ยา PrEP (Pre-Exposure Prophylaxis) เป็นยาต้านไวรัสชนิดรับประทานที่ใช้ป้องกันการติดเชื้อ HIV สำหรับผู้ที่ยังไม่ติดเชื้อ HIV แต่มีความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์หรือการใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น ซึ่งยา PrEP จะช่วยป้องกันการติดเชื้อ HIV รวมถึงช่วยยับยั้งการเพิ่มจำนวนและแพร่กระจายของเชื้อ HIV ในร่างกาย ทำให้เชื้อไวรัสไม่สามารถเติบโตได้
ยา PrEP ชนิดรับประทานประกอบด้วยตัวยา 2 ชนิดใน 1 เม็ดคือทีโนโฟเวียร์ (Tenofovir) และเอ็มตริไซตาบีน (Emtricitabine) และในปัจจุบัน องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA) อนุมัติให้ใช้ยา PrEP ชนิดฉีดแล้วในบางประเทศ ซึ่งประเทศไทยกำลังพิจารณาอนุมัติให้ใช้ยานี้เป็นทางเลือกในการป้องกัน HIV ในอนาคต
ข้อควรรู้เกี่ยวกับยา PrEP
การใช้ยา PrEP มีข้อมูลที่ควรรู้และควรระวังในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. คนที่ควรใช้ยา PrEP
ยา PrEP ใช้กับผู้ที่มีผลตรวจ HIV เป็นลบ ซึ่งหมายถึงยังไม่ติดเชื้อ HIV แต่มีพฤติกรรมเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อ เช่น
- มีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนที่ติดเชื้อหรือมีความเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อ HIV รวมทั้งกรณีที่ไม่ทราบผลเลือดของคู่นอนว่าติดเชื้อ HIV หรือไม่
- มีคู่นอนหลายคน หรือเปลี่ยนคู่นอนบ่อย โดยไม่ได้สวมถุงยางอนามัย
- มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักโดยไม่สวมถุงยางอนามัย
- มีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา
- ใช้สารเสพติดชนิดฉีด โดยใช้เข็มหรืออุปกรณ์อื่นร่วมกับผู้อื่นในการฉีดยา
- รับประทานยา PEP (Post-Exposure Prophylaxis) เป็นประจำ แต่ไม่สามารถเลี่ยงพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้
โดยทั่วไป ผู้ที่มีอายุ 16 ปีขึ้นไป มีน้ำหนักตัวมากกว่า 35 กิโลกรัม และมีผลตรวจ HIV เป็นลบ สามารถใช้ยา PrEP ได้ แต่ในบางกรณี แพทย์อาจจ่ายยา PrEP ให้เด็กอายุต่ำกว่า 16 ปี หากพิจารณาว่ามีความเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อ HIV
2. ความแตกต่างระหว่างยา PrEP และยา PEP
ยา PrEP เป็นยาต้านไวรัสที่รับประทานก่อนที่จะมีพฤติกรรมเสี่ยงติดเชื้อ HIV ส่วนยา PEP เป็นยาต้านไวรัส HIV แบบฉุกเฉินที่จำเป็นต้องรับประทานทันทีหรือเร็วที่สุดภายใน 72 ชั่วโมงหลังมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อ HIV เช่น
- มีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่อาจมีเชื้อ HIV และไม่ได้ใช้ถุงยางอนามัย ถุงยางอนามัยหลุดหรือฉีกขาด
- ถูกล่วงละเมิดทางเพศ
- ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น
