7 ยาแก้ปวดหลังที่บรรเทาปวดได้ดีและหาซื้อง่าย

ยาแก้ปวดหลังคือยาที่ช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อย ปวดแปลบ ปวดร้าวบริเวณหลังส่วนต่าง ๆ หรือทั่วทั้งแผ่นหลัง โดยยาแก้ปวดหลังนั้นมีหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นยาสำหรับประทาน หรือยาที่อยู่ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น เจล สเปรย์ พลาสเตอร์ แผ่นประคบร้อน โดยแต่ละแบบมีวิธีใช้และกลไกที่ช่วยบรรเทาปวดต่างกันไป       

ปวดหลังเป็นอาการปวดรูปแบบหนึ่งที่อาจกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของเรา เช่น อาจส่งผู้ที่ต้องทำงานนั่งโต๊ะ หรือทำงานที่ต้องใช้ร่างกายอย่างหนักเป็นประจำลำบากมากขึ้น รวมถึงอาจส่งผลให้การทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การออกกำลังกาย การเดินทางท่องเที่ยว หรือการออกไปใช้เวลาพบปะเพื่อนฝูงและครอบครัวต้องลดลง ยาแก้ปวดหลังจึงเป็นตัวช่วยอย่างหนึ่งอาจอาการปวดบรรเทาลงและสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ดีขึ้น       

 Back Pain Medicine

ยาแก้ปวดหลัง ตัวช่วยบรรเทาปวดหลังที่มีประสิทธิภาพ

ยาแก้ปวดหลังแต่ละตัวมีวิธีใช้งานและประโยชน์ที่ต่างกันไป โดยยาพลาสเตอร์ เจล และสเปรย์สำหรับใช้ภายนอกจะเหมาะกับการแก้ปวดหลังเฉพาะจุด ในขณะที่ยาเม็ดสำหรับกินจะเหมาะกับการบรรเทาปวดทั่วทั้งแผ่นหลังและเฉพาะจุด รวมถึงบรรเทาปวดมาก ส่วนแผ่นประคบร้อนก็เหมาะกับการบรรเทาปวดเฉพาะจุดและเหมาะกับผู้ที่แพ้ยาง่าย 

ด้วยรูปแบบยาที่หลากหลาย ผู้ที่ประสบปัญหาปวดหลังสามารถเลือกซื้อยาแก้ปวดหลังที่เหมาะสำหรับการอาการและการใช้งานของแต่ละคนได้จากตัวอย่างยา ดังนี้   

1. ไทลินอล (Tylenol) 500 มิลลิกรัม แผงละ 10 เม็ด

Tylenol

ไทลินอลเป็นยาแก้ปวดที่มีประสิทธิภาพเพราะมีส่วนผสมของยาพาราเซตามอล 500 มิลลิกรัมต่อ 1 เม็ด ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งสารเคมีในสมองที่ทำให้เกิดอาการเจ็บปวด จึงสามารถใช้เป็นยาแก้ปวดหลังซึ่งเกิดจากสาเหตุทั่วไปได้ เช่น นั่งหลังงอ ยกของหนัก นอกจากนี้ ไทลินอลยังปลอดภัย เพราะไม่ส่งผลข้างเคียงมาก ทั้งยังไม่ระคายเคืองกระเพาะอาหาร จึงเหมาะแก่ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะอาหาร

ผู้ใหญ่และเด็กที่อายุมากกว่า 12 ปี สามารถกินไทลีนอลได้ทันทีเมื่อมีอาการปวดหลัง โดยผู้ที่มีน้ำหนักตัว 34–50 กิโลกรัม กินครั้งละ 1 เม็ด ผู้ที่มีน้ำหนัก 50–67 กิโลกรัม กินครั้งละ 1 เม็ดครึ่ง วันละไม่เกิน 5 ครั้ง และผู้ที่มีน้ำหนักมากกว่า 67 กิโลกรัม กินครั้งละ 2 เม็ด ไม่เกิน 4 ครั้งต่อวัน 

2. โกเฟน (Gofen) 400 แผงละ 10 แคปซูล

Sep-24-04-03

 

