5 ยาแก้แพ้แบบไม่ง่วงที่ใช้ได้ผลสำหรับชาวภูมิแพ้

ยาแก้แพ้แบบไม่ง่วงเป็นยาแก้แพ้รูปแบบหนึ่งที่ใช้รักษาและป้องกันอาการแพ้ เช่น คัดจมูก ไอ จาม คันตา และลมพิษจากโรคภูมิแพ้และแมลงกัดต่อยได้ดี แต่ผู้ใช้ยามักจะไม่มีอาการง่วงซึม ซึ่งเป็นผลข้างเคียงจากการใช้ยาแก้แพ้รุ่นแรก อีกทั้งออกฤทธิ์บรรเทาอาการแพ้ได้ยาวนานกว่า ซึ่งช่วยให้ใช้ชีวิตประจำวันได้ดีขึ้น และลดความเสี่ยงของการเกิดอุบัติเหตุจากการใช้ยา

ยาแก้แพ้จะช่วยยับยั้งการหลั่งสารฮิสตามีน (Histamine) ที่กระตุ้นให้เกิดอาการแพ้หลังสัมผัสมสารก่อภูมิแพ้ แบ่งเป็น 2 ประเภทหลักคือชนิดที่ทำให้ง่วงและไม่ทำให้ง่วง โดยยาแก้แพ้แบบไม่ง่วงจะออกฤทธิ์โดยซึมเข้าสู่สมองน้อยกว่ายาแก้แพ้รุ่นแรกที่ทำให้ง่วง การเลือกใช้ยาแก้แพ้แบบไม่ง่วงอย่างเหมาะสมจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยบรรเทาและควบคุมอาการแพ้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

NonDrowsyAntihistamines

5 ยาแก้แพ้แบบไม่ง่วงที่แนะนำ

ยาแก้แพ้แบบไม่ง่วงที่วางจำหน่ายในปัจจุบันประกอบด้วยตัวยาสำคัญที่แตกต่างกัน ตัวอย่างยาแก้แพ้แบบไม่ง่วงที่หาซื้อได้เอง เช่น

1. ซีร์เทค (Zyrtec) 10 เม็ด/แผง

Aug-24-01-01

ซีร์เทคเป็นยาแก้แพ้แบบไม่ง่วงที่มีตัวยาหลักคือที่ประกอบด้วยตัวยาเซทิริซีน ไดไฮโดรคลอไรด์ (Cetirizine Dihydrochloride) 10 มิลลิกรัม/เม็ด มีคุณสมบัติบรรเทาอาการภูมิแพ้จมูกและดวงตาที่เกิดขึ้นตามฤดูกาลหรือตลอดทั้งปี เช่น คัดจมูก คันจมูก น้ำมูกไหล จาม คันตา ตาแดง น้ำตาไหล รวมถึงอาการคันจากลมพิษและผื่นแมลงสัตว์กัดต่อย

ยาซีร์เทคชนิดเม็ดเหมาะสำหรับเด็กอายุ 6 ปีขึ้นไปและผู้ใหญ่ โดยแนะนำให้เด็กอายุ 6–12 ปีรับประทานยาครั้งละ ½ เม็ด วันละ 1 ครั้ง เด็กอายุมากกว่า 12 ปีและผู้ใหญ่รับประทานครั้งละ 1 วัน วันละ 1 ครั้ง 

2. คลาริทิน (Clarityne) ชนิดเม็ด 5 เม็ด/แผง

Aug-24-01-02

คลาริทินชนิดเม็ดมีตัวยาลอราทาดีน (Loratadine) 10 มิลลิกรัม/เม็ด โดยช่วยบรรเทาอาการแพ้ของระบบทางเดินหายใจ เช่น จาม น้ำมูกไหล คันจมูก คันตา แสบตา จากโรคภูมิแพ้ บรรเทาอาการลมพิษเรื้อรัง และอาการแพ้ทางผิวหนังจากโรคภูมิแพ้ 

คลาริทินจัดเป็นยาแก้แพ้แบบไม่ง่วง และออกฤทธิ์ได้นานสูงสุด 24 ชั่วโมง จึงสามารถควบคุมอาการแพ้ได้ตลอดทั้งวัน ยาคลาริทินเหมาะกับผู้ใหญ่และเด็กอายุ 12 ปีขึ้นไป โดยให้รับประทานครั้ง 1 เม็ด วันละ 1 ครั้ง 

