ฝีดาษลิงอาการเริ่มต้นที่ควรสังเกต

ฝีดาษลิงอาการเริ่มต้นของแต่ละคนอาจแตกต่างกันไป อาการที่พบได้บ่อยคืออาการคล้ายไข้หวัดใหญ่และมีตุ่มขึ้นตามร่างกาย แต่บางคนที่ติดเชื้อฝีดาษลิงอาจไม่มีอาการใด ๆ เลยก็ได้ ซึ่งทำให้อาจแพร่เชื้อไปสู่คนใกล้ชิดโดยที่ไม่รู้ตัว  

ฝีดาษลิง (Mpox หรือ Monkeypox) เกิดจากการติดเชื้อไวรัสในกลุ่มกลุ่มออร์โทพอกซ์ (Orthopoxvirus) ที่ทำให้เกิดโรคฝีดาษ ซึ่งเป็นโรคที่สามารถติดต่อกันได้จากการสัมผัสใกล้ชิดกับคนและสัตว์ที่ติดเชื้อ รวมถึงการใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกัน หากสังเกตว่ามีฝีดาษลิงอาการเริ่มต้นควรดูแลตัวเองที่บ้าน เพื่อช่วยให้อาการหายได้เร็วขึ้นและป้องกันการแพร่เชื้อฝีดาษลิงไปสู่ผู้อื่น

Early Symptoms of Mpox

รู้จักกับฝีดาษลิงอาการเริ่มต้น

อาการฝีดาษลิงมักเกิดขึ้นภายใน 3–21 วันหลังจากได้รับเชื้อไวรัสฝีดาษลิง โดยแบ่งฝีดาษลิงอาการเริ่มต้นออกเป็น 2 กลุ่มอาการ ดังนี้

1. ตุ่มขึ้นตามตัว

ฝีดาษลิงอาการเริ่มต้นที่อาจสังเกตได้คือการมีตุ่มหรือผื่นขึ้นตามบริเวณต่าง ๆ ทั่วร่างกาย โดยอาจเริ่มจากใบหน้า ปาก ลำคอ แล้วลามไปยังส่วนอื่น เช่น หน้าอก ฝ่ามือ ฝ่าเท้า บริเวณอวัยวะเพศ เช่น องคชาต ช่องคลอด อัณฑะ และทวารหนัก 

โดยในช่วงแรกตุ่มที่ขึ้นตามตัวจะมีลักษณะเป็นตุ่มแดงราบไปกับผิวหนัง โดยอาจจำนวนไม่มาก หรืออาจมีผื่นกระจายเป็นบริเวณกว้าง บางคนอาจมีรู้สึกเจ็บและคันร่วมด้วย จากนั้นตุ่มจะเริ่มมีขนาดใหญ่และนูนขึ้น กลายเป็นตุ่มน้ำใสและมีหนองอยู่ภายใน เมื่อเวลาผ่านไปประมาณ 1 สัปดาห์ ตุ่มจะเริ่มแห้งและสะเก็ดแผลจะหลุดออก  

ลักษณะของตุ่มหรือผื่นจากฝีดาษลิงอาการเริ่มต้นอาจมีลักษณะคล้ายผื่นที่เกิดจากโรคอีสุกอีใส และหากตุ่มดังกล่าวขึ้นบริเวณอวัยวะเพศและทวารหนักอาจมีลักษณะคล้ายกับอาการจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้

2. อาการคล้ายไข้หวัดใหญ่

ฝีดาษลิงอาการเริ่มต้นอีกกลุ่มอาการหนึ่งคืออาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ เช่น

ฝีดาษลิงอาการเริ่มต้นของแต่ละคนจะแตกต่างกัน บางคนอาจติดเชื้อแต่ไม่แสดงอาการ บางคนอาจมีตุ่มขึ้นตามตัวแต่ไม่มีอาการอื่นตามมา หรือเริ่มมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่หลังจากตุ่มตกสะเก็ดและหายไป แต่บางคนอาจมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ก่อน แล้วจึงมีตุ่มขึ้นตามร่างกายทีหลัง

โดยทั่วไป อาการต่าง ๆ มักหายไปเองภายใน 2–4 สัปดาห์หลังจากเกิดฝีดาษลิงอาการเริ่มต้น ในระหว่างที่อาการยังไม่หายดี ผู้ติดเชื้อควรดูแลตัวเองที่บ้าน เช่น พักผ่อนมาก ๆ ดื่มน้ำให้เพียงพอ รับประทานยาแก้ปวดลดไข้ และควรป้องกันการแพร่เชื้อด้วยการกักตัวและแยกของใช้ส่วนตัวจากคนอื่น ล้างมือบ่อย ๆ และสวมหน้ากากอนามัยจนกว่าอาการจะหายดี สะเก็ดแผลหลุดออกหมด และเกิดผิวใหม่ขึ้นมาทดแทน

แต่ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ติดเชื้อ HIV ทารก เด็กเล็ก ผู้ที่ตั้งครรภ์ อาจหายได้ช้า เสี่ยงต่อการเกิดอาการฝีดาษลิงรุนแรงได้มากกว่าคนทั่วไป หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้ คนกลุ่มนี้จึงควรไปพบแพทย์หากสังเกตเห็นฝีดาษลิงอาการเริ่มต้น รวมถึงคนที่มีอาการหายใจลำบาก คอแข็ง เจ็บหน้าอก สับสน และชัก ควรรับไปพบแพทย์ทันที