โกเฟนสามารถใช้เป็นยาแก้ปวดหลังได้ เนื่องจากเป็นยาที่มีส่วนผสมของไอบูโพรเฟน 400 มิลลิกรัมต่อ 1 แคปซูล ซึ่งเป็นยาที่จัดอยู่ในกลุ่มยาแก้ปวดเอ็นเสด (NSAIDs หรือ Non–Steroidal Anti–Inflammatory) โดยโกเฟนสามารถบรรเทาปวดหลังเล็กน้อยไปจนถึงปวดหลังปานกลางได้ รวมถึงสามารถบรรเทาอาการปวดหลังเนื่องจากโรคข้ออักเสบ หรือการอักเสบที่กระดูกสันหลังและข้อต่ออุ้งเชิงกราน  

ผู้ใหญ่และเด็กที่อายุมากกว่า 12 ปี สามารถกินยาโกเฟนได้ โดยกินครั้ง 1 แคปซูลเมื่อมีอาการปวดหลัง และกินครั้งละ 4–6 ชั่วโมง ไม่เกินวันละ 3 แคปซูล ยาโกเฟนอาจส่งผลให้ระคายเคืองกระเพาะได้ จึงควรกินยาพร้อมอาหารหรือนมเพื่อลดอาการไม่พึงประสงค์ในกระเพาะ ทั้งนี้ ไม่ควรกินโกเฟนต่อเนื่องเกิน 10 วัน

3. เพอสกินดอล (Perskindol) คลาสสิค เจล ขนาด 100 มิลลิลิตร

Sep-24-04-02

 

เพอสกินดอล คลาสสิค เจล มีตัวยาลีโวเมนทอล (Levomenthol) ซึ่งมีสรรพคุณในการบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อและข้อต่อ เช่น ปวดหลัง ปวดคอ เคล็ดคัดยอก เส้นตึงกล้ามเนื้อตึง อาการบาดเจ็บจากกีฬา หรืออาการฟกช้ำ

เพอสกินดอล คลาสสิค เจล สามารถใช้ทาลงบนจุดที่ปวดได้เลย โดยเมื่อทาแล้วให้นวดเบา ๆ เพื่อให้ยาซึมซาบลงสู่ผิวหนัง ในตอนแรกผิวหนังจะรู้สึกเย็นแต่เมื่อยาซึมเข้าสู่ผิวแล้วจะรู้สึกอุ่นขึ้น ตัวยาสามารถทาได้วันละ 3–4 ครั้ง นอกจากนี้ เพอสกินดอล คลาสสิค เจล ยังมีข้อดีคือไม่ทิ้งคราบเหนอะหนะบนมือ ผิวหนัง หรือเสื้อผ้า 

อย่างไรก็ตาม ไม่ควรใช้เพอสกินดอลบนแผลเปิด หรือบริเวณผิวหนังที่บอบบาง และไม่ควรใช้กับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 4 ปี 

4. เอ็ม–ซิน (M-cin) สเปรย์บรรเทาอาการปวด ขนาด 50 มิลลิลิตร

Sep-24-04-07

 

เอ็ม–ซิน สเปรย์ เป็นยาบรรเทาอาการปวด บวม และอักเสบบริเวณเอ็น ข้อต่อ และกล้ามเนื้อ ที่สามารถนำมาใช้เป็นยาแก้ปวดหลัง เนื่องจากมีตัวยาอินโดเมทาซิน (Indometacin) ซึ่งมีฤทธิ์บรรเทาปวดและอักเสบตามร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

วิธีใช้เอ็ม–ซิน สเปรย์นั้นไม่ยาก เพียงแค่ฉีดลงไปบนแผ่นหลังตรงจุดที่ปวดวันละ 3–5 ครั้ง หรือตามที่แพทย์สั่ง ก็จะช่วยบรรเทาอาการปวดหลังได้ นอกจากนี้ เอ็ม–ซิน สเปรย์ยังเป็นยาแก้ปวดหลังที่มีขนาดกะทัดรัด พกพาง่าย ฉีดแล้วไม่เหนียวเหนอะหนะ ไม่เลอะมือและเสื้อผ้า จึงสะดวกต่อการใช้งาน 

อย่างไรก็ตาม ผู้ที่มีอาการหอบหืด หรือโพรงจมูกอักเสบเฉียบพลันจากการแพ้ยาแอสไพริน หรือยาแก้ปวดกลุ่มเอ็นเสด (NSAIDs) ไม่ควรใช้ยาตัวนี้นี้

5. นีโอบัน–เจล (Neobun Gel) สูตรเย็น ซองละ 2 แผ่น

Sep-24-04-06

 

