบิ้ล เมาท์ สเปรย์ (Difflis Herbal Mouth Spray) 15 มิลลิลิตร

Difflis

ยาพ่นแก้ไอดิฟฟลิส ประกอบด้วยสารสกัดโพรโพลิส ซึ่งมีคุณสมบัติต้านเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัส สารสกัดเอ็กไคนาเซีย (Echinacea) ที่ช่วยเสริมระบบภูมิคุ้มกันในการกำจัดเชื้อโรค รวมถึงส่วนผสมอื่น ๆ เช่น เมนทอล น้ำมันเปปเปอร์มินต์ นำมันไทม์ (Thyme oil) ยูคาลิปตัส และทีทรีออยล์ (Tea Tree Oil) ที่ช่วยบรรเทาอาการไอ ให้ความรู้สึกเย็นและชุ่มคอ

ยาพ่นแก้ไอนี้ใช้ได้กับทุกคนในครอบครัว เพราะปราศจากแอลกอฮอล์ ซึ่งไม่ทำให้รู้สึกแสบปากและคอหลังฉีด ไม่มีส่วนผสมของน้ำตาลและน้ำผึ้ง เหมาะกับผู้ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและผู้ที่แพ้น้ำผึ้ง วิธีใช้คือพ่นสเปรย์ภายในช่องปาก 2–3 ครั้ง หรือบ่อยตามต้องการ

ผู้ที่ต้องการใช้ยาพ่นแก้ไอที่แพ้ผลิตภัณฑ์จากผึ้ง เกสรดอกไม้ หรือสมุนไพรใด ๆ ควรอ่านส่วนประกอบที่ระบุบนฉลากยาก่อนใช้ยาพ่นแก้ไอ รวมทั้งเด็ก ผู้ที่ตั้งครรภ์และให้นมบุตร มีโรคประจำตัว หรือใช้ยารักษาโรคอื่นอยู่ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยา เพื่อความปลอดภัย

ขณะใช้ยาพ่นแก้ไอ ควรระวังไม่ให้ละอองยาเข้าตาและจมูกโดยตรง หลังใช้ยาพ่นแก้ไอเสร็จ ควรใช้ผ้าสะอาดหรือกระดาษทิชชูเช็ดยาที่เปื้อนบริเวณหัวสเปรย์ แล้วปิดฝาให้สนิท เก็บในที่แห้งและเย็น ให้พ้นจากแสงแดด เพื่อป้องกันตัวยาเสื่อมประสิทธิภาพ

ผู้ที่มีอาการไอควรดูแลตัวเองด้วยวิธีอื่นควบคู่กับการใช้ยาพ่นแก้ไอ เช่น ดื่มน้ำหรือเครื่องดื่มอุ่น ๆ เพื่อช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอ ระคายคอ และช่วยให้เสมหะไม่เหนียวข้น กลั้วคอด้วยน้ำเกลือ และงดสูบบุหรี่ หากอาการไอไม่ดีขึ้นใน 2–3 สัปดาห์ ไอมีเสมหะข้นสีเขียวเหลือง มีไข้ หายใจมีเสียงหวีด หายใจติดขัด ข้อบวม น้ำหนักลดร่วมด้วย ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษา