6 ยาแก้อาเจียนที่ใช้ได้ผลดี

ยาแก้อาเจียน คือ ยาที่ใช้ในการบรรเทาอาการคลื่นไส้ อาเจียน ที่อาจเกิดจากการเมารถ เมาเรือ แพ้ท้อง และอื่น ๆ เนื่องจากอาการอาเจียนมักเกิดอย่างกะทันหัน และรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน ทำให้การรับประทานยาแก้อาเจียนคือหนึ่งในวิธีที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันและลดความรู้สึกอยากอาเจียนได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังเป็นยาที่มีให้เลือกหลากหลายและหาซื้อได้ง่าย

อาการอาเจียนมักเกิดร่วมกับอาการคลื่นไส้ เป็นอาการที่ไม่สามารถควบคุมได้ ผู้ที่มีอาการสามารถรับประทานยาแก้อาเจียนเพื่อช่วยบรรเทาอาการให้สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติโดยเร็ว และอาจหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นให้เกิดอาการร่วมด้วย

Anti-Vomiting Medicine

แนะนำยาที่ช่วยบรรเทาอาการคลื่นไส้และลดการอาเจียน

อาการอาเจียนเกิดจากสาเหตุที่แตกต่างกันในแต่ละคน และแต่ละครั้งที่มีอาการ จึงมียาแก้อาเจียนที่มีส่วนประกอบของยาต่างกันให้เลือก ยาแก้อาเจียนมักอยู่ในรูปแบบเม็ด และมีคุณสมบัติในการรักษาอาการคลื่นไส้ อาเจียนจากสาเหตุที่หลากหลาย ในขณะที่ยาส่วนน้อยมีฤทธิ์รักษาอาการคลื่นไส้จากสาเหตุบางอย่างโดยเฉพาะ

 ตัวอย่างยาแก้อาเจียนที่สามารถหาซื้อได้เองและใช้ได้ผลดี 

1. นาวาเมด (Navamed) ขนาดแผงละ 2 เม็ด 

Sep-24-03-01

นาวาเมดเป็นยาที่ใช้ป้องกันอาการคลื่นไส้ อาเจียน ที่มีส่วนประกอบของไดเมนไฮดริเนต (Dimenhydrinate) 50 มิลลิกรัมต่อ 1 เม็ด ที่มีฤทธิ์ต่อสมองในการยับยั้งความรู้สึกเวียนหัว คลื่นไส้ และอาเจียนจากการเมารถ เมาเรือได้ดี อีกทั้งยาหาซื้อได้ง่ายและมีราคาถูก 

ในการรับประทานยา ควรรับประทาน 30 นาที –1 ชั่วโมงก่อนออกเดินทาง สามารถทานพร้อมอาหารหรือขณะท้องว่างก็ได้ โดยผู้ใหญ่และเด็กอายุ 12 ปีขึ้นไปรับประทานครั้งละ 1 เม็ด ควรเว้นระยะการรับประทานยาแต่ละครั้ง 4–6 ชั่วโมง และไม่ควรรับประทานเกิน 6 เม็ดใน 1 วัน สำหรับเด็กอายุ 6–12 ปี ควรรับประทาน ครึ่งเม็ด–1 เม็ด ห่างกัน 6–8 ชั่วโมง และไม่ควรรับประทานเกิน 3 เม็ดใน 1 วัน 

ทั้งนี้ นาวาเมดอาจส่งผลข้างเคียงให้เกิดอาการง่วงได้ จึงไม่ควรขับขี่ และควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากอาจไปเพิ่มฤทธิ์กดประสาทให้มากขึ้น

2. เบสมอล (Besmal) ขนาดแผงละ 10 เม็ด

Sep-24-03-02

เบสมอลเป็นยาที่มีส่วนประกอบของบิสมัส สับซาลิไซเลท (Bismuth Subsalicylate) ปริมาณ 524 มิลลิกรัม ซึ่งเป็นยาที่ช่วยปกป้องกระเพาะและหลอดอาหารส่วนปลาย บรรเทาความรู้สึกไม่สบายท้อง คลื่นไส้จากกรดในกระเพาะ เนื่องจากตัวยามีฤทธิ์ช่วยลดกรด รวมถึงสามารถรักษาโรคแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้จากการติดเชื้อ H.pylory ได้

การรับประทานยาเบสมอล อาจรับประทานพร้อมอาหารหรือโดยไม่มีอาหารก็ได้ ผู้ใหญ่รับประทานครั้งละ 1 เม็ด เด็กอายุ 9–12 ปี รับประทานครึ่งเม็ด หากจำเป็นอาจรับประทานยาเพิ่มโดยเว้นระยะ 0.5–1 ชั่วโมง โดยไม่ควรรับประทานยาเกิน 8 ครั้งต่อวัน และไม่ควรใช้ยาติดต่อกันเกิน 2 วัน 

เด็ก ผู้ที่เป็นโรคไต หญิงตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาและใช้ยาอย่างระมัดระวัง ผู้ที่มีอาการแพ้ยาซาลิไซเลทหรือยาแอสไพรินไม่ควรรับประทาน

3. โมแลกซ์–เอ็ม (Molax–M) ขนาดแผงละ 10 เม็ด

Sep-24-03-03

 

โมแลกซ์–เอ็ม เป็นยาที่มีส่วนประกอบของดอมเพอริโดน 10 มิลลิกรัมต่อ 1 เม็ด ซึ่งช่วยชะลอระบบย่อยอาหาร และออกฤทธิ์ต่อสมองในการบรรเทาอาการคลื่นไส้และอาเจียนที่เกิดจากโรคกระเพาะ ภาวะกระเพาะอาหารบีบตัวช้าจากโรคเบาหวาน รวมถึงผลข้างเคียงจากการใช้ยาโดปามีน 

ควรรับประทานโมแลกซ์–เอ็มขณะท้องว่าง หรือก่อนอาหาร 15–30 นาที และอาจรับประทานก่อนนอนหากจำเป็น สำหรับปริมาณการใช้ผู้ใหญ่ และเด็กที่มีอายุมากกว่า 12 ปีซึ่งมีน้ำหนักมากกว่า 35 กิโลกรัม รับประทานครั้งละ 1–2 เม็ด แต่ไม่เกิน 3 เม็ดใน 1 วัน และไม่ควรรับประทานติดต่อกันนานกว่า 1 สัปดาห์

ควรระมัดระวังเรื่องปริมาณการใช้ยาโมแลกซ์–เอ็ม ในเด็กแรกเกิดและเด็กเล็ก หญิงตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร ผู้ป่วยที่มีภาวะโพแทสเซียมและแมกนีเซียมในเลือดต่ำ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยา

4. สตูเจอรอน (Stugeron) ขนาดแผงละ 10 เม็ด

Sep-24-03-04

 

สตูเจอรอน เป็นยาที่มีส่วนประกอบของซินนาริซีน 25 มิลลิกรัมต่อ 1 เม็ด ซึ่งนิยมใช้ช่วยบรรเทาอาการเวียนหัว คลื่นไส้ เนื่องจากซินนาริซีนมีคุณสมบัติต้านผลของฮีสตามีน มีฤทธิ์กดประสาท และช่วยให้การไหลเวียนเลือดในหูชั้นในดีขึ้น จึงสามารถบรรเทาอาการอาเจียนจากการเมารถ เมาเรือ และหูชั้นในอักเสบได้

สำหรับการแก้อาเจียนที่เกิดจากการเมารถ เมาเรือ ผู้ใหญ่และเด็กอายุ 13 ปีขึ้นไป ควรรับประทาน 1 เม็ด ก่อนออกเดินทางครึ่งชั่วโมง ส่วนเด็กอายุ 6–12 ปี ควรรับประทานครึ่งเม็ดก่อนออกเดินทางครึ่งชั่วโมง และหากจำเป็นต้องรับประทานยาอีกครั้ง ผู้ใหญ่และเด็กควรเว้นระยะการรับประทานยา 6 ชั่วโมง

หากใช้ยาสตูเจอรอนเพื่อแก้อาการอาเจียนที่เกิดจากหูชั้นในอักเสบ ผู้ใหญ่และเด็กที่อายุมากกว่า 12 ปีขึ้นไป ควรรับประทานยาครั้งละ 1 เม็ด จำนวน 3 ครั้งต่อวัน ส่วนเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี ควรรับประทานยาครั้งละประมาณครึ่งเม็ด จำนวน 3 ครั้งต่อวัน 

ผู้ที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคพาร์กินสันควรระมัดระวังในการใช้ยาเป็นพิเศษ หญิงตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร และเด็กควรหลีกเลี่ยงการใช้ยา

5. เวนซิกซ์ (Vensix) 

Sep-24-03-05

 

ยาแก้อาเจียนเวนซิกซ์ ใน 1 เม็ดมียาไดเมนไฮดริเนต 50 มิลลิกรัม มีฤทธิ์ยับยั้งสารสื่อประสาท และมีวิตามินบี 6 10 มิลลิกรัม ทำให้เวนซิกซ์สามารถบรรเทาการอาเจียนจากการแพ้ท้องได้โดยเฉพาะ รวมถึงบรรเทาอาการคลื่นไส้ อาเจียนจากการเมารถ เมาเรือ และเมาเครื่องบินได้ 

หากใช้ยาเพื่อป้องกันอาการคลื่นไส้ อาเจียนจากการเดินทาง ควรรับประทาน 30 นาที–1ชั่วโมงก่อนเดินทาง โดยผู้ใช้ยาอาจปรึกษาเรื่องปริมาณการใช้ยาเวนซิกซ์กับเภสัชกรก่อนรับประทาน 

สำหรับปริมาณการใช้ยาเวนซิกซ์จะแตกต่างกันไปตามช่วงอายุ โดยผู้ใหญ่และเด็กที่อายุมากกว่า 12 ปีขึ้นไปรับประทานครั้งละ 1 เม็ด ทุก 4–6 ชั่วโมง และไม่ควรรับประทานเกิน 6–8 เม็ดใน 1 วัน ส่วนเด็กอายุ 2–5 ปี รับประทานครั้งละ ¼ – ครึ่งเม็ด แต่ละครั้งควรห่างกัน 6–8 ชั่วโมง และไม่ควรรับประทานเกิน 1 เม็ดครึ่งใน 1 วัน 

สำหรับเด็กอายุ 6 ปีขึ้นไป แต่น้อยกว่า 12 ปี ควรรับประทานครั้งละครึ่ง–1 เม็ด ห่างกัน 6–8 ชั่วโมง และไม่ควรรับประทานเกิน 3 เม็ดใน 1วัน ทั้งนี้ ผู้ที่มีโรคประจำตัว เด็ก คนชรา ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยา

6. ยาดมตราโบว์แดง (Bow Daeng herbal inhaler) สีเขียว

sep-24-03-07

 

ยาดมโบว์แดง เป็นยาดมที่มีส่วนประกอบของสมุนไพรหลายชนิด ได้แก่ เกล็ดสะระแหน่ 50 กรัม น้ำมันยูคาลิปตัส 50 กรัม พิมเสน 50 กรัม ผิวผลมะกรูด 100 กรัม ผิวผลมะงั่ว 100 กรัม ผิวผลมะนาว 100 กรัม และผิวผลส้มจีน 100 กรัม ซึ่งสมุนไพรเหล่านี้ทำให้ยาดมมีกลิ่นหอม สดชื่น ช่วยบรรเทาอาการเวียนหัวที่เป็นสาเหตุของการคลื่นไส้ อาเจียนได้โดยตรง และเห็นผลทันที

ไม่ควรใช้ยาดมร่วมกันกับผู้อื่น เนื่องจากอาจทำให้เกิดการแพร่เชื้อได้ ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจและเด็กเล็กควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาดม นอกจากนี้ หญิงตั้งครรภ์แต่ละคนอาจตอบสนองต่อยาไม่เหมือนกัน จึงควรใช้อย่างระมัดระวังและให้เหมาะสมกับอาการของแต่ละคน

นอกจากการใช้ยาแก้อาเจียน ผู้ที่มีอาการเวียนหัว คลื่นไส้ อาจบรรเทาอาการได้เองที่บ้านด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น การจิบน้ำเย็น การสูดลมหายใจลึก ๆ เพื่อเพิ่มออกซิเจนให้ร่างกาย รับประทานอาหารที่ช่วยบรรเทาอาการเวียนหัว หลีกเลี่ยงของทอด และขยับร่างกายอย่างสม่ำเสมอร่วมด้วย 

 ผู้ใช้ยาแก้อาเจียน ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกรอย่างเคร่งครัด และควรอ่านฉลากให้ครบถ้วนก่อนใช้ยาากอาการไม่ดีขึ้น มีภาวะขาดน้ำ รู้สึกสับสน อาเจียนจากการกระทบกระเทือนที่ศีรษะ อาเจียนเป็นเลือด อาเจียนร่วมกับท้องเสีย หายใจถี่ ปวดหัวอย่างรุนแรง ควรพบแพทย์ทันที