ตัวยา PEP มีหลายสูตร ซึ่งการเลือกใช้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ โดยต้องรับประทานต่อเนื่องกันให้ครบ 28 วัน และในระหว่างที่รับประทานยา แพทย์จะนัดให้มาตรวจหาเชื้อ HIV และตรวจอื่น ๆ เพิ่มเติม
3. ประสิทธิภาพของยา PrEP
ยา PrEP จะมีประสิทธิภาพมากหากรับประทานอย่างต่อเนื่องทุกวัน ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ HIV จากการมีเพศสัมพันธ์ได้ถึง 99% และช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV ในผู้ที่ใช้สารเสพติดชนิดฉีดได้อย่างน้อย 74% หากไม่รับประทานยาอย่างต่อเนื่อง ประสิทธิภาพในการป้องกัน HIV จะลดลง
ทั้งนี้ ยา PrEP ไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ เช่น ซิฟิลิส (Syphilis) หนองในแท้ (Gonorrhea) และหนองในเทียม (Chlamydia) ได้ จึงยังจำเป็นต้องใช้ถุงยางอนามัยในการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
4. คนที่ไม่ควรใช้ยา PrEP
ยา PrEP ไม่ควรใช้ในเด็กที่อายุต่ำกว่า 12 ปี ซึ่งแพทย์จะให้คำแนะนำในการป้องกันเชื้อ HIV ที่เหมาะสมด้วยวิธีอื่นแทน นอกจากนี้ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบหากมีปัจจัยสุขภาพหรือโรคประจำตัวดังต่อไปนี้
- มีประวัติแพ้ยาทีโนโฟเวียร์ ยาเอ็มตริไซตาบีน และยาอื่น ๆ
- มีโรคไวรัสตับอักเสบ
- มีโรคตับและไตขั้นรุนแรง
- มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง
- ติดเชื้อ HIV
ผู้หญิงที่วางแผนตั้งครรภ์ กำลังตั้งครรภ์ และให้นมบุตรสามารถใช้ยา PrEP ได้อย่างปลอดภัย เนื่องจากตัวยาไม่ส่งผลกระทบต่อการตั้งครรภ์และสุขภาพของทารก โดยเฉพาะคนที่มีคู่นอนที่ติดเชื้อ HIV ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการรับประทานยา PrEP ซึ่งอาจช่วยป้องกันการติดเชื้อ HIV ทั้งในแม่และเด็ก
5. การเตรียมตัวก่อนใช้ยา PrEP
PrEP เป็นยาที่ไม่สามารถหาซื้อได้กษาและตรวจเลือด HIV โดยสมัครใจ (Voluntary Counseling and Testing) ได้ที่คลินิกนิรนาม สภากาชาดไทย โดยรับการประเมินความเสี่ยงจากเจ้าหน้าที่ และรับยา PrEP กลับบ้าน คลินิกเปิดให้บริการทุกวันจันทร์ถึงเสาร์ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่เบอร์โทรศัพท์ 0–2251–6711–5
เอง และต้องสั่งจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น โดยก่อนรับยาแพทย์จะสอบถามประวัติสุขภาพ ประวัติการใช้ยา พร้อมทั้งตรวจเลือดหาเชื้อ HIV ตรวจการทำงานของตับและไต และตรวจหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ก่อนจะให้คำแนะนำในการรับประทานและจ่ายยาให้
นอกจากนี้ สามารถรับบริการการปรึกษาและตรวจเลือด HIV โดยสมัครใจ (Voluntary Counseling and Testing) ได้ที่คลินิกนิรนาม สภากาชาดไทย โดยรับการประเมินความเสี่ยงจากเจ้าหน้าที่ และรับยา PrEP กลับบ้าน คลินิกเปิดให้บริการทุกวันจันทร์ถึงเสาร์ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่เบอร์โทรศัพท์ 0–2251–6711–5