3. แอเรียส (Aerius) ชนิดเม็ด 10 เม็ด/แผง

Aug-24-01-03

แอเรียสประกอบด้วยตัวยาเดสลอราดีน (Desloratadine) 5 มิลลิกรัม/เม็ด ซึ่งเป็นยาแก้แพ้แบบไม่ง่วงที่ช่วยบรรเทาอาการแพ้ต่าง ๆ เช่น จาม น้ำมูกไหล คันตาและจมูก คัดจมูก ตาแดง น้ำตาไหล อาการคัน และลมพิษได้อย่างยาวนานสูงสุด 24 ชั่วโมง จึงช่วยบรรเทาอาการแพ้ต่าง ๆ ได้ดีทั้งช่วงกลางวันและกลางคืน

ยานี้เหมาะสำหรับผู้ใหญ่และเด็กอายุมากกว่า 12 ปี โดยขนาดที่แนะนำให้รับประทานตามฉลากยาคือรับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 1 ครั้ง

4. ฟีนาเฟค (Fenafex) 10 เม็ด/แผง

Aug-24-01-04

ฟีนาเฟคเป็นยาแก้แพ้แบบไม่ง่วงที่ออกฤทธิ์สูงสุด 12 ชั่วโมง ใน 1 เม็ดประกอบด้วยยาเฟกโซเฟนาดีน ไฮโดรคลอไรด์ (Fexofenadine Hydrochloride) 60 มิลลิกรัม ใช้บรรเทาอาการเยื่อบุจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ เช่น น้ำมูกไหล คันจมูก คันคอ คันตา น้ำตาไหล ตาแดง และบรรเทาอาการผื่นแดงคันจากลมพิษแบบเรื้อรังที่ไม่ทราบสาเหตุ

ฟีนาเฟคเป็นยาแก้แพ้แบบไม่ง่วงที่เหมาะกับผู้ใหญ่และเด็กอายุมากกว่า 6 ปี โดยเด็กอายุ 6–12 ปี รับประทานยาครั้งละ ½ เม็ด วันละ 2 ครั้ง ส่วนผู้ใหญ่และเด็กอายุมากกว่า 12 ปี รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 2 ครั้ง โดยรับประทานก่อนหรือหลังอาหารก็ได้ 

5. ซีซาล (Xyzal) 10 เม็ด/แผง

Aug-24-01-06

ซีซาลเป็นยาแก้แพ้แบบไม่ง่วงชนิดเม็ด มีตัวยาหลักคือเลโวเซทิริซีน ไฮโดรคลอไรด์ (Levocetirizine Hydrochloride) 5 มิลลิกรัมต่อเม็ด มีคุณสมบัติช่วยบรรเทาอาการแพ้กลุ่มเยื่อบุจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ เช่น คันจมูก คัดจมูก จาม น้ำมูกไหล กลุ่มอาการแพ้ทางตา เช่น ตาแดง คันตา น้ำตาไหล และกลุ่มอาการแพ้ทางผิวหนัง เช่น อาการคันและลมพิษ

ยาซีซาลเหมาะสำหรับผู้ใหญ่และเด็กอายุ 6 ปีขึ้นไป โดยรับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 1 ครั้ง ในมื้อเย็น โดยจะรับประทานพร้อมอาหารหรือไม่ก็ได้

ยาแก้แพ้แบบไม่ง่วงมักไม่ทำให้เกิดอาการง่วงซึม อย่างไรก็ดี ร่างกายของแต่ละคนอาจตอบสนองต่อตัวยาแตกต่างกัน ผู้ป่วยควรสังเกตอาการหลังรับประทานยาแก้แพ้แบบไม่ง่วง หากมีอาการง่วงซึมควรหลีกเลี่ยงการขับขี่ยานพาหนะ การทำงานกับเครื่องจักร การทำงานบนที่สูง ซึ่งอาจเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุตามมา 

การใช้ยาในเด็กเล็ก หญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร ผู้มีโรคประจำตัวเรื้อรัง และใช้ยาอื่นอยู่ ควรปรึกษาเภสัชกรหรือแพทย์ก่อนการรับประทานยาแก้แพ้แบบไม่ง่วง เพื่อประสิทธิภาพในการรักษาโรคและความปลอดภัยต่อสุขภาพ 

นอกจากนี้ ผู้ป่วยควรดูแลตัวเองด้วยวิธีอื่นควบคู่กับการใช้ยา เช่น หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ ล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ และทำความสะอาดบ้านเป็นประจำ เพื่อป้องกันฝุ่นละอองหรือสารก่อภูมิแพ้