นีโอบัน–เจล สูตรเย็น เป็นพลาสเตอร์บรรเทาปวดที่มีส่วนประกอบของการบูร เมนทอล น้ำมันเปปเปอร์มินท์ และน้ำมันยูคาลิปตัส ซึ่งมีสรรพคุณช่วยลดอาการปวดและอักเสบกล้ามเนื้อหรือข้อต่อ จึงสามารถนำมาใช้เป็นยาแก้ปวดหลัง หรือแก้ปวดบริเวณข้อต่อและไหล่ได้

พลาสเตอร์นีโอบัน–เจล สูตรเย็นสามารถใช้งานได้ง่าย โดยเริ่มจากการทำความสะอาดบริเวณที่ปวดและแปะพลาสเตอร์ลงไป แต่ไม่ควรแปะบนบริเวณที่มีแผลเปิดหรือบนผิวหนังที่บอบบาง เช่น ตา รักแร้ และควรเปลี่ยนพลาสเตอร์วันละ 1–2 ครั้ง นอกจากนี้ พลาสเตอร์นีโอบัน–เจล สูตรเย็นยังมีข้อดีคือติดกับผิวได้ง่ายและไม่ทิ้งรอยบนเสื้อผ้า 

6. แอมเม็ลทซ์ โยโกะ โยโกะ ฮีทแพทช์ โกลด์ (Ammeltz Yoko Yoko Heat patch gold) ซองละ 1 แผ่น

Sep-24-04-08

 

แผ่นประคบร้อนแอมเม็ลทซ์ โยโกะ โยโกะ สามารถบรรเทาอาการปวดหลัง ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ และช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดได้ด้วยผงเหล็กที่ทำปฏิกริยากับออกซิเจน ซึ่งทำให้แผ่นร้อนขึ้นเองเมื่อนำออกมาใช้งาน โดยแผ่นประคบสามารถปล่อยความร้อนออกถึงอุณหภูมิประมาณ 50 องศาเซลเซียส และสามารถให้ความร้อนยาวนานถึง 16 ชั่วโมง แผ่นประคบร้อนจึงสามารถใช้แทนยาแก้ปวดหลังได้เช่นกัน

วิธีใช้แผ่นประคบร้อนแอมเม็ลทซ์ โยโกะ โยโกะ นั้นเพียงนำออกมาแปะตรงจุดที่ปวดบนเสื้อผ้า โดยควรแปะบนเสื้อที่หนาเพื่อป้องกันไม่ให้แผ่นแปะถูกผิวหนังโดยตรง และเพื่อป้องกันไม่ให้กาวจากแผ่นทำเสื้อผ้าเสียหาย นอกจากนี้ เมื่อแปะแล้วไม่ควรกดหรือคลึงแผ่นประคบร้อน และไม่ควรใช้แปะบนจุดที่ทายา มีแผล ผื่น หรือบริเวณที่ผิวหนังบอบบาง รวมถึงไม่ควรใช้ขณะนอนหรือใช้พร้อมกันหลายแผ่น

ทั้งนี้ นอกจากการใช้ยาในรูปแบบต่างๆ เพื่อแก้ปวดหลังแล้ว ผู้ที่มีอาการปวดก็สามารถใช้วิธีบรรเทาปวดด้วยตนเอร่วมด้วยได้ เช่น การใช้น้ำแข็งประคบ การออกกำลังกายอย่างการเล่นโยคะ รวมไปถึงควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างเพื่อป้องอาการปวดหลังด้วย เช่น นั่งหลังตรง ไม่สะพายกระเป๋าหนักเกินไป และยืดเส้นยืดสายบ่อย ๆ 

ทั้งนี้ การใช้ยาแก้ปวดหลังให้ปลอดภัยและดีต่อสุขภาพนั้นควรอ่านฉลากยาก่อนใช้งาน หรือใช้งานตามที่แพทย์และเภสัชกรแนะนำ โดยเฉพาะในผู้ที่มีโรคประจำตัว ผู้ที่แพ้ยาบางชนิด สตรีมีครรภ์ และผู้ให้นมบุตร ควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกรก่อนใช้งานยาแก้ปวดหลังชนิดต่าง ๆ 

หากใช้ยาแก้ปวดหลังและวิธีบรรเทาปวดด้วยตนเอง แล้วอาการปวดหลังยังไม่ดีขึ้นและเป็นอย่างต่อเนื่องหลายสัปดาห์ รวมถึงมีอาการชาที่ขา ปวดแปลบที่ขาwww.pobpad.com/ปวดขา ปวดร้าวลงขา ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม