ถามแพทย์

  • ้เครียด คิดทำร้ายตัวเอง มีอาการเจ็บเหมือนหัวใจโดนบีบรัด แน่นหน้าอก หายใจไม่ออกเหมือนไม่เต็มปอด

  •  Sudruthai Susinna
    สมาชิก
    เป้นนานละเรื่องเครียดหลายอย่างคิดทำร้ายตัวเอง จนถึงขั้นแบบจะกินยาล้างห้องน้ำ ผงซักฟอก ยานอนหลับ หรือผูกคอดี แต่ก้ได้แค่แวบๆเข้าสมอง คิดวนไปวนมา แต่ก้ไม่ได้ทำเพราะยังคิดถึงแม่อยุ แต่หลังๆมาตั้งแต่ปลายปีมานี้มีอาการเจ็บอกซ้ายลงมาใต้ๆราวนม แสบๆไปหลังซีกซ้าย..เวลาเจ็บมันเหมือนหัวใจโดนบีบรัดเข้า..รัดเข้า แน่นหน้าอก หายใจไม่ออกเหมือนไม่เต้มปอด เหนื่อยหอบ เดินนิดเดียวหอบละ จะเป็นตอนที่มีเหตุการณ์สะเทือนใจตื่นเต้น..หรือใช้แรงเยอะๆ (แต่ส่วนมากจะเป็นตอนร้องไห้หนักๆ) เพราะใจเต้นแรงแล้วจะเริ่มเหมือนใจโดนบีบแน่นขึ้นแล้วแสบๆ ขนาดหยุดร้องแล้วยังจะมีอาการอยุซัก1-3.ชม. แต่บางครั้งนั่งเฉยๆคิดเรื่องเครียดๆจู่จู่ก้ชอบถอนหายใจบ่อยๆ เป้นเพราะหายใจไม่เต้มปอด

    สวัสดีค่ะคุณ   Sudruthai Susinna   

    อาการเจ็บหน้าอกเกิดได้จากหลายสาเหตุ เนื่องจากบริเวณหน้าอกเป็นตำแหน่งของอวัยวะหลายอย่าง ได้แก่ ผิวหนัง เต้านม กล้ามเนื้อทรวงอก กระดูกทรวงอก ปอด หัวใจ เส้นเลือดแดงใหญ่ หลอดอาหาร เมื่อเกิดอาการเจ็บบริเวณหน้าอกก็อาจเกิดจากพยาธิสภาพของอวัยวะเหล่านี้ เช่น

    • เกิดจากผนังทรวงอก ได้แก่ กล้ามเนื้อ หรือกระดูกบริเวณอกมีอาการอักเสบ หรือการติดเชื้อบางอย่างบริเวณผิวหนัง

      • สาเหตุจากปอด ได้แก่ ปอดอักเสบ

      • เกิดจากทางเดินอาหาร เช่น กรดไหลย้อน

      • เกิดจากหัวใจ ได้แก่ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ภาวะหัวใจวาย

      • สาเหตุทางด้านจิตใจ เช่น ภาวะกังวล โรคแพนิค (Panic)

      • สาเหตุอื่น ๆ ได้แก่ หลอดเลือดอุดตันที่ปอด หลอดเลือดแดงใหญ่ฉีกขาด ซึ่งพบได้น้อย

        หากว่ามีอาการเจ็บมาก มีอาการเหงื่อออก หน้ามืด เป็นลม ควรต้องรีบพบแพทย์โดยด่วนค่ะ

        ส่วนการเกิดอารมณ์เศร้า อยากตายนั้น อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่ โรคทางต่อมไร้ท่อ เช่น ไทรอยด์ทำงานมากหรือน้อยเกินไป การใช้ยาบางประเภท ที่ส่งผลต่อจิตและประสาท เช่น ยาลดความดันโลหิตบางชนิด ยารักษาสิวบางชนิด ยาสเตียรอยด์ ยาคุมกำเนิด ยากันชัก และสารเสพติดบางอย่าง เป็นต้น โรคทางอารมณ์ เช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล ภาวะเศร้าที่เกิดจากการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก เป็นต้น แนะนำว่า ควรพบแพทย์เพื่อขอความช่วยเหลือโดยเร็ว หรืออาจใช้บริการสายด่วนสุขภาพจิต ของกรมสุขภาพจิต โทร 1667 ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ในการใช้บริการ เพื่อปรึกษาอาการเบื้องต้น เมื่อไปพบแพทย์ แพทย์อาจจะซักถาม ตรวจร่างกาย และอาจพิจารณาตรวจเพิ่มเติมทางห้องปฏิบัติการหากจำเป็น เพื่อค้นหาสาเหตุ และให้การรักษาที่ถูกต้องต่อไป

        ขอเป็นกำลังใจให้ค่ะ

         

    Sudruthai Susinna  Sudruthai Susinna
    สมาชิก
    ขอบคุนมากๆสำหรับคำแนะนำนะคะ 😀