เพิ่มน้ำนม เคล็ดไม่ลับสำหรับคุณแม่มือใหม่

เพิ่มน้ำนม เป็นวิธีที่ช่วยให้หญิงตั้งครรภ์มีปริมาณน้ำนมมากขึ้นอย่างเพียงพอต่อการให้นมทารกหลังคลอด เช่น รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ปั๊มนม โดยปัญหาน้ำนมน้อยเป็นสิ่งที่คุณแม่หลายคนเป็นกังวล ซึ่งอาจเกิดจากการที่ร่างกายผลิตน้ำนมได้น้อย หรือมีปัญหาในการหลั่งน้ำนม โดยอาจเป็นผลจากการพักผ่อนไม่เพียงพอ มีภาวะเครียด การใช้ยา ความผิดปกติของฮอร์โมนหรือโรคอื่น ๆ ขณะตั้งครรภ์ 

นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก เพราะประกอบด้วยสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต และช่วยเสริมภูมิคุ้มกันแก่ทารก องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ทารกตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 เดือนดื่มนมแม่เพียงอย่างเดียว และควรให้นมแม่ต่อเนื่องไปจนถึงอายุ 2 ปี ควบคู่กับอาหารตามช่วงวัย คุณแม่จึงควรเตรียมตัวเพิ่มน้ำนมตั้งแต่ก่อนคลอด เพื่อให้มีปริมาณน้ำนมแม่เพียงพอต่อการเลี้ยงดูลูกน้อยให้เติบโตขึ้นอย่างสมบูรณ์และแข็งแรง

ภาวะโภชนาการของคุณแม่มีความสำคัญต่อปริมาณและคุณภาพของนํ้านมแม่ หากรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ไม่เพียงพออาจส่งให้มีน้ำนมไม่มีคุณภาพ หรือไม่พอต่อการเลี้ยงดูทารกเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 6 เดือนหลังคลอด ซึ่งอาจทำให้การเจริญเติบโตของทารกไม่เป็นไปตามวัย และมีสุขภาพไม่แข็งแรง

Increase Breast Milk

คุณแม่อาจเลือกรับประทานผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารสกัดที่ช่วยเพิ่มน้ำนม เช่น ซุปไก่สกัดสูตรผสมขิง ซึ่งคาร์โนซีนในซุปไก่สกัดมีส่วนช่วยลดความเครียดและความเหนื่อยล้าของคุณแม่ ทั้งในช่วงตั้งครรภ์และช่วงให้นมบุตร ช่วยกระตุ้นปริมาณน้ำนมให้มากขึ้น และมีส่วนช่วยเพิ่มสารอาหารในน้ำนมแม่ เช่น Lactoferrin, EGF และ TGF-Beta ซึ่งเป็นสารอาหารสำคัญต่อการเจริญเติบโตและเสริมภูมิคุ้มกันให้ทารกที่ดื่มนมแม่ 

โดยแนะนำให้ดื่มเมื่ออายุครรภ์ 37 สัปดาห์ และสามารถดื่มได้ต่อเนื่องจนถึงหลังคลอด โดยเลือกผลิตภัณฑ์ที่ผ่านกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐาน สะอาด และมีสารอาหารที่ช่วยในการเพิ่มน้ำนม เช่น กรดอะมิโน คาร์โนซีน วิตามิน และสารสกัดจากขิงที่ช่วยกระตุ้นการผลิตน้ำนมแม่ตามธรรมชาติ (Natural Galactagogues)

ทั้งนี้ ก่อนที่คุณแม่ตั้งครรภ์จะเลือกรับประทานอาหารเสริมชนิดใดก็ตาม ควรปรึกษาแพทย์เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพครรภ์ และรับประทานในปริมาณที่ระบุบนฉลาก หากคุณแม่มีปัญหาน้ำนมน้อยหลังคลอดที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตตามวัยของทารก ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำในการเพิ่มน้ำนมต่อไป

เขียนโดย กองบรรณาธิการ POBPAD
อัปเดทล่าสุด 23 กรกฎาคม 2567
ตรวจสอบความถูกต้องโดย กองบรรณาธิการทางการแพทย์ POBPAD