การรับยา PrEP ในปัจจุบันสำหรับผู้มีสิทธิบัตรประกันสุขภาพ 30 บาทของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สามารถไปรับยาฟรีได้ที่โรงพยาบาลตามสิทธิของตนเอง หรือที่ศูนย์บริการ 30 แห่งทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัด ส่วนผู้มีสิทธิประกันสังคม ข้าราชการ รัฐวิสาหกิจสามารถรับยาได้ที่ศูนย์บริการ 30 แห่งทั่วประเทศได้เช่นกัน โดยสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วน สปสช. 1330 กด 16
7. วิธีรับประทานยา PrEP
การรับประทานยา PrEP มี 2 วิธี ดังนี้
ยา PrEP ชนิดรับประทานทุกวัน (Daily PrEP)
ยา PrEP รูปแบบนี้เหมาะกับผู้ที่ไม่สามารถวางแผนการมีเพศสัมพันธ์ได้ล่วงหน้า โดยรับประทานวันละ 1 เม็ดพร้อมอาหารหรือหลังอาหารในเวลาเดิมทุกวัน เริ่มรับประทานเม็ดแรก 7 วันก่อนมีเพศสัมพันธ์ แต่กรณีที่คิดว่าจะมีเพศสัมพันธ์ภายใน 7 วันแรกที่รับประทานยา ให้รับประทานยา 2 เม็ดก่อนมีเพศสัมพันธ์อย่างน้อย 2 ชั่วโมง จากนั้นรับประทานวันละ 1 เม็ดในวันถัดไป
โดยให้รับประทานยาต่อไปอีก 7 วันหลังจากมีเพศสัมพันธ์ครั้งล่าสุดจึงจะหยุดได้ หากลืมรับประทานยา ให้รับประทานทันทีที่นึกได้ แต่หากลืมรับประทานยาเกิน 12 ชั่วโมงของเวลาที่รับประทานปกติ ให้ข้ามไปรับประทานในมื้อถัดไป ไม่ควรลืมรับประทานยาบ่อย ๆ เพราะจะทำให้ประสิทธิภาพการป้องกันเชื้อ HIV ลดลง
ยา PrEP ชนิดรับประทานตามวันที่ต้องการ (PrEP On-Demand)
การรับประทานยารูปแบบนี้เหมาะสำหรับคนที่วางแผนการมีเพศสัมพันธ์ได้ล่วงหน้า และเหมาะกับผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก โดยมีสูตรในการรับประทานยาคือ 2:1:1 ดังนี้
- รับประทาน 2 เม็ดแรกก่อนมีเพศสัมพันธ์ 2–24 ชั่วโมง
- รับประทาน 1 เม็ดถัดไปหลังมีเพศสัมพันธ์ไปแล้ว 24 ชั่วโมง
- รับประทาน 1 เม็ดสุดท้ายหลังจากรับประทานเม็ดที่ 2 ไปแล้ว 24 ชั่วโมง หากมีเพศสัมพันธ์ต่อเนื่อง ให้กินอีก 1 เม็ดทุก 24 ชั่วโมงจนถึงวันสุดท้ายที่มีเพศสัมพันธ์ และรับประทานยาต่อไปอีก 2 วันหลังจากมีเพศสัมพันธ์ครั้งสุดท้าย
ไม่ควรรับประทานยา PrEP ชนิด On-Demand หากมีโรคไวรัสตับอักเสบบี เนื่องจากอาจทำให้เชื้อไวรัสตับอักเสบบีทำงานมากขึ้นและนำไปสู่ภาวะตับอักเสบตามมา
ในระหว่างการทานยา PrEP จะต้องมีการตรวจเลือดทุก 3 เดือน เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีเชื้อ HIV ไม่มีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ รวมถึงตรวจปัสสาวะเพื่อดูการทำงานของไต แพทย์จึงจะจ่ายยาให้ใหม่ได้
7. การหยุดยา PrEP
บางคนต้องการหยุดรับประทานยา PrEP ด้วยเหตุผลต่าง ๆ เช่น
- ความเสี่ยงในการติดเชื้อ HIV ลดลง เนื่องจากไม่มีเพศสัมพันธ์หรือไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงติดเชื้อ HIV
- ลืมรับประทานยาบ่อย หรือไม่สะดวกรับประทานยาในเวลาเดิมทุกวัน
- เกิดผลข้างเคียงต่อสุขภาพและการใช้ชีวิตประจำวันจากการรับประทานยา PrEP
- ผลการตรวจเลือดพบว่าการรัยประทานยาทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกาย
การหยุดรับประทานยา PrEP เท่ากับการหยุดป้องกันการติดเชื้อ HIV หากต้องการหยุดยา ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำในการป้องกันการติดเชื้อ HIV ด้วยวิธีอื่นที่เหมาะสม ทั้งนี้ ควรรับประทานยาต่อเนื่องกันเป็นเวลาอย่างน้อย 28 วันหลังจากมีเพศสัมพันธ์หรือมีพฤติกรรมเสี่ยงติดเชื้อ HIV ก่อนการหยุดยา
8. ผลข้างเคียงจากยา PrEP
โดยทั่วไป การรับประทานยา PrEP มักไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่อสุขภาพ แต่บางคนอาจมีอาการท้องอืด ท้องเสีย คลื่นไส้ ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ และนอนไม่หลับ ซึ่งอาการมักไม่รุนแรงและดีขึ้นภายในไม่กี่วันหรือไม่กี่สัปดาห์หลังเริ่มรับประทานยา หากมีอาการเวียนศีรษะไม่ควรขับรถและทำงานที่ใช้เครื่องจักรเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ
นอกจากนี้ ยา PrEP อาจส่งผลต่อกระดูก โดยเฉพาะผู้ที่มีความหนาแน่นของมวลกระดูกน้อย และส่งผลต่อการทำงานของตับ แพทย์จึงจำเป็นต้องสอบถามประวัติสุขภาพและตรวจการทำงานของตับทั้งก่อนการรับประทานยาและช่วงระหว่างรับประทานยา และบางคนอาจมีอาการแพ้ยาอย่างรุนแรง (Anaphylaxis) แต่พบได้น้อย
หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ วางแผนจะตั้งครรภ์ และกำลังให้นมบุตรสามารถรับประทานยา PrEP ได้อย่างปลอดภัย แต่ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ หากทารกมีอาการผิดปกติ เช่น ไม่ดื่มนมหรือไม่รับประทานอาหาร น้ำหนักตัวทารกไม่เพิ่มขึ้น ทารกมีอาการปวดท้อง ท้องเสีย และนอนหลับยาก ควรปรึกษาแพทย์เช่นกัน
9. ปฏิกิริยาระหว่างยา PrEP และยาอื่น
การใช้ยาอื่น เช่น การใช้ฮอร์โมนทดแทน และยาคุมกำเนิดได้ทุกประเภท เช่น ยาเม็ด ยาฝัง ยาฉีด แผ่นแปะ และห่วงคุมกำเนิด พร้อมกับยา PrEP มักไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ แต่ควรแจ้งให้แพทย์ทราบหากกำลังใช้ยาหรืออาหารเสริมชนิดใดอยู่ โดยเฉพาะผู้ที่ใช้ยาเหล่านี้
- ยา NSAIDs เช่น ไอบูโพรเฟน ไดโคลฟีแนค และนาพร็อกเซน การใช้ยานี้พร้อมกับยา PrEP อาจส่งผลต่อการทำงานของตับ
- ยารักษาไวรัสตับอักเสบซี เช่น โซฟอสบูเวียร์ (Sofosbuvir) และเลดิพาสเวียร์ (Ledipasvir)
- ยาอนาบอลิกสเตียรอยด์ (Anabolic Steroids) การใช้ยานี้พร้อมกับยา PrEP อาจทำให้คอเลสเตอรอลสูง
นอกจากการรับประทานยา PrEP อย่างสม่ำเสมอตามที่แพทย์สั่ง ควรป้องกันการติดเชื้อ HIV ด้วยการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย ด้วย เช่น ไม่มีคู่นอนหลายคนหรือเปลี่ยนคู่นอนบ่อย ตรวจหาโรคติตต่อทางเพศสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอ และ สวมถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ ซึ่งจะช่วยป้องกันการติดเชื้อ HIV และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้